ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร มีนโยบายในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ระยะที่ ๑ แต่ยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตามรายงานสถิติการเฝ้าระวังโรคของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ยังคงพบว่า ประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเมื่อเทียบกับโรคทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ โดยในปี ๒๕๕๓ มีอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง 702.21 คน/แสนประชากรหรือคิดเป็นจำนวน 40,036 ราย และอาหารเป็นพิษ จำนวน 3,798 ราย และพิจารณาย้อนหลังในระยะเวลาสิบปี พบว่า อัตราป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา อัตราตายและอัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและเริ่มคงที่ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิผลเท่าที่ควร ยังคงพบปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนด้วยโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารอยู่เสมอ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ประกอบการขาดความตระหนักในการเตรียม ประกอบ ปรุงและจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้ง ประชาชนยังขาดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แนวทางหนึ่งที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และที่สำคัญเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) คือ การที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานเขตพญาไท ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕65 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อให้ประชาชน ผู้ประกอบการในสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่ผลิตอาหาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและตระหนักในสิทธิหน้าที่ของตนเองในการเลือกซื้ออาหารเพื่อรับประทานที่สะอาดและปลอดภัย ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอาหารที่มีการผลิตและจำหน่ายอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยกำหนดดำเนินงานในกิจกรรมที่ ๑ เขตอาหารปลอดภัยภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
50080400/50080400
๒.๑ เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหารโรงอาหารในโรงเรียน ตลาด และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ๒.๒ เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด ๒.๓ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารของสถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหาร มินิมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด
๓.1 ด้านสุขลักษณะทางกายภาพ อาคารสถานที่ (Place) สถานประกอบการอาหารทั้งหมดในพื้นที่ ได้แก่ ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี ต้องผ่านเกณฑ์สุขลักษณะสถานประกอบการอาหาร โดยใช้แบบตรวจประเมินด้านสุขลักษณะของสถานประกอบการอาหารแต่ละประเภททุกราย จำนวน 460 ราย ๓.2 ด้านคุณภาพอาหาร (Food) ต้องผ่านเกณฑ์ด้านอาหารปลอดภัย ดังนี้ (1) อาหารและวัตถุดิบ สุ่มตรวจด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test kit) ทางด้านเคมีอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอาหารที่กำหนด ดังนี้ -ต้องไม่พบการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารฟอกขาว และสารกันรา -ต้องไม่พบสีสังเคราะห์ในอาหารที่ห้ามการใช้สี -ต้องไม่พบกรดแร่อิสระในน้ำส้มสายชู -ต้องไม่พบยาฆ่าแมลง และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดอาหาร เกินเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด (๒) ความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร ตรวจประเมินโดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) พบการปนเปื้อนไม่เกินร้อยละ 10 กรณีพบการปนเปื้อน ให้เจ้าพนักงานออกคำแนะนำหรือออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการอาหารดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยการสุ่มตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ตามแนวทางที่สำนักอนามัยกำหนด 3.3 ด้านบุคลากร ผู้สัมผัสอาหาร (Food Handler) บุคลากรผู้สัมผัสอาหาร ต้องได้รับการอบรมหรือการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการสุขาภิบาลอาหาร และผ่านการทดสอบความรู้ โดยได้รับหนังสือรับรองหรือบัตรผู้สัมผัสอาหารทุกราย 3.4 ด้านการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) ดังนี้ (1) ไม่มีเหตุรำคาญจากการประกอบกิจการ เช่น ควัน กลิ่น และเสียง (ข้อมาตรฐานหลัก) (2) ไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากโฟม (ข้อมาตรฐานหลัก) (3) เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยที่เชื่อถือได้ (๔) มีการคัดแยกขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะเศษอาหาร เป็นต้น (๕) มีการนำขยะอาหาร วัตถุดิบเหลือใช้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (6) เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือการกำจัดแมลง สัตว์นำโรค ที่มีวิธีหรือส่วนประกอบจากธรรมชาติ (๗) มีนโยบายให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารเองได้ 3.5 สถานประกอบการอาหารมีมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข 3.6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตพญาไท สามารถปฏิบัติถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โดยสามารถเป็นเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษาระดับเขตร่วมกับสำนักงานเขตพญาไททุกแห่ง จำนวน 10 แห่ง (๑) ตรวจประเมินสภาพการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนทุกแห่ง (๒) ตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหาร ประเภท สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารกันรา สารฟอกขาว สีสังเคราะห์ กรดแร่อิสระ ยาฆ่าแมลง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมี(Test kit) และตรวจความสะอาดของอาหารพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร โดยใช้ชุดตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) (๓) ตรวจวิเคราะห์นมโรงเรียนทางห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา (๔) ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนระดับเขต 1 ครั้ง/ปี 3.7 ตรวจสอบและติดตามให้สถานประกอบการอาหารได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยมีการรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ส่งเสริมการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยทุกราย
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-24)
24/08/2566 : ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการโครงการกรุงเพทฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปี 2566 ครบถ้วนทุกกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : ปฎิบัติกิจกรรมตามโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ครบทุกกิจกรรม ทั้งนี้ ได้มีการสุ่มตรวจคุณภาพอาหารและสุขาภิบาลอาหารเป็นประจำตามแผนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : เตรียมการจัดอบรมเพื่อพัฒนาอาหารริมบาทวิถี ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหาร ตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 69.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : ลงพื้นที่สุ่มตรวจคุณภาพอาหารทางเคมีและจุลชีววิทยาในสถานประกอบการอาหาร และทางห้องปฏิบัติการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : สุ่มตรวจคุณภาพอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นทางเคมีและชุลชีววิทยา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-28)
28/03/2566 : ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารและคุณภาพอาหารในพื้นที่เขต ตามแผนปฏิบัติการโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ในการสุ่มตรวจสถานประกอบการอาหารตามหลักสุขาภิบาล การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการนอกเวลาราชการในวันราชการปกติ และวันหยุดราชการ(วันอาทิตย์) และการดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา กิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-24)
24/01/2566 : จัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามแผนในกาตรวจสุขลักษณะ พร้อมทั้งตรวจคุณภาพอาหาร ความสะอาดมือ และภาชนะอุปกรณ์สัมผสอาหาร ตามหลักสุขาภิบาล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการป้องกันโรค โควิด 19 (COVID-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **