ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายการศึกษา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพครบทุกด้าน นอกจากจะเน้นให้นักเรียนมีความรู้มีคุณธรรม จริยธรรมและทักษะในการดำรงชีวิตแล้ว ควรมีการเน้นให้นักเรียนมีทักษะวิชาชีพเพียงพอต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานและเพื่อศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 มหานครสำหรับทุกคน ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุค Thailand 4.0 เพื่อก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่ประเทศรายได้สูงภายใน 15 ปีนับแต่ปี พ.ศ.2560 ซึ่งสอนทักษะงานอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่โลกของการทำงาน จะส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสค้นพบความถนัด ความชอบของตัวเอง และส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนุกกับการเรียนรู้และได้เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มีทักษะการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและการทำงานร่วมกัน รวมทั้งเป็นการมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งเป็นการระดมทรัพยากรบุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิในชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ(พ.ศ.2561-2580) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ : พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ทักษะการทำงาน และการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดงาน จากยุทธศาสตร์ของประเทศและเป้าหมายของกรุงเทพมหานครในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ กรุงเทพมหานครจึงส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมยุคปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ
50130700/50130700
1.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนกรุงเทพมหานครมีทักษะพื้นฐานทางอาชีพและทักษะการทำงาน 1.2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสค้นพบความถนัดและความสนใจของตัวเอง ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง
3.1 ด้านปริมาณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกทักษะอาชีพในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3.2 ด้านคุณภาพ 3.2.1 นักเรียนสังกัดสำนักงานเขตมีนบุรี มีทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและสนใจของตนเอง 3.2.2 นักเรียนสังกัดสำนักงานเขตมีนบุรี มีโอกาสค้นพบความถนัดและแนวทางอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเองก่อนตัดสินใจเลือกเส้นทางศึกษาต่อได้อย่างเหมาะสม
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : สิงหาคม 2566 - โรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาทั้ง 13 โรงเรียน จัดกิจกรรมฝึกอาชีพให้นักเรียนในโรงเรียน - โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านเกาะ โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก และโรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน จัดกิจกรรมฝึกอาชีพให้นักเรียนในโรงเรียน กันยายน 2566 ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : 1) โรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาทั้ง 13 โรงเรียน ได้จัดฝึกอาชีพให้กับนักเรียนในโรงเรียน 2) โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านเกาะ โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก และโรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน จัดกิจกรรมฝึกอาชีพให้กับนักเรียนในโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-30)
30/06/2566 : 1) โรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาทั้ง 13 โรงเรียน ได้จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งสำรวจวัสดุและจัดซื้อวัสดุสำหรับจัดกิจกรรมฝึกอาชีพในโรงเรียน และขณะนี้แต่ละโรงเรียนกำลังดำเนินการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนในโรงเรียน 2) โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านเกาะ โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก และโรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน อยู่ระหว่างสำรวจวัสดุและจัดซื้อวัสดุสำหรับจัดกิจกรรมฝึกอาชีพในโรงเรียน รวมทั้งกำหนดการสอน และจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-27)
27/05/2566 : มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดในโครงการ และได้รับอนุมัติจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 522,000 บาท ดังนี้ 1) โรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จำนวน 13 โรงเรียน จัดกิจกรรมฝึกทักษะพื้นฐานทางอาชีพและการฝึกทักษะการทำงานให้นักเรียน แต่ละโรงเรียนได้รับเงินงบประมาณสำหรับจัดโครงการหรือกิจกรรมฝึกอาชีพในโรงเรียนๆละ 10,000 บาท รวม 13 โรงเรียน เป็นเงิน 130,000 บาท 2) โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านเกาะ โรงเรียนวัดทองสมฤทธิ์ โรงเรียนวัดใหม่ลำนกแขวก และโรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน จัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมด้านอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนๆละ 98,000 บาท แบ่งเป็น 2.1 ค่าวัสดุสำหรับฝึกทักษะอาชีพโรงเรียนละ 50,000 บาทิรวม 4 โรงเรียน เป็นเงิน 200,000 บาท 2.2 ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลภายนอกช่วยปฏิบัติราชการด้านการสอนโรงเรียนละ 48,000 บาท (80 ชั่วโมง*600 บาท) รวม 4 โรงเรียน เป็นเงิน 192,000
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-23)
23/04/2566 : อยู่ระหว่างการเตรียมการกำหนดการสอนตามหลักสูตร ในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-26)
26/03/2566 : โครงการได้รับอนุมัติและได้รับการจัดสรรเพื่อสอนในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : อยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตร และทำโครงการขออนุมัติเพื่อสอนในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-28)
28/01/2566 : แต่ละโรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : ตุลาคม 2565 จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว (ร้อยละ 5) พฤศจิกายน 2565 อยู่ระหว่างจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนดำเนินการ (ร้อยละ 10) ธันวาคม 2565 อยู่ระหว่างโรงเรียนกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการ (ร้อยละ 25)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **