ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงาน ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงาน มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุล ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575) และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ด้านสารเคมีและวัตถุอันตราย ที่เป็นไปตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เพื่อลดความเสี่ยงและความสูญเสียจากภัยพิบัติ รวมถึงมุ่งเน้นการป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตธนบุรี จึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยมีกิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อนโครงการฯ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต เป็นกิจกรรมเพื่อสนับสนุนบทบาทหน้าที่และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตธนบุรี ในฐานะหน่วยปฏิบัติการในระดับพื้นที่เพื่อการเสริมสร้างสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในกรุงเทพมหานครและสนับสนุนเป้าประสงค์การพัฒนาของสำนักอนามัย ในมิติเมืองมีสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมที่ดี ปราศจากภาวะคุกคามทางสุขภาพ โดยมีขอบเขตและเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดัง กลิ่นเหม็น การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล โดยให้สำนักงานเขตดำเนินการบริหารจัดการเพื่อเบิกจ่ายค่าตอบแทนฯ ได้ตลอดปีงบประมาณ 2. ตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบการที่ประกอบการ แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน 3. ตรวจสอบสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร 4. ปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ ตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 5. ปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค ในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 6. ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ เช่น การเผาศพ เป็นต้น หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 7. ปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายฯ โดยการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
50160400/50160400
2.1 เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ และการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของอาคารที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 2.2 เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขลักษณะ รวมถึงด้านอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการและอาคารสาธารณะ 2.3 เพื่อเพิ่มศักยภาพ และสนับสนุนการปฏิบัติของกรุงเทพมหานครในการดำเนินการเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรค หรือปัญหาด้านสาธารณสุข 2.4 เพื่อการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เขตธนบุรีให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ 2.5 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงาน สถานประกอบการ และประชาชนในพื้นที่เขตธนบุรี ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
3.1 ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตธนบุรี จำนวน 45 ครั้ง เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม 3.2 ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวน 35 ครั้ง
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)
25/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-22)
22/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-24)
24/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : ดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและเบิกค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 10 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-05-24)
ดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและเบิกค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 10 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-19)
ดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและเบิกค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 5 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-22)
22/03/2566 : ดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและเบิกค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 10 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : การดำเนินงานตรวจบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-18)
18/01/2566 : ดำเนินการตรวจบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จำนวน 23 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-31)
31/12/2565 : - ดำเนินงานตรวจบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในพื้นที่เขตธนบุรี จำนวน 23 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **