ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม นายมนูญ ศรีวิเศษ โทร.5885
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สืบเนื่องจากพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2543 มีประเด็นรับสั่งเกี่ยวกับเรื่องธนาคารสมองความว่า "คนที่เกษียณอายุแล้วแต่ยังมีความเป็นนักวิชาการที่เก่งมากน่าจะรวบรวมมันสมองให้มารวมกัน ช่วยพิจารณาปัญหาต่างๆ ของประเทศดูแลแก้ไขปัญหาบ้านเมืองโดยจัดทำเป็น"ธนาคารสมอง (Brain Bank)" พระราชเสาวนีย์ดังกล่าว กรุงเทพมหานครได้น้อมรับมาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้งคลังสมองของกรุงเทพมหานครภายใต้วิสัยทัศน์ว่า"วุฒิอาสา"ธนาคารสมองเป็นคลังปัญญาของประเทศที่พร้อมอาสาร่วมพัฒนาสังคมและประเทศชาติในลักษณะการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันที่จะสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชน โดยไม่หวังผลตอบแทนส่วนตนแต่มุ่งหวังประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566 - 2570) ด้านที่ 3 มหานครสำหรับทุกคน มิติที่ 3.4 สังคมพหุวัฒนธรรม "กรุงเทพมหานครสามารถส่งเสริมให้ประชาชนและเยาวชนกรุงเทพฯเรียนรู้วัฒนธรรมเมืองกรุงเทพฯ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมเมืองกรุงเทพมหานครนอกห้องเรียน ส่งเสริมการนำ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมชุมชนย่านต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง และจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรม การสืบทอดวัฒนธรรมในเมืองกรุงเทพฯ โดยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ศิลปะ การดนตรี และภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน เพื่อสร้างแรงดึงดูดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ทั้งระดับเมือง ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ สำนักงานเขตบางเขนจึงได้จัดทำโครงการศูนย์ประสานงานธนาคารสมองของกรุงเทพมหานคร ขึ้น โดยจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุที่เป็นธนาคารสมองสมองของกรุงเทพมหานครให้กับเด็ก เยาวชน และประชานที่สนใจสามารถได้รับความและเป็นการเชิดชูผลงานของภูมิปัญญาผู้สูงอายุเขตบางเขน
50121000/50121000
2.1 เพื่อสนองพระชาเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 2.2 เพื่อสร้างคุณค่าให้กับภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมองของกรุงเทพมหานคร เขตบางเขน 2.3 เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาผู้สูงอายุของเขตบางเขนที่เป็นคลังสมองของกรุงเทพมหานคร เขตบางเขนให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
3.1 คัดเลือกคลังสมองในพื้นที่เขตละ 1 คน 3.2 จัดซื้อวัสดุในการอบรมถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคลังสมองของกรุงเทพมหานคร ให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนผู้ที่สนใจ 3.3 มีเด็ก เยาวชนและประชาชนที่สนใจได้รับรู้ตระหนักถึงคุณค่าภูมิปัญญาของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดเลือกเป็นคลังสมองของกรุงเทพมหานครไม่น้อยกว่า 50 คน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ด้านศิลปะ นางบุญช่วย ชัยศรี (งานประดิษฐ์ การทำบายศรีปากชาม) ณ ชุมชนบางบัวเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-16.00 น. และเบิกจ่ายเงินตามโครงการเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-03-23)
23/03/2566 : กำหนดจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ด้านศิลปะ นางบุญช่วย ชัยศรี (งานประดิษฐ์ การทำบายศรีปากชาม) ณ ชุมชนบางบัว ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-16.00 น.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-24)
24/02/2566 : ได้รับอนุมัติเงินจัดสรรแล้ว อยู่ะรหว่างเตรียมการจัดซื้อวัสดุ คัดเลือกภูมิปัญญาผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมองของเขตบางเขน เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ นางบุญช่วย ชัยศรี ภูมิปัญญาสาขาศิลปะ ด้านการประดิษฐ์ (การทำบายศรีปากชาม)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-18)
26/10/2565 : อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล วางแผนการดำเนินงาน 25/11/2565 : วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ 25/12/2565 : เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ เรียบร้อยแล้ว 18/01/2566 : ขออนุมัติเงินจัดสรร / เตรียมดำเนินกิจกรรมการคัดเลือกภูมิปัญญาผู้สูงอายุ จำนวน 1 คน ให้แก่ผู้สูงอายุหรือประชาชนผู้สนใจ เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **