ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางกรจิรัสจ์ ธนะสารโยธิน โทร.6524
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปริมาณมูลฝอยในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2558 ซึ่งมีปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย 10,166 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในปี 2561 ปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย 10,705 ตันต่อวัน และปี 2562 ปริมาณมูลฝอยลดลงเล็กน้อย เฉลี่ย 10,564 ตันต่อวัน โดยปี 2563 – 2564 ปริมาณขยะลดลง สาเหตุจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ในเมืองลดลง เช่น การท่องเที่ยว การบันเทิง การเดินทาง ลดลง ส่งผลโดยตรงกับการบริโภคลดลง โดยปริมาณมูลฝอยในปี 2563 ปริมาณมูลฝอยเฉลี่ย 9,519 ตันต่อวัน ลดลงจากปี 2562 เฉลี่ย 1,045 ตันต่อวัน และปริมาณมูลฝอยในปี 2564 ปริมาณมูลฝอย เฉลี่ย 8,674 ตันต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณมูลฝอยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เบาบางลง กิจกรรมต่าง ๆ ในเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ปัญหาสำคัญของปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นนอกจากการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นคือระบบจัดการคัดแยกขยะที่ต้นทางยังไม่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารยังไม่สามารถเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายและครอบคลุมทุกทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ยังคงทิ้งมูลฝอยรวม ในขณะที่ขยะที่ถูกทิ้งนั้นยังมีขยะที่ยังสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้หากคัดแยกและทิ้งอย่างถูกวิธี ถึงร้อยละ 60.25 จากผลการศึกษาองค์ประกอบขยะที่ศูนย์กำจัดมูลฝอย ปี 2564 พบว่ายังมีวัสดุรีไซเคิล ร้อยละ 8.08 (กระดาษร้อยละ 2.50 พลาสติกร้อยละ 2.27 แก้ว ร้อยละ 2.07 และ โลหะ ร้อยละ 1.24) ขยะอินทรีย์ซึ่งทำปุ๋ยได้ ร้อยละ 52.36 (เศษอาหาร ร้อยละ 46.46 กิ่งไม่ใบไม้ ร้อยละ 5.9) แสดงให้เห็นว่าการคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิดยังไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นสำนักงานเขตพระโขนงจึงต้องให้ความสำคัญกับการลดและคัดแยกขยะให้มากขึ้น โดยการรณรงค์สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการศาสนา ภาคประชาชน และผู้นำชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำขยะไปใช้ประโยชน์ โดยดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่เขต จัดระบบรองรับการแยกขยะของประชาชนพร้อมสื่อสารสร้างความเข้าใจประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนินการจะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณขยะที่ส่งกำจัดลดลง ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ
50100600/50100600
2.1 เพื่อให้การลดปริมาณขยะมูลฝอยเป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในเรื่องการคัดแยกขยะให้ถูกวิธีและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม 2.2 ช่วยปลูกจิตสำนึก ให้ประชาชนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องการลดปริมาณมูลฝอย 2.3 เพื่อส่งเสริมการลดและคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดตามหลักการ 3R ตามนโยบายรัฐบาลและของกรุงเทพมหานคร
3.1 ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกที่แหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เมื่อเทียบกับปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมด ของปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ได้เท่ากับร้อยละ 22 3.2 ชุมชนในพื้นที่เขตมีระบบรองรับมูลฝอยติดเชื้อ และได้รับการจัดเก็บเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของชุมชนในพื้นที่เขต
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-10-03)
03/10/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-22)
22/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ อยู่ระหว่างการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : องค์ประกอบที่ 2.1 ระดับความสำเร็จในการดำเนินการส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะ
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **