ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาระโรคสูงเป็นอันดับ 2 รองจากแอลกอฮอล์ องค์การอนามัยโลกได้คาดคะเนว่าภายในปี พ.ศ. 2573 จะมีประชากรโลกตายด้วยโรคที่เกิดจากการบริโภคยาสูบถึงปีละ 8 ล้านคน และจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 600,000 คน เนื่องจากการสัมผัสควันยาสูบมือสอง นอกจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูบและบุคคลรอบข้างแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วยจากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560 พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่จำนวน 10.7 ล้านคน หรือประมาณ 19.1% ได้แก่ กลุ่มอายุ 25-44 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด 21.9% กลุ่มอายุ 20-24 ปี, 45-59 ปี, 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเยาวชนอายุ 15-19 ปีมีอัตราการสูบบุหรี่ 20.7%, 19.1%, 14.4% และ 9.7%ตามลำดับแนวโน้มการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปลดลงไม่มาก แต่ลดลงอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลสถิติปี พ.ศ. 2557-2560) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีผู้สูบบุหรี่ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ คนและมีแนวโน้มลดลงภายใต้การดำเนินโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ โดยส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ และส่งเสริมการเลิกบุหรี่ ในปี พ.ศ. 2562 มีพื้นที่ต้นแบบในการจัดพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ 1. สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ เขตจตุจักร ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง ตลาดน้ำ เขตตลิ่งชัน ถนนสีลม เขตบางรัก ตลาดนัดจตุจักร 2 เขตมีนบุรี และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี รวมถึงมีโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ร่วมจัดกิจกรรมป้องกันนักสูบหน้าใหม่ จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ เขตบางนา โรงเรียนสามเสนนอก เขตดินแดง โรงเรียนวัดราชโกษา เขตลาดกระบัง โรงเรียนวัดลาดพร้าว เขตลาดพร้าว โรงเรียนตั้งพิรุฬห์ธรรม เขตทวีวัฒนา และโรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ เขตบางบอน ในการนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และขยายให้ทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานครมีสภาพแวดล้อมเป็นเขตปลอดบุหรี่ อีกทั้งป้องกันนักสูบหน้าใหม่ จำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายการจัดสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้ออำนวยต่อการสูบบุหรี่เป็นการลดการเข้าถึงบุหรี่ของเด็กและเยาวชน และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อการไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้มีการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบในด้านของการจำกัดวิธีการจำหน่าย อายุผู้ซื้อ สถานที่ห้ามจำหน่าย ห้ามโฆษณา และการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่โดยกำหนดให้มีเขตปลอดบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะ เพื่อลดอันตรายจากการได้รับควันบุหรี่ ประกอบกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นมีแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งนี้สำนักงานเขตหนองจอกได้ตระหนักถึงการป้องกันและส่งเสริมให้ประชาชนปลอดโรคและภัยจากบุหรี่ อีกทั้งเป็นการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ จึงจัดทำโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้การปฏิบัติตามกฎหมายกับผู้จำหน่ายยาสูบและผู้เกี่ยวข้อง และจัดกิจกรรมให้ความรู้เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาพื้นที่เขตหนองจอกเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่
50150400/50150400
1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในพื้นที่เขตหนองจอก 2..เพื่อส่งเสริมให้สถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ ความตระหนักในเรื่องบุหรี่
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และสถานศึกษาในพื้นที่เขตหนองจอก
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ% |
๑.๑.๒.๒ สร้างความภาคภูมิใจในตนเองและความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็ก เยาวชน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-28)
28/09/2566 : เสร็จสิ้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2023-08-21)
21/08/2566 : เตรียมการดำเนินการ (จัดคู่เทียบในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 77.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : เตรียมการดำเนินการ (จัดคู่เทียบในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 72.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : เตรียมการดำเนินการ (จัดคู่เทียบในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 71.00 (2023-05-23)
เตรียมการดำเนินการ (จัดคู่เทียบในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : เตรียมการดำเนินการ (จัดคู่เทียบในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : เตรียมการดำเนินการ (จัดคู่เทียบในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-04)
04/01/2566 : เตรียมการดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-23)
23/12/2565 : จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนมีภูมิคุ้มกันยาเสพติด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **