ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 5
นางสาวกัญญสร จังพานิช โทร.6534
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครมีความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเพื่อสร้างครอบครัวและชุมชนเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งมีชุมชนที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งชุมชนตามระเบียบกรุงเทพมหานคร เพื่อให้กรุงเทพมหานครดูแลสนับสนุนในการพัฒนาชุมชน มีหลักการให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนและน้อมนำแนวทาง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้ หากได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของกรรมการชุมชนอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปด้วยกันแล้วจะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในกรุงเทพมหานครและสามารถสอดส่อง ควบคุม ดูแลปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ปัญหาสังคมได้ ซึ่งการใช้ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ หลักธรรมาภิบาลและเน้นการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ที่ดีของประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มองค์กรประชาชนที่อาสาเข้ามาพัฒนาชุมชนของตนเองและคงทัศนคติที่ดีในการทำงานพัฒนาชุมชนตามกระบวนการและทิศทางการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร การพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัยและจิตใจ โดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันการพัฒนาชุมชนให้มีสภาพที่ยั่งยืนและตอบสนอง ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าการพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นจะทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้นั้น ต้องมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการเป็นองค์ประกอบ เช่น ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาชุมชนของผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชน การวางแผนและการบริหารงานพัฒนาชุมชนที่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ความสามารถในการระดมทรัพยากรในสังคมให้เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ฯลฯ สำหรับการวางแผนการบริหารงานพัฒนาชุมชนและผู้นำชุมชนสามารถกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการผลักดันการดำเนินการให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เนื่องจากจะสนับสนุนให้ทิศทางการพัฒนาชุมชนมีเอกภาพและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง การพัฒนาชุมชนไปสู่การพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืนนั้น นอกจากประชาชนในชุมชนต้องมีจิตสาธารณะ มีความรักถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของตนเองแล้ว สิ่งสำคัญที่จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาคือ ผู้นำชุมชนหรือกรรมการชุมชนต้องมีความพร้อมและเสียสละ มีจิตสำนึกต่อส่วนรวมในการอาสาเข้ามาเป็นผู้นำในชุมชน สำนักงานเขตพระโขนงได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้นำชุมชน จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน เพื่อให้ผู้นำชุมชนได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่การเป็นผู้นำชุมชน เรียนรู้ภาวะผู้นำ ส่งเสริมเพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน
50101000/50101000
2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นําชุมชนและสร้างแกนนํารุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและขีดความสามารถในการจัดทําแผนพัฒนาชุมชน 2.2 เพื่อให้ผู้นําชุมชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพสามารถนําความความรู้ไปใช้ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม 2.3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการแก้ไขปัญหาในชุมชน สามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 400 คน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-02-24)
24/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : อยู่ระหว่างวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการทำโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **