ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการค่าใช้จ่ายในการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 50170000-7052

สำนักงานเขตคลองสาน : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2563 (5 มกราคม 2563 – 2 มกราคม 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 6,277 รายอัตราป่วย 110.78 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5-14 ปี รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ 15 – 34 ปี และ 0-4 ปี ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัด วิถีชีวิตและการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมายการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออก อย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vectors Management) มาบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตคลองสาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป

50170400/50170400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๒.๑ เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมายของโครงการ

๓.๑ เชิงคุณภาพ ๓.๑.๑ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สามารถนำแนวคิดหลักการ องค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงด้านการ เฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๓.๑.๒ ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตคลองสานปลอดลูกน้ำยุงลายและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-26)

100.00

26/09/2566 : 1. เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาในการสรุปกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกจำนวน 3,600 บาทเรียบร้อยแล้ว 2. รายงานสรุปกิจกรรมโครงการฯให้ผู้บริหารทราบเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :1.บุคลากรมีไม่เพียงพอ (ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขของสำนักงานเขตไม่มี) 2.วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมมีไม่เพียงพอ (ตะไคร้หอม และสื่อต่างๆ)

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-25)

90.00

25/08/2566 : - ดำเนินกิจกรรมจิตอาสาทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง - อยู่ระหว่างเบิกค่าตอบแทนช่วงสองและค่าอาหารทำการนอกเวลา

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-25)

80.00

25/07/2566 : เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามหลักการ IVM ดำเนินตามแผนดำเนินการช่วงที่ 2 เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566 โดย 1. ดำเนินกิจกรรมในการควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ ชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา สวนสาธารณะสถานประกอบการ สถานที่ราชการ 2. อยู่ระหว่างการดำเนินการตามแผนดำเนินการช่วงที่ 2 เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566 3.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ - สำรวจลุกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่ง - ควบคุมโรคโดยการฉีดพ่นสารเคมี - ดำเนินกิจกรรม Big Cleaning Day ในชุมชนทุกวันศุกร์เพื่อลดการระบาดในชุมชน - ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคผ่านตัวแทนชุมชน อสส.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-28)

70.00

1. ช่วงที่ 1 เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ดำเนินกิจกรรมในการควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆไ ด้แก่ ชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา สวนสาธารณะสถานประกอบการ สถานที่ราชการ จำนวน 40 ครั้ง 2. การเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลกรทางการแพทย์การทำงานตามโครงการตามแผนดำเนินการช่วงที่ 1 เรียบร้อยแล้ว จำนวน 69,600 บาท 3. อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามหลักการ IVM ตามแผนดำเนินการช่วงที่ 2 เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-24)

60.00

24/05/2566 : อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามหลักการ IVM (ตามแผนดำเนินการ เดือน มกราคม 2566 - กรกฎาคม 2566)โดย 1. ดำเนินกิจกรรมในการควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้แก่ ชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา สวนสาธารณะสถานประกอบการ สถานที่ราชการ -รณรงค์ประชาสัมพันธ์ -สำรวจลุกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่ง -ควบคุมโรคโดยการฉีดพ่นสานเคมี 2.ดำเนินกิจกรรม Big Cleanning Day ในชุมชนทุกวันศุกร์ เพื่อลดการระบาดในชุมชน 3.ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคผ่านตัวแทนชุมชน อสส

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-26)

50.00

เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามหลักการ IVM (ตามแผนดำเนินการ เดือน มกราคม 2566 - กรกฎาคม 2566) โดยดำเนินกิจกรรมในการควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ ชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา สวนสาธารณะ สถานประกอบการ สถานที่ราชการ - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ - สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุ - ควบคุมโรคโดยการฉีดพ่นสารเคมี - ประสานความร่วมมือ กับ อสส. และสถานพยาบาล

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-28)

40.00

28/03/2566 : - เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก และประชาสัมพันธ์ตามหลัก IVM ในกลุ่มเป้าหมาย ชุมชนจัดตั้งตามแผนดำเนินการ (มกราคม 2566- กรกฎาคม 2566) - มีการดำเนินการร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี ในการควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและการระบาดของโรคไข้เลือดออก - ดำเนินการควบคุมสถานการณ์โรค เพิ่มเติมในกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่เขต โดยมีกลุ่มเป้าหมายชุมชน สถาศึกษา ศาสนสถาน สถานที่ราชการ สถานประกอบการ และสวนสาธารณะ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-28)

30.00

28/02/2566 : ลงพื้นที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก และประชาสัมพันธ์ตามหลัก IVM ในกลุ่มเป้าหมาย ชุมชนจัดตั้งตามแผนดำเนินการ (มกราคม 2566- กรกฎาคม 2566) และมีการดำเนินการร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 28 กรุงธนบุรี ในการควบคุมสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและการระบาดของโรคไข้เลือดออก

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-26)

20.00

เดือน มกราคม 66 ลงพื้นที่ควบคุมโรคไข้เลือดออก และประชาสัมพันธ์ตามหลัก IVM

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอคิดเห็นเพิ่มเติม

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-03)

20.00

03/01/2566 : เดือนธันวาคม 2565 จัดทำแผนการดำเนินงาน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคำสั่งและแผนดำเนินการ
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3.การสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายของชุมชนที่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
:30.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. การดำเนินการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจัดตั้งในพื้นที่เขตคลองสาน สำหรับเป็นค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
:30.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. การสรุปและจัดทำรายงานการดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50170000-7052

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50170000-7052

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด :

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **