ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

บูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร : 50080000-6980

สำนักงานเขตพญาไท : (2565)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2563 (5 มกราคม 2563 - 2 มกราคม 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 6,277 ราย อัตราป่วย 110.78 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5 - 14 ปี รองลงมา ได้แก่กลุ่มอายุ 15 - 34 ปี และ 0 - 4 ปี ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลของประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมี ปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัดวิถีชีวิต และการเคลื่อนย้ายของประชากร ทำให้ไม่สามารถจัดการกับ ภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้าง ความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับ การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัว และบุคคล โดยนำแนวทางจัดการ พาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหาร จัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กรและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสาน ความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตพญาไท ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จจึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการ แก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนา ศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป

50080400/50080400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกด้านเครือข่ายในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกัน โรคไข้เลือดออกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อให้ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตพญาไททั้งหมดเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตพญาไทได้รับการสำรวจและเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างน้อย 2 ครั้ง/ชุมชน 3.2 ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตพญาไทมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
๗.๔ - การคลังและงบประมาณ
๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ%
๗.๔.๑.๒ นำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานมาใช้ภายในปีงบประมาณ ๒๕๖๕

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-09-28)

100.00

การออกปฏิบัติงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในชุมชนจดทะเบียน ทั้ง 22 ชุมชน รวม 91 ครั้ง เรียบร้อยแล้ว โดยแต่ละครั้ง ประกอบกิจกรรมดังนี้ 1.ควบคุมป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยสำรวจ เฝ้าระวัง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนจดทะเบียน 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจดทะเบียน ดำเนินการจัดการพาหะแบบผสมผสาน (IVM) งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 204,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไปทั้งหมด 204,120 บาท

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-08-31)

100.00

31/08/2565 : การออกปฏิบัติงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในชุมชนจดทะเบียน ทั้ง 22 ชุมชน รวม 91 ครั้ง เรียบร้อยแล้ว โดยแต่ละครั้ง ประกอบกิจกรรมดังนี้ 1.ควบคุมป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยสำรวจ เฝ้าระวัง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนจดทะเบียน 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจดทะเบียน ดำเนินการจัดการพาหะแบบผสมผสาน (IVM) งบประมาณที่ได้รับจัดสรร 204,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไปทั้งหมด 204,120 บาท

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2022-07-27)

80.00

ดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก คำนวนค่า CI ค่า HI จำนวน 17 ชุมชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2022-06-29)

45.00

ดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก คำนวนค่า CI ค่า HI จำนวน 10 ชุมชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-05-30)

40.00

30/05/2565 : ดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก คำนวนค่า CI ค่า HI จำนวน 5 ชุมชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 37.00 (2022-04-28)

37.00

28/04/2565 : ดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก คำนวนค่า CI ค่า HI จำนวน 5 ชุมชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 34.00 (2022-03-29)

34.00

29/03/2565 : การออกปฏิบัติงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในชุมชนจดทะเบียน จำนวน 7 ชุมชน 1.ควบคุมป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยสำรวจ เฝ้าระวัง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนจดทะเบียน 2.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และแจกโลชั่นตะไคร้หอม ทราบอะเบท

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-02-25)

30.00

25/02/2565 : ดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก คำนวนค่า CI ค่า HI

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-01-28)

30.00

28/01/2565 : ดำเนินการ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก คำนวนค่า CI ค่า HI

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-12-29)

25.00

29/12/2564 : การออกปฏิบัติงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในชุมชนจดทะเบียน จำนวน 6 ชุมชน 1.ควบคุมป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยสำรวจ เฝ้าระวัง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนจดทะเบียน 2. อบรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจดทะเบียน ดำเนินการจัดการพาหะแบบผสมผสาน (IVM)

** ปัญหาของโครงการ :บ้านบางหลังเจ้าของห้อง/เจ้าของบ้านไม่อยู่ ขณะลงพื้นที่สำรวจ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 22.00 (2021-11-29)

22.00

29/11/2564 : การออกปฏิบัติงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในชุมชนจดทะเบียน จำนวน 4 ชุมชน 1.ควบคุมป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยสำรวจ เฝ้าระวัง และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนจดทะเบียน 2. อบรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจดทะเบียน ดำเนินการจัดการพาหะแบบผสมผสาน (IVM)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-10-30)

20.00

30/10/2564 : ดำเนินการจัดทำโครงการ ส่ง สงป.ขออนุมัติโครงการและเงินงวด พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. จัดทำโครงการและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อขออนุมัติ
:20.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน
:20.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. การสำรวจ ทำลายและเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนฯ อบรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจดทะเบียน ดำเนินการจัดการพาหะแบบผสมผสาน (IVM)
:40.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. สรุปและจัดทำรายงานการดำเนินการตามโครงการฯ
:20.00%
เริ่มต้น :2022-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50080000-6980

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50080000-6980

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5008-825

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินงานภารกิจงานประจำของสำนักงานเขต

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
40.00

0 / 0
2
50.00

100 / 100
3
80.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **