ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายธรรมรัตน์ ขันธพัฒน์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
-ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็น ๑ ใน ๕ ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี ๒๕๖๑ (๗ มกราคม-๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๑) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน ๗,๘๑๖ รายอัตราป่วย ๑๓๗.๕๕ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิตแล้ว ๑๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๑๓ โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง ๑๐-๑๔ ปี รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ ๕-๙ ปี และ ๑๕-๒๔ ปี ตามลำดับ โดยอัตราป่วย โรคไข้เลือดออกเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ ๘๐ (ปี ๒๕๕๖-๒๕๖๐) มีค่าเท่ากับ ๓๑๒.๖๒ ต่อแสนประชากร ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัด วิถีชีวิตและการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมายการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออก อย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vectors Management) มาบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง -ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตคลองสาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือ ในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อขยายเครือข่าย ให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
50170400/50170400
๑ เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ ๒ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับ ให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ๓ เพื่อให้ชุมชนจดทะเบียนในเขตคลองสานเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
๑ เชิงคุณภาพ ๑.๑ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สามารถ นำแนวคิดหลักการ องค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงด้านการ เฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๑.๒ ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตคลองสานปลอดลูกน้ำยุงลายและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ๒ เชิงปริมาณ ๒.๑ ดำเนินกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่ เขตคลองสาน จำนวน ๔๒ ชุมชน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ การนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขเรื่องโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ ๒ การดำเนินกิจกรรมตามประเด็นปัญหาในชุมชน โดยจัดกิจกรรมกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน กิจกรรมที่ ๓ การสรุปรายละเอียด ข้อคิดเห็นการดำเนินกิจกรรม
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-08-31)
31/08/2564 : - ดำเนินการครบ 3 กิจกรรม เรียบร้อยแล้วและได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินในกิจกรรมต่างๆครบหมดเรียบร้อยแล้ว - ยอดเบิกจ่ายทั้งหมด จาก 295,600 บาท 1. กิจกรรมการดำเนินการจัดการพาหะแบบผสมผสาน 78,750 บาท 2. ค่าตอบแทน 47,500 บาท 3. ค่าล่วงเวลา 1,600 บาท รวมเบิกจ่ายไป 127,850 บาท ไม่ได้เบิกจ่าย 167,750 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-07-30)
30/07/2564 : - ดำเนินกิจกรรมจัดการพาหะผสมผสานครั้งที่1-2 เรียบร้อยแล้ว - กิจกรรมครั้งที่ 3 อยุ่ระหว่างการเบิกจ่ายงบประมาณ - ดำเนินการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคจำนวน 56 ครั้ง ตั้งแต่ 8 มีนาคม - 30 มิถุนายน 64 เรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : - ดำเนินกิจกรรมจัดการพาหะแบบผสมผสานครั้งที่ 1-2 เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าอาหาร - กิจกรรมครั้งที่ 3 อยู่ระหว่างรอข้อกฎหมายมาตรการโควิด-19 - ดำเนินการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคจำนวน 53 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม - 25 มิถุนายน 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-05-25)
25/05/2564 : - ดำเนินกิจกรรมจัดการพาหะแบบผสมผสานครั้งที่ 1 และ 2 จำนวน 42 ชุมชนเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดกิจกรรมครั้งที่ 3 (รอดูความชัดเจนสถาานการณ์โควิด-19) - ดำเนินการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคจำนวน 32 ครั้ง ดำเนินการนอกเวลาราชการ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กิจกรรมอาจจะต้องชะลอไปตามสถานการณ์
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-04-26)
26/04/2564 : - ดำเนินกิจกรรมจัดการพาหะแบบผสมผสาน ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 1 เมษายน - 20 เมษายน 64 จำนวน 27 ชุมชน - ดำเนินการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค จำนวน 22 ครั้ง โดยดำเนินการนอกเวลาราชการ ตั้งแต่ 8 มีนาคม - 22 เมษายน 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-03-29)
29/03/2564 : - ดำเนินกิจกรรมจัดการพาหะแบบผสมผสาน ครั้งที่ 1 ในชุมชนตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม - 29 มีนาคม 2564 เป็นจำนวน 36 ชุมชน - ดำเนินการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค จำนวน 12 ครั้ง โดยดำเนินการนอกเวลาราชการ ตั้งแต่ 8 มีนาคม 2564 - 29 มีนาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-02-24)
24/02/2564 : อยู่ระหว่างการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตามโครงการและประสานชุมชนในการดำเนินกิจกรรมการณรงค์เรื่อง โรคไข้เลือดออก ระหว่าง 8 มี.ค. - 11 มิ.ย. 64
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-01-28)
28/01/2564 : อยู่ระหว่างของการดำเนินการอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์โควิท-19 และจัดทำแผนปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-28)
28/12/2563 : อยู่ระหว่างการขออนุมัติการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรค ตั้งแต่เดือน มกราคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-27)
27/11/2563 : อยู่ระหว่างจัดทำแผนการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนในการควบคุมโรคทั้ง 42 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-28)
28/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 75.51
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **