ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึง การสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงาน มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุล ได้อย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานครมีความพยายามแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพราะเกี่ยวข้องและกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยประชาชน มีหน่วยงานรองรับ คือ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย และฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 50 สำนักงานเขต เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 135 ประเภท รวม 41,772 แห่ง อาคารที่พักอาศัยและอาคารสาธารณะ รวม 2,630,651 หลังคาเรือน (ปี 2557) และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่7) พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานราชการต่างๆ ต้องมีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น โดยมีโครงการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556 - 2575) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ ๓ (พ.ศ.256๖ – 25๗๐) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อวิกฤตการณ์ เป้าประสงค์ที่ ๑.๕.๔ ส่งเสริมสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบการ อาคารสถานที่ให้ถูกสุขลักษณะมีความสะอาดและปลอดภัย สถานประกอบการ อาคารสถานที่ได้รับการตรวจด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สำนักงานเขตยานนาวาจึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯเมืองแห่งสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย ปีงบประมาณ 256๖ ขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมงานอาชีวอนามัย รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่เขตยานนาวา การจัดการและควบคุมปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ
50060400/50060400
2.1 สนับสนุนการปฏิบัติงานหรือการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตยานนาวา ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง 2.2 แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในเรื่องการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญและการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการปฏิบัติงานปกติ 2.3 เพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป ให้ทราบและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.4 ส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกรณีจำเป็น เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน
3.1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (1) ตรวจสอบเหตุเดือดร้อนรำคาญ ปัญหาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดัง กลิ่นเหม็น การเลี้ยงหรือการปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล (2) ตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการ แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน (3) ตรวจสอบสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร (4) ปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ ตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น (5) ปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรคในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลา (6) ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดประเภทต่าง ๆ เช่น การเผาศพ เป็นต้น หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย (7) ปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 3.2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
ตัวชี้วัด : จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี หรือกิจกรรมในวันสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ค่าเป้าหมาย :
ผลงานที่ทำได้ : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ประกอบการ ผู้ดูแลอาคารสถานที่ดำเนินการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยอย่างถูกต้องเหมาะสม
ค่าเป้าหมาย :
ผลงานที่ทำได้ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **