ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการบูรณาการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเชิงพื้นที่ : 50180000-7118

สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ : (2566)

10

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10

ฝ่ายเทศกิจ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านอาชญากรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะพบเห็นได้จากการเสนอข่าวของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ประกอบสถิติข้อมูลคดีอาญา 5 กองบัญชาการตำรวจนครบาลห้วง 3 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันปัญหาด้านอาชญากรรมถือเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ที่ส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดล่อแหลม จุดเสี่ยง ทำให้ผู้ก่อเหตุสามารถฉวยโอกาสลงมือก่ออาชญากรรมได้ เช่น พื้นที่รกร้าง พื้นที่เปลี่ยว อาคารเอกชนถูกทิ้งร้าง พื้นที่ใต้สะพาน หรือบริเวณป้ายรถโดยสารประจำทางที่แสงสว่างไม่เพียงพอทั่วถึง กรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาตามแนวทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม ประการหนึ่ง คือ การตัดช่องโอกาสด้านสภาพแวดล้อม โดยใช้หลักการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันอาชญากรรมมาแก้ไขปัญหา สำรวจข้อมูลที่เป็นจุดเสี่ยงร่วมกองบัญชาการตำรวจนครบาลให้การสนับสนุนการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างยังไม่สามารถกระทำได้ทั่วถึงครอบคลุมอันเนื่องมาจากพื้นที่บางส่วนเป็นของเอกชน การตัดแต่งต้นไม้ริมทาง การรื้อถอนอาคารร้าง ซึ่งมักจะติดขัดในแง่ของที่ดินส่วนบุคคลและข้อกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาอีกแง่มุมหนึ่งที่กรุงเทพมหานครจะหาทางประสานแก้ไข ฉะนั้น การดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนและประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นภารกิจร่วมของหลายหน่วยงานจำเป็นต้องอาศัยการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อให้สามารถนำมาตรการต่าง ๆ ลงสู่พื้นที่ที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย โดยการลดโอกาส ลดปัจจัยเสี่ยงและความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการควบคุมอาชญากรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

50180900/50180900

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมาตรการต่าง ๆ ลงสู่พื้นที่ที่มีปัญหาและปรับสภาพแวดล้อมให้เกิดความเรียบร้อย 2. เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 3. เพื่อตัดช่องโอกาสด้านสภาพแวดล้อมที่จะใช้ก่ออาชญากรรม 4. เพื่อป้องกันและเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน

เป้าหมายของโครงการ

แก้ไขจุดเสี่ยงภัยที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม จำนวน 7 แห่ง และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-27)

10.00

27/05/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-02-28)

0.00

9

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-01-31)

0.00

9

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-01-29)

0.00

9

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-01-26)

80.00

ต.ค.66 จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจจุดเสี่ยงจุดล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม ที่กำหนดไว้ วันละ ๒ ครั้ง 1.ไฟส่องสว่าง ปกติ 2.กล้อง CCTV ปกติ 3.เหตุการณ์ทั่วไป ปกติ 4.ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ -ไม่มี-

** ปัญหาของโครงการ :ธ.ค.65

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 16.00 (2023-01-23)

16.00

23/01/2566 : ต.ค.65 ประชุมชี้แจงเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงาน โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่เทศกิจเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-09)

5.00

09/01/2566 : ต.ค.65 จัดทำคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-08)

5.00

08/01/2566 : ต.ค.65 1.ประเมินพื้นที่เสี่ยงการเกิดอาชญากรรมด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ 2.วิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดอาชญากรรมเพื่อหาช่วงเวลาของการเกิดอาชญากรรมเกี่ยวกับบุคคลและทรัพย์สิน 3.จัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยง/จุดเสี่ยงอาชญากรรม ในพื้นที่ จำนวน 7 จุด ได้แก่ (1) พื้นที่รกร้างริมคลองบางกอกใหญ่ (สะพานเนาวจำเนียร) (2) จุดกลับรถใต้สะพานเนาวจำเนียร (3) จุดกลับรถใต้สะพานบางไผ่ (4) พื้นที่รกร้างซอยจรัญสนิทวงศ์ 5 (คลองวัดเจ้ามูล) (5) บ้านร้าง บริเวณท้ายซอยจรัญสนิทวงศ์ 1 (6) สวนบางกอกใหญ่ (7) ท่าน้ำวัดสังข์กระจายวรวิหาร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1.บัญชีพื้นที่เสี่ยง
:3.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2.จัดทำคำสั่งมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่
:3.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3.ประชุมชี้แจงซักซ้อมความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง
:4.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4.เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติหน้าที่ตามพื้นที่เป้าหมาย
:80.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5 .รายงานผลการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50180000-7118

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50180000-7118

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด :

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **