ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายสุวัฒน์ พัสดร โทร.7387
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีอัตราความหนาแน่นของประชากรสูงมาก จึงส่งผลให้ต้องประสบกับปัญหาหลายอย่างทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ปัญหาการว่างงาน ปัญหาด้านความปลอดภัย เป็นต้น ปัญหาอาชญากรรมเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะในพื้นที่เขตหนองจอกมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในบริเวณที่มีความล่อแหลม สถานที่เปลี่ยว สะพานลอยคนเดินข้าม ที่รกร้างว่างเปล่า ซอยเปลี่ยว หมู่บ้าน ป้ายรถประจำทาง ทำให้ผู้กระทำผิดลงมือก่ออาชญากรรมได้ง่าย ทำให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องปรามอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตหนองจอก โดยฝ่ายเทศกิจ จึงได้จัดทำโครงการการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนขึ้น โดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจดำเนินการตรวจตรา เฝ้าระวัง การใช้มาตรการ และการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่เพื่อลดการก่ออาชญากรรม ประชาชนมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
50150900/50150900
1. เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตให้กับประชาชน 2. เพื่อป้องปรามและลดโอกาสการเกิดเหตุอาชญากรรมกับประชาชนในพื้นที่ 3. เพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังและดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน 4. เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงภัยจากอาชญากรรม และให้ประชาชนระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่น
1. เจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตรา เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม 2 ครั้ง/วัน/จุด - บริเวณสะพานลอยคนเดินข้ามหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย พื้นที่สถานีตำรวจนครบาลหนองจอก - บริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ถนนเลียบวารี แขวงกระทุ่มราย พื้นที่สถานีตำรวจนครบาลหนองจอก - หน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ถนนเลียบวารี แขวงกระทุ่มราย พื้นที่สถานีตำรวจนครบาลหนองจอก 2. ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3. เปลี่ยนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยแก่ประชาชน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปราศจากยาเสพติดและการก่อการร้าย1% |
๑.๑.๑.๓ เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะและลดพื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-20)
20/09/2566 : เจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นประจำ รวบรวมรายงานการดำเนินการของฝ่ายโยธาและฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะนำเสนอผู้อำนวยการเขตและสำนักเทศกิจ ทอดแบบสอบถามความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินพร้อมรายงานสรุปผลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 91.00 (2023-08-23)
23/08/2566 : จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด และรวบรวมรายงานผลการดำเนินการฯ ของฝ่ายรักษาความสะอาดฯ และฝ่ายโยธา นำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 86.00 (2023-07-20)
20/07/2566 : จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างน้อย 2 ครั้ง / วัน / จุด และรวบรวมรายงานการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่ของฝ่ายรักษาความสะอาดฯ และฝ่ายโยธา นำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-06-19)
19/06/2566 : จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตรา เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมอย่างน้อย 2 ครั้ง / วัน / จุด และรวบรวมรายงานผลการดำเนินการฯ จากฝ่ายรักษาความสะอาดฯ และฝ่ายโยธาเพื่อนำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-05-19)
19/05/2566 : จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด และรวบรวมรายงานผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขของฝ่ายโยธา และฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ นำเสนอผู้อำนวยการเขตและสำนักเทศกิจทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของฝ่ายรักษาความสะอาดฯ และฝ่ายโยธา นำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 52.00 (2023-03-25)
25/03/2566 : จัดเจ้าหน้าที่ตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย 2 ครั้ง/วัน/จุด และรวบรวมรายงานผลการดำเนินการตรวจสอบฯ ของฝ่ายโยธา และฝ่ายรักษาความสะอาดฯ นำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 43.00 (2023-02-25)
25/02/2566 : จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด และรวบรวมรายงานฯ นำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-01-23)
23/01/2566 : มอบหมายเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด และได้รวบรวมรายงานผลการดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงของฝ่ายรักษาความสะอาดฯ และฝ่ายโยธา นำเสนอผู้บริหารทราบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 28.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ฝ่ายเทศกิจดำเนินการสำรวจและจัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม พร้อมจัดทำโครงการและคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน/จุด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ
ค่าเป้าหมาย ลดลง ร้อยละ : 70
ผลงานที่ทำได้ ลดลง ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **