ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 99
ฝ่ายรายได้
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ด้วยสำนักงานเขตธนบุรี มีพันธกิจในการเร่งรัดจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้บรรลุเป้าหมายตามประมาณการรายรับที่กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ และสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เป็นแผนการเร่งรัดการจัดเก็บรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของฝ่ายรายได้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเห็นควรจัดทำโครงการเร่งรัดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมพื้นที่ของเขตธนบุรี อันจะทำให้กรุงเทพมหานครมีรายได้เพิ่มขึ้นตามแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
50160500/50160500
2.1 เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีรายได้เพิ่มมากขึ้น 2.2 เพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้ตามประมาณการรายรับที่กรุงเทพมหานครกำหนด 3.2 สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ครบถ้วนและถูกต้อง
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 99.00 (2023-09-26)
26/09/2566 : - รับชำระภาษี รายการค้างชำระ เนื่องจากไม่ได้ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนดเวลาที่กรุงเทพมหานครกำหนด ให้ชำระค่าภาษีภายในเดือน สิงหาคม 2566 - ทบทวน/แก้ไขการประเมินตาม ม.53 เพื่อให้การประเมินภาษีถูกต้อง และเป็นธรรม - ตรวจสอบรายการนำส่งหนังสือแจ้งประเมิน กับทาง ไปรษณีย์ เพื่อออกหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี พ.ศ.2566 ภายในเดือน กันยายน 2566 - การดำเนินงานตามโครงการ/แผน 99% เป็นไปตามเป้าหมายที่่กำหนด แต่ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด เนื่องจาก ประกาศขยายเวลาดำเนินการฯ ประจำปีภาษี พ.ศ.2566 ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ แจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดิน ซึ่งขยายเวลาเป็นภายในเดือน ตุลาคม 2566 - การดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี พ.ศ.2566 เป็นเงินภาษีที่จัดเก็บได้ 97,276,383.35 บาท คิดเป็น 97.28% ของประมาณการที่ตั้งไว้ **ระยะเวลาการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ประจำปีภาษี พ.ศ.2566 ตามประกาศกรุงเทพมหานครขยายระยะเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลว.28 เมษายน 2566 **
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ผลการดำเนินการตามโครงการ : เป็นไปตามแผนที่กำหนด แต่ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 กันยายน 2566 เนื่องจาก กรุงเทพมหานครมีประกาศขยายระยะเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลว.28 เมษายน 2566 ทำให้การดำเนินการ ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้เสร็จสิ้น ภายในเดือนกันยายน 2566
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 99.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : รับชำระภาษี รวมถึงรับคำร้อง ขอผ่อนชำระภาษีประจำปี 2566(ผ่อนตามกฎกระทรวง) ทบทวน/แก้ไขการประเมินตามคำร้องให้ทบทวน หรือคัดค้านการประเมิน รวมถึงทบทวนการประเมิน ตาม ม.53 เพื่อให้การประเมินภาษีถูกต้อง เพื่อให้สามารถชำระภาษีฯ ได้ภายในเดือน สิงหาคม 2566 ตามกำหนดที่กรุงเทพมหานครมีประกาศขยายระยะเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลว.28 เมษายน 2566 ผลการดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เป็นเงินจำนวน 56,456,850.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.46 ของประมาณการจัดเก็บประจำปี พ.ศ.2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ผลการดำเนินการตามโครงการ : ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ระยะเวลากำหนดสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 กันยายน 2566 เนื่องจาก กรุงเทพมหานครมีประกาศขยายระยะเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลว.28 เมษายน 2566 ทำให้การดำเนินการ ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้เสร็จสิ้น ภายในเดือนกันยายน 2566
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 99.00 (2023-07-26)
25/07/2566 : ส่งใบแจ้งการประเมินภาษี และรับคำร้อง คัดค้าน แก้ไขการประเมินให้ถูกต้อง เพื่อให้สามารถชำระภาษีฯ ได้ภายในเดือน สิงหาคม 2566 ตามกำหนดที่กรุงเทพมหานครมีประกาศขยายระยะเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลว.28 เมษายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :โดยภาพรวมคือระบบการจัดเก็บภาษี BMA-Tax ไม่มีความพร้อมในการดำเนินงานทำให้หลายขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการแล้ว จะต้องมาทำซ้ำ และตรวจสอบใหม่ ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ทำให้การแจ้งประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และเกิดความผิดพลาดมาก และความไม่สมบูรณ์/ความไม่พร้อมของระบบการจัดเก็บภาษีกรุงเทพมหานคร (BMA-Tax)
** อุปสรรคของโครงการ :เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนฯ ควรมีการทดสอบใช้ระบบภาษีตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล จนถึงการแจ้งประเมินภาษี ก่อนเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศในการจัดเก็บภาษี เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และความผิดพลาดในเรื่องเดิมๆ
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 99.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : -แก้ไขรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(BMA-Tax) ที่ประชาชนแจ้งแก้ไข และข้อมูลที่โอนถ่ายมาจากระบบ L-tax รวมถึงบันทึกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการสำรวจเพิ่มเติม แต่ไม่สามารถแจ้งประเมินได้ทั้งหมดเนื่องจากบางรายการการ(แปลงที่ดิน) ไม่ทราบตัวเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ชัดเจน ไม่มีเลขบัตรประชาชน ที่อยู่ไม่ชัดเจน -สำรวจการใช้ประโยชน์และเตรียมดำเนินการแจ้งประเมินภาษีไปยังผู้รับประเมิน ตามกำหนดที่กรุงเทพมหานครมีประกาศขยายระยะเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลว.28 เมษายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :- ข้อมูลการใช้ประโยชน์ในระบบ BMA-Tax มีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากระบบเดิมที่โอนถ่ายมา ทำให้ จนท ต้องตรวจสอบอีกครั้ง เกิดการทำงานซ้ำซ้อน, รายงาน ภดส. ที่แสดงไม่ตรงตามที่บันทึกข้อมูล รายการภาษีไม่ถูกต้อง และไม่สามารถสร้างแบบ ภดส.6,7,8 ได้เอง ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ระบบ(Admin) อัพเดทให้ โดยภาพรวมคือระบบการจัดเก็บภาษี BMA-Tax ไม่มีความพร้อมในการดำเนินงานทำให้หลายขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการแล้ว จะต้องมาทำซ้ำ และตรวจสอบใหม่ ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน เสี่ยงต่อการจัดเก็บภาษีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และเกิดความผิดพลาดมาก - ความไม่สมบูรณ์/ความไม่พร้อมของระบบการจัดเก็บภาษีกรุงเทพมหานคร (BMA-Tax)
** อุปสรรคของโครงการ : โดยภาพรวม ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานตามแผนฯ คือ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บภาษี มาใช้ระบบ BMA-Tax ซึ่งยังไม่มีความพร้อมต่อการดำเนินการตามแผนได้ ทำให้ กทม ต้องขยายเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2566 ออกไป เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนฯ ควรมีการทดสอบใช้ระบบภาษีตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล จนถึงการแจ้งประเมินภาษี ก่อนเปลี่ยนแปลง เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และความผิดพลาดในเรื่องเดิมๆ
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 97.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ แก้ไขรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(BMA-Tax) ที่ประชาชนแจ้งแก้ไข และข้อมูลที่โอนถ่ายมาจากระบบ L-tax และบันทึกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการสำรวจเพิ่มเติม
** ปัญหาของโครงการ :ข้อมูลการใช้ประโยชน์ในระบบ BMA-Tax มีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากระบบเดิมที่โอนถ่ายมา ทำให้ จนท ต้องตรวจสอบอีกครั้ง เกิดการทำงานซ้ำซ้อน, รายงาน ภดส. ที่แสดงไม่ตรงตามที่บันทึกข้อมูล รายการภาษีไม่ถูกต้อง และไม่สามารถสร้างแบบ ภดส.6,7,8 ได้เอง ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ระบบ(Admin) อัพเดทให้ โดยภาพรวมคือระบบการจัดเก็บภาษี BMA-Tax ยังไม่มีความพร้อมในการดำเนินงานทำให้หลายขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการแล้ว จะต้องมาทำซ้ำ และตรวจสอบใหม่ อีกทั้งระบบการจัดเก็บภาษีมีการเพิ่ม-ลด function อยู่ประจำ ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน เสี่ยงต่อการจัดเก็บภาษีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และเกิดความผิดพลาดมาก
** อุปสรรคของโครงการ :โดยภาพรวม ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานตามแผนฯ คือ มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บภาษี มาใช้ระบบ BMA-Tax ซึ่งยังไม่มีความพร้อมต่อการดำเนินการตามแผนได้ ทำให้ กทม ต้องขยายเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2566 ออกไปอีก เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการตามแผนฯ ควรมีการทดสอบใช้ระบบภาษีตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล จนถึงการแจ้งประเมินภาษี ก่อนเปลี่ยนแปลง
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-04-26)
26/04/2566 : แก้ไขรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง(BMA-Tax) ที่ประชาชนแจ้งแก้ไข และข้อมูลที่โอนถ่ายมาจากระบบ L-tax และบันทึกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการสำรวจเพิ่มเติม
** ปัญหาของโครงการ :ข้อมูลการใช้ประโยชน์ในระบบ BMA-Tax มีความผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากระบบเดิมที่โอนถ่ายมา ทำให้ จนท ต้องตรวจสอบอีกครั้ง เกิดการทำงานซ้ำซ้อน และรายงาน ภดส. ที่แสดงไม่ถูกต้อง รายการภาษีไม่ตรงตามที่ควรจะเป็น
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : บันทึกรายการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลงในระบบ BMA TAX รับคำร้องขอแก้ไขรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด พร้อมทั้งตรวจสอบ และบันทึกลงในระบบ BMA TAX
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-02-24)
24/02/2566 : สำรวจ และบันทึกรายการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลงในระบบประมวลผลการจัดเก็บภาษี(BMA-Tax) และส่ง บัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด ให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ขยายกำหนดเวลาดำเนินการตาม พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ลงวันที่ 31 มกราคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ระยะเวลา และการดำเนินการ มีความจำกัด เนื่องจาก กรุงเทพมหานครมีการเปลี่ยนฐานข้อมูล และโปรแกรมการจัดเก็บภาษี ทำให้ไม่มี หน่วยประมวลผลกลางสำหรับการดำเนินการ
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-01-26)
26/01/2566 : รับคำร้องขอแก้ไขรายการบัญชีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ณ สำนักงาน และ ทาง Google Form
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : 1. ลงพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประชาสัมพันธ์เชิงรุก และบันทึกการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงในแบบ ผท.1-2 2. ส่งบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทางไปรษณีย์ตอบรับ และทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-mail, Line) 3. รับคำร้องขอแก้ไขรายการบัญชีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ณ ที่ทำการ และทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (GoogleForm)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ระบบประมวลผล) ในการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ เนื่องจาก กทม. มีการเปลี่ยนฐานข้อมูล และโปรแกรมระบบการจัดเก็บภาษีฯ
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **