ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวธันยชนก อ่อนคง โทร 6518
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ด้านสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียจากภัยพิบัติ รวมทั้งมุ่งเน้นการป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ 2566 ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตพระโขนง ได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. การตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดังรบกวน กลิ่นเหม็น การเลี้ยงและปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น/กลางคืน หรือยามวิกาล 2. การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการ แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานชุมชน 3. การตรวจสอบสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร 4. การปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ และตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 5. การปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค ในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 6. การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ เช่น การเผาศพ เป็นต้น หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 7. การปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ทางราชการ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสภาพแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น สำนักงานเขตพระโขนง โดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
50100400/50100400
2.1 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตพระโขนงในการปฏิบัติงานเพื่อการเสริมสร้างสุขาภิบาลเมืองที่ดี 2.2 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตพระโขนงในการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 2.3 เพื่อดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และสนับสนุนเป้าประสงค์การพัฒนาในมิติเมืองมีสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมที่ดี ปราศจากภาวะคุกคามทางสุขภาพ
3.1 มีการดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพระโขนงโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 3.2 มีการดำเนินงานบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในพื้นที่เขตพระโขนงโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 3.3 รายงานผลการตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-21)
21/06/2566 : ดำเนินการกิจกรรมการตรวจสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม จำนวน 115200 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-23)
23/05/2566 : ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อมเเละตรวจสอบสุขลักษณะตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ เบิกจ่ายค่าตอบแทนฯ 49800 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-26)
26/04/2566 : อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อมในพื้นที่เขตพระโขนงจำนวน 45 ครั้ง และอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการตรวจและบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : จัดทำแผนการปฏิบัติงานการตรวจเเละบังคับใช้ฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-21)
21/01/2566 : - จัดทำแผนการปฏิบัติงาน ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพระโขนงจำนวน 45 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **