ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการและบุคลากรสำนักงานเขตดุสิต : 50070000-3207

สำนักงานเขตดุสิต : (2563)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวธิติมา แก้วอร่ามศรี โทร. 5408

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

เขตดุสิตนับเป็นเขตที่เก่าแก่และมีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคุณค่าจำนวนมาก โบราณสถานซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ พิพิธภัณฑ์ หอสมุดแห่งชาติ อารามหลวงและวัดที่มีศิลปวัฒนธรรมที่สวยงาม แหล่งที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตของประชากรในพื้นที่เขตดุสิตที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม เขตดุสิตจึงมีความพร้อมที่ควรได้ส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนเขตดุสิต อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่นั้น มีหลายมิติซึ่งในเขตดุสิตยังประสบปัญหา มิติที่ 1 การพัฒนาการให้บริการด้านสารสนเทศ เขตดุสิตเคยมีการจัดทำโครงการดุ-สิต-ค้น-เที่ยว-ถ่าย-แชร์ ซึ่งเป็นโครงการให้บริการที่ดีที่สุดที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวแต่บุคลากรในหลายส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการให้บริการข้อมูลให้ผู้รับบริการในรูปแบบสารสนเทศทำให้ยังคงให้การบริการรูปแบบเดิมโดยการแจกแผ่นพับแนะนำเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกิดปัญหามาจากกระบวนทัศน์ความคิดของบุคลากรที่ให้บริการ ในรูปแบบเดิม ส่งผลให้บุคลากรต้องมีการพัฒนาในการปรับกระบวนการคิดให้ถูกต้องและสามารถนำมาประยุกต์ โดยใช้สารสนเทศให้ง่าย ในการนำมาปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และตรงตามบริบทของปัญหา มิติที่ 2 การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการท่องเที่ยว ปัญหาใหญ่หลักของเขตดุสิต คือ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ เป็นปัญหาใหญ่ของเขตดุสิตเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตพระราชฐาน หน่วยงานราชการ โรงเรียน สถานประกอบการ และชุมชนจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนผู้พักอาศัยจำนวนมากก่อให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยจากสถานที่ดังกล่าว ส่งผลให้บุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีกรณีศึกษาในการบริหารจัดการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เพื่อบริหารความซับซ้อนของการจัดการ มิติที่ 3 การพัฒนาพื้นที่อื่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่เขตดุสิตมีจำนวนมากมาย แต่ไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งที่สถานที่ท่องเที่ยวในเขตดุสิตที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมาย ล้วนน่าชม แต่เนื่องจากบุคลากรยังขาดทักษะการสื่อสาร และข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ที่ทำให้นักท่องเที่ยวสนใจ ทำให้ต้องมีการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างทักษะในการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการสื่อสาร ต่อผู้รับบริการทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้เข้าใจถึงการบริการได้อย่างถูกต้อง สำนักงานเขตดุสิตเป็นหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้การสนับสนุน ด้านการสื่อสารให้ข้อมูลและพัฒนาสภาพแวดล้อมในการให้บริการแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มารับบริการ ในพื้นที่รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากนักท่องเที่ยวผู้มาขอรับบริการ เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาปรับปรุงให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักท่องเที่ยว ศักยภาพของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาดังกล่าว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในสามเรื่องหลักตามปัญหาทั้ง 3 มิติ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาแนวคิดการให้บริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้กำหนดสถานที่ศึกษาดูงาน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อนำกรณีศึกษาในหัวข้อ การพัฒนาบุคลากรขององค์กรที่สามารถให้บริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเลิศ เพื่อปรับกระบวนการคิดของบุคลากรในการบริการและพัฒนาให้ถูกต้องเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนามิติอื่น ๆ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยมระดับโลก World Star Winners 2018 จาก World Packaging Organization 2018 (WPO) และรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย รางวัลดีเด่น ประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประจำปี พ.ศ. 2562 2. เสริมสร้างพัฒนาบุคลากรภายใต้บริบทการพัฒนาเมืองที่มีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยว ในกรณีศึกษาโครงการพัฒนาตลาดบ้านใหม่ภายใต้ความร่วมมือของรัฐและเอกชนในรูปแบบชมรมรักษ์ตลาดบ้านใหม่ ณ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งได้รับรางวัลพระปกเกล้า ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปี พ.ศ. 2553 เพื่อนำแนวคิดมาพัฒนาบุคลากรในด้านการสื่อสารการท่องเที่ยวและการพัฒนางานที่เน้นการมีส่วนร่วมในพื้นที่ 3. เสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาขยะมูลฝอย ในแนวคิด “ของเหลือใช้ ไม่ถูกทิ้งให้ไร้ค่า” ณ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งได้รับรางวัลการจัดการของเสียที่ดีตามหลัก 3Rs หรือ 3Rs Award ประจำปี 2555 จากกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และรางวัลชนะเลิศ Eco Design 2009 จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อศึกษาตัวอย่างวิธีการบริหารจัดการขยะในรูปแบบ การจัดการตามหลัก 3Rs โดยนำวิธีการคิดนอกกรอบมาเพื่อพัฒนาการจัดการให้มีประสิทธิภาพ

50070100/50070100

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อปรับแนวคิดของบุคลากรให้เข้าใจถึงการบริการที่ถูกต้อง ปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการให้บริการ ประชาชนและนักท่องเที่ยวรวมไปถึงตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาตนเอง พัฒนางานซึ่งมีผลต่อการให้บริการนักท่องเที่ยวของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของการบริหารจัดการปัญหาและสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อน เช่น ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่ ให้ประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อนำกรณีศึกษาของสถานที่ศึกษาดูงาน มาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในรูปแบบการบริหาร จัดการพื้นที่ท่องเที่ยว ให้สร้างความประทับใจแก่ผู้รับบริการและนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ 4. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรนำแนวคิดที่ได้จากการศึกษาดูงานมาพัฒนาศักยภาพการให้บริการ ซึ่งไม่เพียงแต่การบริการนักท่องเที่ยวเท่านั้น รวมไปถึงการสร้างการบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองกรุงเทพมหานครต่อไป

เป้าหมายของโครงการ

จัดสัมมนาศึกษาดูงานให้กับข้าราชการและบุคลากรกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตดุสิต ประกอบด้วย 3.1 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 180 คน ดังนี้ 3.1.1 ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ - ระดับอำนวยการสูง จำนวน ๑ คน - ระดับอำนวยการต้น จำนวน 2 คน - ระดับชำนาญการพิเศษลงมา ทุกตำแหน่ง จำนวน 124 คน 3.1.2 บุคลากรกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตดุสิตจำนวน 33 คน 3.2.1 เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน 3.2 วิทยากรจำนวน 10 คน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๑ - ปลอดมลพิษ
๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
๑.๑.๑.๑ คุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีคุณภาพดีขึ้น

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-01-28)

100.00

28/1/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2019-12-16)

50.00

16/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รวบรวมเอกสารให้ฝ่ายการคลังดำเนินการตรวจสอบรายการ ดังนี้ 1. ค่าอาหารและค่าที่พัก 369,000 บาท 2.ค่าวิทยากร 13,200 บาท รวมเป็นเงิน 382,200 บาท 3.ค่ารถโดยสารประจำทาง 96,000 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ 10,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 488,200 บาท

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2019-11-21)

40.00

21/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...เบิกจ่ายค่าวัสดุ จำนวน 10,000 บาท และดำเนินการไปสัมมนาศึกษาดูงาน จำนวน 2 วัน 1 คืน ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ณ จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดปราจินบุรี

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-26)

10.00

26/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ ติดต่อสถานที่สัมมนาศึกษาดูงาน

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติ
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ติดต่อสถานที่สัมมนาศึกษาดูงาน
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:วางแผนดำเนินงาน จัดทำคำสั่ง
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:.ประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการฯ
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ติดต่อประสานงานวิทยากร
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ขออนุมัติข้าราชการและบุคลากร
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:ดำเนินงานตามโครงการฯ
:0.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:สรุปและประเมินผลโครงการฯ
:0.00%
เริ่มต้น :2019-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:จัดทำรายงานโครงการ
:0.00%
เริ่มต้น :2019-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-12-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50070000-3207

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50070000-3207

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5007-0754

ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

100 / 100
2
45.00

100 / 100
3
60.00

0 / 0
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **