ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 30
นางสาวเบญจพร สุบงกช โทร. 6534
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
คนพิการ ถือเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม และมีความจําเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงาน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้คนพิการได้มีส่วนร่วม ในสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงการประกอบอาชีพ ได้ใช้ศักยภาพของตนเองและสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมาตราที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ ได้แก่ มาตรา 33 ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงาน อัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกิน ห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน (อัตราส่วน 100 : 1) มาตรา 35 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 หรือนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตามมาตรา 34 หน่วยงานของรัฐนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นอาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือหรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับการจ้างงานของคนพิการเป็นอย่างมาก สถานประกอบการหลายแห่งต้องปรับลดจำนวนพนักงานลง หรือยิ่งไปกว่านั้นคือต้องเลิกประกอบกิจการ จึงทำให้อัตราส่วนการจ้างงานคนพิการลดลงตามไปด้วย จากการสำรวจขององค์กรคนพิการพบว่าตำแหน่งงานของคนพิการหายไปประมาณ 15 - 20% จากที่เคยมีงานทำแล้วกลับมาตกงานจะได้รับผลกระทบอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าวผู้บริหารกรุงเทพมหานครจึงได้ ให้ความสำคัญต่อการจ้างงานคนพิการ เพราะมองว่าคนพิการเป็นกลุ่มประชากรที่เปราะบาง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงมีนโยบายให้ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีข้าราชการ จำนวน 35,237 คน และลูกจ้างประจำ จำนวน 31,655 คน รวมทั้งสิ้น 66,892 คน ซึ่งจะต้องจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน 669 คน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 สำนักพัฒนาสังคมจึงได้จัดทำโครงการจ้างงานคนพิการเพื่อปฏิบัติงานในสำนักพัฒนาสังคมและสำนักงานเขต 50 เขต เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดนอกเหนือจากเรื่องของเงินเดือนหรือรายได้แล้ว คนพิการที่ได้ทำงานจะมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นที่พึ่งพิงให้กับครอบครัวและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเช่นบุคคลทั่วไปและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
50101000/50101000
2.1 เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 33 และ 35 2.2 เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ทัดเทียมคนทั่วไป เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระ ของครอบครัว 2.3 เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานตัวอย่างของภาครัฐในการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ
จ้างคนพิการเพื่อเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงานในสำนักงานเขต จำนวน 6 คน ขอบเขตของตำแหน่งงานให้เป็นไปตามบทบาท ภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขต โดยกำหนดตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความสามารถและประเภทของความพิการ อัตราค่าจ้างให้เป็นไปตามคุณวุฒิการศึกษา ได้แก่ วุฒิปริญญาตรี หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น หรือวุฒิประถมศึกษา หรือไม่มีวุฒิการศึกษา
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-24)
24/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-01-21)
21/01/2566 : -เบิกจ่ายค่าตอบแทนการจ้างงานคนพิการเพื่อปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **