ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวสุภาพร ศรีอุดร (5617)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึง การสนับสนุน ติด ตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงาน มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุล ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ มุ่งเน้นการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน
50160400/50160400
1. เพื่อตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดัง กลิ่นเหม็น การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล ๒. เพื่อตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการ แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน 3. เพื่อตรวจสอบสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง แนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร 4. เพื่อปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ ตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 5. เพื่อปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมป้องกันโรคในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ๖. เพื่อตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ เช่น การเผาศพ เป็นต้น หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ๗. เพื่อปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 8. เพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๖๐
สำนักงานเขตธนบุรี โดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลออกปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน เร่งด่วน หรือกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ในเรื่องการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรค การส่งเสริมสุขภาพ และปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคแก่ประชาชน การส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การตรวจสอบและแก้ไขเหตุรำคาญ การแนะนำให้ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และกำกับการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานครและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๖๐
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-07-30)
30/07/2564 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : ค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-05-22)
22/05/2564 : ดำเนินการตารมเเผนปฏิบัติงานนอกเวลา เดือนก.พ. - พ.ค. 64
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-04-21)
21/04/2564 : ออกปฏิบัติตามเเผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-03-30)
30/03/2564 : ดำเนินการออกตรวจตามเเผน เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-02-24)
24/02/2564 :ออกตรวจตามเเผนปฏิบัติงานฯ ปี2564
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-01-27)
27/01/2564 : ดำเนินการตามแผนที่จัดไว้
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : อยู่ระหว่างการออกปฏิบัติงานตามเเผนเดือน พ.ย.63 - ม.ค. 64
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-11-26)
-ดำเนินการออกตรวจตามเเผนเดือน พฤศจิกายน 2563
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-10-30)
30/10/2563 : อนุมัติโครงการ และจัดทำแผนการดำเนินงาน อนุมัติแผน และอนุมัติบุคคลฯออกปฏิบัติงาน(บังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560)
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (โครงการงานประจำ) ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ตามที่ สยป. กำหนด : 0
ผลงานที่ทำได้ ตามที่ สยป. กำหนด : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **