ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายปกครอง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Aged Society) คือการมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เกิน 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ประชากรมีอายุยืนยาว ซึ่งปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและในสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของกลุ่มคนเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการสำรวจข้อมูลของศูนย์บริการธารณสุข 11 ประธานกรรมการชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีปัญหาและความต้องการ ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านกายภาพ ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรมมีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ทั้งโรคทางกายและทางสมอง ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจผู้สูงอายุที่มีฐานะไม่ดีไม่มีลูกหลานดูแลอุปการะเลี้ยงดู ปัญหาทางด้านจิตใจ การต้องอยู่บ้านตามลำพังอาจทำให้มีความรู้สึกโดดเดี่ยว ทำให้ได้รับความลำบากและปัจจุบันต้องยอมรับว่าสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไปย่อมมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ และรวมไปถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสหรือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องการคนดูแลอย่างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการได้รับการดูแลด้านสวัสดิการต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวและผู้ป่วยติดเตียงที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมชนอาจไม่ทั่วถึงหรือล่าช้าหากเกิดกรณีฉุกเฉินและในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐยังขาดข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นใน การประสานและเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในการเข้าถึงและช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ สำนักงานเขตพญาไท ได้ตระหนักถึงคุณค่าและปัญหาการดำเนินชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวและผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่เขตพญาไท จึงได้จัดทำโครงการ ชีวิตสดใส พญาไทใส่ใจประชาชน ขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วและเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตพญาไท ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
50080100/50080100
1. เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุ 95 ปีขึ้นไป ข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง และข้อมูลชุมชน ในพื้นที่เขตพญาไทและสามารถนำมาใช้ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ 2. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 95 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่เขตพญาไทได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 95 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่เขตพญาไท ได้รับการจัดทำฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) 2. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 95 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่เขตพญาไท ได้รับการดูแลและช่วยเหลือด้านสวัสดิการต่าง ๆ 3. ความรู้ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุ 95 ปีขึ้นไป และนำมาจัดทำองค์ความรู้ให้กับผู้ที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุต่อไป
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๔ - การคลังและงบประมาณ |
๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ% |
๗.๔.๑.๒ นำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานมาใช้ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-08-31)
31/08/2565 : ดำเนินการครบทุกตัวชี้วัดเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ดำเนินการจัดทำรายงานส่งสำนักงาน ก.ก. เรียบร้อยแล้ว
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2022-07-26)
26/07/2565 : คณะทำงานฯ และลงพื้นที่ชุมชนวัดมะกอกส่วนหน้าแนะนำการวาง Ovitrap การติด QR code และ การใช้ Application เพื่อสำรวจไข่ลูกน้ำยุง ซึ่งเป็นพาหนะของโรคไข้เลือดออก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2022-06-29)
29/06/2565 : จัดประชุมคณะทำงานฯ และลงพื้นที่ชุมชนร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อแนะนำการวาง Ovitrap การติด QR code และ การใช้Application สำรวจลูกน้ำยุง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2022-05-31)
31/05/2565 : ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้เจ้าของบ้าน อาคาร และผู้พักอาศัยในชุมชนทราบแนวทางดำเนินการและเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลายด้วยตนเอง เพิ่มเติมในชุมชนที่ยังไม่ได้ประชาสัมพันธ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-04-28)
28/04/2565 : ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้เจ้าของบ้าน อาคาร และผู้พักอาศัยในชุมชนทราบแนวทางดำเนินการและเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลายด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าของบ้านในชุมชนมะกอกกลางสวนสนใจเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณร้อยละ 30
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-03-30)
30/03/2565 : จัดทำโครงการ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลายด้วยตนเอง ส่ง สกก. และประชาสัมพันธ์โครงการให้บ้านพักอาศัยในชุมชนต้นแบบทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-02-28)
28/02/2565 : แก้ไขตัวชี้วัดตามที่คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานครเสนอแนะและรอการพิจารณาอนุมัติโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-01-31)
31/01/2565 : ประชุมชี้แจงคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณาอนุมัติโครงการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสำรวจและควบคุมลูกน้ำยุงลาย ผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 เวลา 10.30 น.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-12-30)
30/12/2564 : ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 – 3 ส่ง สกก. ตามหนังสือ ที่ กท 4701/5434 ลว. 16 ธ.ค.2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-11-29)
29/11/2564 : ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานระดมความคิดค้นปัญหาของการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดหานวัตกรรมในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-10-30)
30/10/2564 : ประสานแจ้งทุกฝ่ายสำรวจปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขตามแบบฟอร์มการนำเสนอนวัตกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินงานภารกิจงานประจำของสำนักงานเขต
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **