ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายเทศกิจ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานการณ์ปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในการสัญจรทางถนนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งสำนักการจราจรและขนส่ง ในฐานะหน่วยงานหลักได้กำหนดตัวชี้วัดเจรจาตกลงระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน โดยมุ่งเน้นบูรณาการทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ได้กำหนดจัดทำแผนปฏิบัติงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ปรับปรุงสภาพถนนและจุดเสี่ยงอันตราย โดยบูรณาการดำเนินการร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักการโยธา เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในส่วนที่ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางกอกใหญ่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน พร้อมปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงหรือจุดล่อแหลมที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนหรือ ผู้ร่วมทาง เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และบริเวณพื้นที่ที่จะดำเนินการเกิดความเรียบร้อย สะอาด ปลอดภัย
50180900/50180900
2.1 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งจากคน ยานพาหนะ 2.2 เพื่อปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงหรือจุดล่อแหลมที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน 2.3 เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนหรือผู้ร่วมทางเกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2.4 เพื่อให้พื้นที่บริเวณที่ดำเนินการเกิดความเรียบร้อย สะอาด และปลอดภัย
3.1 การแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง 3.2 การแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้ 3.2.1 แยกโพธิ์สามต้น ถนนอิสรภาพ 3.2.2 แยกพาณิชยการธนบุรี 3.2.3 อุโมงค์ทางลอดแยกท่าพระ 3.2.4 เชิงสะพานคลองมอญหน้าวัดเครือวัลย์ 3.2.5 ปากซอยอิสรภาพ 42 3.2.6 ปากซอยเพชรเกษม 4 ทะลุออกปากซอยอิสรภาพ 21 3.2.7 ถนนวังเดิมหน้า สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-26)
26/09/2566 : เดือนกันยายน 2566 การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ตรวจตราพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ มีการตรวจตราไฟฟ้าส่องสว่าง และตรวจป้ายบอกทาง สัญญาณไฟจราจร โดยประสานงานกับ สำนักการโยธา และสำนักงานจราจรและขนส่ง **********สรุปผลการดำเนินการ **************** รายละเอียดผลการดำเนินงาน 1.เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานหลัก (สำนักการจราจรและขนส่ง) เพื่อกำหนดภารกิจ มอบหมายจุดเสี่ยงที่หน่วยงานรับผิดชอบและตกลงค่าเป้าหมาย 2.ดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ จำนวน 7 จุดดังนี้ (1)แยกโพธิ์สามต้น ถนนอิสรภาพ (2) แยกพาณิชยการธนบุรี (3) อุโมงค์ทางลอดแยกท่าพระ (4)เชิงสะพานคลองมอญหน้าวัดเครือ วัลย์ (5)ปากซอยอิสรภาพ 42 (6)ปากซอยเพชรเกษม 4ทะลุออก ปากซอยอิสรภาพ 21 (7)ถนนวังเดิมหน้าสถานีตำรวจนคร บาลบางกอกใหญ่ และจุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) 2.1 ฝ่ายเทศกิจจัดกิจกรรมการกวดขันวินัยจราจร และอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในพื้นที่ และรวบรวมรายงานผลการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุรวบรวมและรายงานผลให้ผู้บริหารทราบหรือตามที่ได้รับการประสาน 2.2 ฝ่ายโยธาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดหรือพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ 2.2.1 บูรณะ/ปรับปรุง/ซ่อมแซมและบำรุงรักษาทาง ฝาท่อระบายน้ำ ตะแกรงดักขยะ บนพื้นผิวจราจร และรางระบายน้ำ 2.2.2 ติดตั้ง/รื้อย้าย/ถอดถอน/บำรุงรักษาเครื่องหมายจราจรและอุปกรณ์วิศวกรรมจราจร การติดตั้งกระจกโค้ง ไฟฟ้าส่องสว่าง การควบคุมการติดตั้งป้ายต่าง ๆ 2.2.3แจ้งผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ(แบบ 1) ส่งให้ฝ่ายเทศกิจ ภายในวันที่ 1 ของเดือน 2.3 ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการการปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในส่วนที่รับผิดชอบดังนี้ 2.3.1 การตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นป้ายบอกทางต่าง ๆ และสัญลักษณ์จราจรในพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 2.3.2ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ และบริเวณใกล้เคียง 2.3.3 แจ้งผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (แบบ 2) ส่งให้ฝ่ายเทศกิจ ภายในวันที่ 1 ของเดือน 3. รายงานผลการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 4. สรุปผลการดำเนินการตามแผน/โครงการ **** ตัวชี้วัด = ระดับความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black sport) **** เป้าหมาย=ระดับ 5 **** น้ำหนักคะแนน = 10 **** ระดับความสำเร็จ ที่ดำเนินงานได้ = ร้อยละ 100 **** ผลการดำเนินงาน = 100 **** คะแนนที่ได้ = 10 **** รวมคะแนน = 10
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 79.00 (2023-08-30)
30/08/2566 : เดือนสิงหาคม 2566 การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ตรวจตราพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ มีการตรวจตราไฟฟ้าส่องสว่าง และตรวจป้ายบอกทาง สัญญาณไฟจราจร โดยประสานงานกับ สำนักการโยธา และสำนักงานจราจรและขนส่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 76.00 (2023-08-03)
03/08/2566 : เดือนกรกฎาคม 2566 การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เทศกิจที่ตรวจตราพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ มีการตรวจตราไฟฟ้าส่องสว่าง และตรวจป้ายบอกทาง สัญญาณไฟจราจร โดยประสานงานกับ สำนักการโยธา และสำนักงานจราจรและขนส่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 74.00 (2023-07-30)
30/07/2566 : (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) อำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สัญจรไป - มา (3) ประสานฝ่ายโยธาปรับปรุงซ่อมแซมผิวจราจรบนทางเท้าให้เกิดความสะดวกปลอดภัยแก่ประชาชนที่สัญจรบนถนนและทางเท้า (4) ประสานฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 66.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : มิ.ย.66 1.ประสานฝ่ายรักษาฯดำเนินการตัดแต่งต้นไม้ กิ่งไม้ ปรับสภาพแวดล้อมที่บดบังทัศนียภาพบริเวณเพชรเกษม 2.ส่งมอบประชาสัมพันธ์การขับขี่ปลอดภัยเคารพกฎจราจร ปลูกฝังวินัยจราจร และเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 9 แห่ง ได่แก่ (1) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม (2) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์ (3) โรงเรียนวัดนาคกลาง (4) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี (5) โรงเรียนวัดดีดวด (6) โรงเรียนวัดท่าพระ (7) โรงเรียนทวีธาภิเศก (8) สถานีตำรวจนครบาลท่าพระ (9) สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 64.00 (2023-05-28)
พ.ค.66 ผลการดำเนินงาน 1. ประสานกับ บจก.กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (Thai RSC) เพื่อขอข้อมูลสถิติผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ 2. ดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” ครั้งที่ 1 โดยรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักการจราจรและขนส่งทราบ 3. สำรวจข้อมูลจุดที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งและจุดที่ประชาชนใช้สัญจรจำนวนมาก โดยประสานกับสำนักการจราจรและขนส่งพิจารณาดำเนินการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 62.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : พ.ค.66 ข้อ 1. การดำเนินงาน ตามตัวชี้วัด “ร้อยละความสำเร็จของการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ” จุดที่ 1 ชื่อจุดเสี่ยง แยกโพธิ์สามต้น ถนนอิสรภาพ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) อำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สัญจรไป - มา 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 2 ชื่อจุดเสี่ยง แยกพาณิชยการธนบุรี ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) บูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนภาคีเครือข่ายต้นแบบป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน “สวมหมวกนิรภัย ดื่มไม่ขับ ลดเร็ว ลดเสี่ยง” กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย และความรับผิดชอบร่วมกัน 2. ฝ่ายโยธา ปรับปรุงซ่อมแซมผิวจราจรบนทางเท้าให้เกิดความสะดวกปลอดภัยแก่ประชาชนที่สัญจรบนถนนและทางเท้า 3. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 3 ชื่อจุดเสี่ยง อุโมงค์ทางลอดแยกท่าพระ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 4 ชื่อจุดเสี่ยง เชิงสะพานคลองมอญหน้าวัดเครือวัลย์ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) อำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สัญจรไป - มา 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 5 ชื่อจุดเสี่ยง ปากซอยอิสรภาพ 42 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 6 ชื่อจุดเสี่ยง ปากซอยเพชรเกษม 4 ทะลุออกปากซอยอิสรภาพ 21 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) อำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สัญจรไป - มา (3) รณรงค์ประชาสัมพันธ์การสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่ทำการขับขี่รถจักรยานยนต์ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 7 ชื่อจุดเสี่ยง ถนนวังเดิมหน้า สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) อำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สัญจรไป - มา 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง จุดที่ 8 ชื่อจุดเสี่ยง แยกท่าพระ (ถนนรัชดาภิเษก ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ตัดถนนเพชรเกษม) ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ฝ่ายเทศกิจ (1) ตรวจสภาพถนน ป้ายบอกทางบนถนน ระบบไฟส่องสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่อยู่ในความดูแลให้พร้อมใช้งานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้เส้นทาง (2) อำนวยความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สัญจรไป - มา 2. ฝ่ายโยธา ปรับปรุงซ่อมแซมผิวจราจรบนทางเท้าให้เกิดความสะดวกปลอดภัยแก่ประชาชนที่สัญจรบนถนนและทางเท้า 3. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะ โดยตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังดูแลรักษาความสะอาดในบริเวณจุดเสี่ยงอุบัติเหตุและพื้นที่ใกล้เคียง ข้อ 2. สำรวจจุดเสี่ยงที่จะดำเนินการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ จุดที่ 1 : แยกท่าพระ (ถนนรัชดาภิเษก ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ตัดถนนเพชรเกษม) จุดที่ 2 : หน้าสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ จุดที่ 3 : ปากซอยอรุณอมรินทร์ 10 จุดที่ 4 : ปากซอยอรุณอมรินทร์ 12
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 56.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566 (7 วันอันตราย) ตั้งแต่วันที่ 11 - 17 เมษายน 2566 มาตรการเสริม (1) มาตรการด้านระบบข้อมูล จัดทำข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน จำนวนผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ประเมินผล และวางแผนการป้องกันอุบัติภัยทางถนนให้ถูกต้องตามสภาพปัญหาของพื้นที่ (2) มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์เป็นพิเศษ เช่น จัดกิจกรรมรณรงค์ให้มีการตรวจสอบสภาพรถก่อนเดินทาง ตรวจสอบสภาพรถโดยสารสาธารณะและคนขับก่อนเดินทางเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ วิทยุชุมชน จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้ประชาชน ประชาคม ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง (3) มาตรการด้านควบคุมจราจรเพิ่มความปลอดภัย จัดทำป้ายเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟจราจร เครื่องมือการยับยั้งจราจรและราวกันอันตราย โดยติดตั้งบริเวณที่มีอันตรายต่อผู้ใช้ถนน หรือเพื่อเพิ่มความสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ปัจจัยความสำเร็จ/ปัจจัยที่ต้องพัฒนาในการดำเนินงานช่วงเทศกาล 1. การทำงานแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานในพื้นที่ที่มุ่งเน้นการร่วมวิเคราะห์และจัดการปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนโดยเน้นหนัก 3 ประการ คือ (1) สร้างความตระหนักด้านอุบัติเหตุจากท้องถนน เน้นการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้รถใช้ถนน (2) สร้างเจตคติและจิตสำนึกด้านอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นการสร้างสติความรู้สึกรับผิดชอบของผู้ใช้รถใช้ถนน (3) สร้างทักษะและการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนแบบภาคีหนุนเสริม 2. การขับเคลื่อนนโยบายตามแบบแผนตามมาตรการแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 โดยทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมกันรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน และมีการสื่อสารผ่านช่องทางที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยทางถนนครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และผู้ขับขี่ด้วยความเร็ว รวมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการขนส่งในพื้นที่ให้ปฏิบัติตาม มาตรการความปลอดภัยทางถนนอย่างเคร่งครัด 3. การขับเคลื่อนงานเป็นระบบและมีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นเอกภาพและทิศทางเดียวกัน โดยใช้กลไกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเขตบางกอกใหญ่ซึ่งมีคณะกรรมการในการร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนนเชิงบูรณาการในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Approach) มีการจัดเก็บข้อมูลสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินงานการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การวิเคราะห์ปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ ด้านคน ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนยังขาดความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติภัยทางถนนอย่างถูกต้อง และขาดจิตสำนึกขาดความตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางถนนตามมาตรการความปลอดภัยทางถนน เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด เล่นน้ำสงกรานต์บนท้ายกระบะรถยนต์ และขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ด้านยานพาหนะ ผู้ใช้รถไม่เห็นความสำคัญของการตรวจสภาพรถก่อนออกเดินทาง เช่น ยางรถยนต์มีดอกยางเหลือน้อย ระดับน้ำมันเบรกพร่อง ขับรถไม่เปิดไฟเลี้ยว ขับรถตัดหน้า ดัดแปลงสภาพส่วนควบ และเครื่องอุปกรณ์ประจำรถไม่ได้มาตรฐาน ด้านถนนและสภาพแวดล้อม เส้นทางคมนาคมชํารุดเสียหายหลายจุด สัญญาณไฟจราจรและป้ายสัญญาณเตือนบางจุดยังติดตั้งไม่แล้วเสร็จ การดําเนินงานก่อสร้างหรือช่วงซ่อมแซมถนนในช่วงเทศกาลไม่มีป้ายแจ้งเตือนให้เห็นชัดเจน ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (1) จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนลดลงคิดเป็นร้อยละ 70 เปอร์เซ็นต์ (2) จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงคิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ (3) จำนวนผู้บาดเจ็บลดลงคิดเป็นร้อยละ 70 เปอร์เซ็นต์ (4) จำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุจุดเสี่ยงคิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ (5) จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุลดลงคิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ (6) จำนวนผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลักลดลงคิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 54.00 (2023-04-25)
เม.ย.66 1. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 เขตบางกอกใหญ่ (ศปถ.เขตบางกอกใหญ่) ณ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) เพื่อบูรณาการการดำเนินงานทุกภาคส่วนและกำหนดแนวทางมาตรการและแก้ไขปัญหาและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 เพื่อบูรณาการการดำเนินงานทุกภาคส่วนและกำหนดแนวทาง มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 3. ประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 เขตบางกอกใหญ่ (ศปถ.เขต) เพื่อพิจารณากำหนดแนวทาง รูปแบบ และสถานที่ในการตั้งจุดตรวจ และจุดบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 5 สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 4. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการการปล่อยขบวนแถวในการรณรงค์และปฏิบัติการเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่เทศกิจ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 3. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ 6. เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลท่าพระ 7. เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่ 8. เจ้าหน้าที่ทหาร กองทัพเรือ 9. อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ในวันที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 07.45 น. ณ ลานจอดรถฝ่ายรักษาความสะอาดฯ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ แนวทางการดำเนินการ 1. ฝ่ายที่รับผิดชอบสนับสนุนการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานหลัก ประกอบไปด้วย 1) ฝ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ - ฝ่ายปกครอง - ฝ่ายโยธา - ฝ่ายทะเบียน - ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล - ฝ่ายรายได้ - ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ - ฝ่ายการศึกษา - ฝ่ายการคลัง - ฝ่ายเทศกิจ - ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม 2) ฝ่ายสนับสนุนหน่วยงานภายนอก - สถานีตำรวจนครบาลท่าพระ และสถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่ - สถานีดับเพลิงและกู้ภัยธนบุรี - ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์ - อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเขตบางกอกใหญ่ 2. ช่วยเตรียมความพร้อมการรณรงค์และประชาสัมพันธ์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2566 – 3 เมษายน พ.ศ. 2566 ฝ่ายเทศกิจ 1. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) เพื่อบูรณาการการดำเนินงานทุกภาคส่วนและกำหนดแนวทาง มาตรการและแก้ไขปัญหาและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 2. จัดทำแผนงานการรณรงค์และประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 3. กำหนดวิธีการและกิจกรรมในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ทั้งในช่วงการเตรียมความพร้อมและในช่วงการรณรงค์ ช่วงก่อนควบคุมเข้มข้น ช่วงควบคุมเข้มข้น และช่วงหลังควบคุมเข้มข้น 4. สำรวจพื้นที่ทางกายภาพถนนภายในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ ทั้งถนนสายหลักและถนนสายรอง สำรวจป้ายสัญญาณจราจร ไฟสัญญาณจราจร หากพบชำรุดไม่ชัดเจน ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงให้พร้อมใช้งาน 3. ช่วงก่อนการรณรงค์ควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 4 - 10 เมษายน 2566 ฝ่ายปกครอง รณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน โดยจัดแผนงานประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนวความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ไลน์ เฟสบุ๊ค เว็บไซต์ ฯลฯ ฝ่ายโยธา 1. ตรวจสอบสภาพถนน ผิวการจราจร ป้ายเครื่องหมายจราจร ไฟฟ้าส่องสว่าง และสัญญาณไฟจราจร โดยเฉพาะจุดที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน หากพบให้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมให้แล้วเสร็จก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ หากไม่แล้วเสร็จให้ติดตั้งป้ายเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนทราบก่อนถึงบริเวณดังกล่าว 2. ตรวจสอบจุดที่มีการก่อสร้าง พร้อมประสานผู้รับจ้างเร่งคืนผิวจราจรบริเวณพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง พร้อมปรับผิวการจราจรให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อรองรับการใช้งานช่วงเทศกาลสงกรานต์ 3. แก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางร่วม ทางแยก เช่น ติดตั้งป้ายสัญญาณเตือน ตรวจสอบสิ่งอันตรายข้างทาง (Roadside Hazards) อาทิ ระบบไฟฟ้าส่องสว่างและจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุให้มีการแก้ไขโดยการติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่างให้ครบทุกจุด ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล รณรงค์ประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามเวลาที่กำหนด โดยให้ถือปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ 1. รักษาทำความสะอาดผิวถนนและสิ่งก่อสร้างบนท้องถนนเพื่อยกระดับความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้รถใช้ถนน 2. ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตัดแต่งต้นไม้และกิ่งไม้ที่บดบังป้ายเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟจราจร ป้ายบอกทาง ไฟฟ้าส่องสว่าง และทัศนวิสัยหรือการมองเห็นในระหว่างการขับขี่ยานพาหนะหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ฝ่ายเทศกิจ 1. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ขับเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด การขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย การขับขี่ของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น 2. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ขับขี่ตรวจสอบสภาพรถก่อนออกเดินทาง รวมถึงอันตรายจากการบรรทุกผู้โดยสารในกระบะท้าย และขอความร่วมมือผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก เลี่ยงการใช้รถบรรทุกในการประกอบกิจการช่วงเทศกาลสงกรานต์ 3. จัดประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 เขตบางกอกใหญ่ (ศปถ.เขตบางกอกใหญ่) เพื่อพิจารณากำหนดแนวทาง รูปแบบ และสถานที่ในการตั้งจุดตรวจ และจุดบริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 4. ประสานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม รณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนในชุมชน/หมู่บ้านเพื่อให้ประชาชนทั่วไป ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ วินัยการจราจร รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนน ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางถนนในชุมชน ผลกระทบและความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน โดยยกกรณีตัวอย่างของคนในชุมชนที่ประสบอุบัติเหตุทางถนน เพื่อให้ประชาชนทราบและปฏิบัติ 4 ช่วงการรณรงค์ควบคุมเข้มข้น 7 วัน ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2566 ฝ่ายปกครอง จัดกำลังเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) สนับสนุนการปฏิบัติงานในการอำนายความสะดวกด้านการจราจร ฝ่ายโยธา 1. จัดเจ้าหน้าที่หน่วย BEST ช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ เครื่องมือสื่อสาร เพื่อสนับสนุนประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุ 2. จัดเตรียมสถานที่ปฏิบัติการ และระบบสาธารณูปโภค เช่น เต็นท์ ไฟฟ้า ฯลฯ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 1. ตรวจสอบสถานบริการ ร้านอาหารที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ป้องปรามการดื่มและขับ และแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำละเมิดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่บาดเจ็บ/เสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้ถึงที่สุดและเก็บข้อมูลอุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตราย โดยให้ระบุอายุและผลการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด ผู้ขับขี่ ผู้บาดเจ็บ/เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เพื่อตามไปดำเนินคดีกับร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี 2. บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กฎหมายสุรา และกฎหมายสถานบริการ 3. จัดเตรียม/ประสานความพร้อมโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน 4. จัดเตรียมยาหรือเวชภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ จัดเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการทำความสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาด กรณีเกิดเหตุก้อนกรวด เศษหิน เศษดิน เศษทราย คราบน้ำมัน ฯลฯ ปลิว ฟุ้งกระจาย หรือรั่วไหลลงบนถน ฝ่ายเทศกิจ 1. จัดจุดบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ณ ปากซอยอรุณอมรินทร์12 (ปากทางออกวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร) 2. ประสานการปฏิบัติงานร่วมกับกรมการขนส่งทางบกและสถานีตำรวจในพื้นที่สำรวจจุดจอดรถตู้โดยสารสาธารณะ ตรวจสอบสภาพรถ สมรรถนะของพนักงานขับรถ และจำนวนรอบการขับรถของพนักงานขับรถ โดยผู้ขับรถจะต้องไม่ขับเกินชั่วโมงทำงานตามที่กฎหมายกำหนด 3. จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจอาสาจราจรอำนวยความสะดวกและจัดการจราจรภายในพื้นที่ให้เป็นระเบียบ 4. จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทางถนน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 5. จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจกวดขันจัดระเบียบผู้ทำการค้าหาบเร่ - แผงลอยที่ทำการค้าบริเวณพื้นผิวการจราจร 6. ประสานการปฏิบัติงานร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลท้องที่กำหนดจุดตรวจร่วม ด่านตรวจร่วม จุดบริการ และจุดสกัดประจำชุมชน 7. ประสานงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัย หน่วยงานกู้ชีพและกู้ภัย มูลนิธิ 8. ติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนแผนปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 5. ช่วงหลังการรณรงค์ควบคุมเข้มข้น 7 วัน ระหว่างวันที่ 18 - 24 เมษายน 2566 ฝ่ายปกครอง , ฝ่ายโยธา , ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล , ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ และฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ส่งให้ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายเทศกิจ 1. จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนเดินทางอย่างปลอดภัย เน้นการบังคับ ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนให้ลดลง 2. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 โดยจัดเก็บสถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงระหว่างวันที่ 11 -17 เมษายน 2566 สรุปผลดำเนินงาน รวมรวบสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะนำเรียนผู้บริหารทราบหรือหน่วยงานที่ได้รับประสาน 6. ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย 1) เมื่อได้รับแจ้งเหตุ ฝ่ายเทศกิจประสานสถานีตำรวจนครบาลที่รับผิดชอบในพื้นที่ร่วมดำเนินการกู้ภัย ประสานหน่วยงานอื่น ๆ เช่น มูลนิธิต่าง ๆ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน นำส่งโรงพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ประสานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สถานีดับเพลิงและกู้ภัยในพื้นที่รับผิดชอบ) ดูแลความเรียบร้อยพื้นที่โดยรอบ 2) กรณีอุบัติเหตุจากการจราจรและขนส่งทางเคมี วัตถุอันตราย หรือมีการรั่วไหลของน้ำมัน สารเคมีที่มีพิษ ให้ดำเนินการประสานกรมควบคุมมลพิษ เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมบริเวณที่เกิดเหตุ ป้องกันให้ประชาชนออกห่างจากที่เกิดเหตุไปยังสถานที่ปลอดภัย และดำเนินการแก้ไขสภาพแวดล้อมให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด 7. ขั้นตอนการปฏิบัติหลังการเกิดภัย ภายหลังจากเหตุการณ์เกิดภัยยุติแล้ว ให้ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายโยธา ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ร่วมกับฝ่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ประสบภัย ฟื้นฟูสภาพผู้ประสบภัยให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว ดังนี้ 1) ปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ และนำส่งตัวเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด 2) สำรวจความเสียหาย ความต้องการของผู้ประสบภัยและจัดทำบัญชี เพื่อการช่วยเหลือและเพื่อประโยชน์ของผู้ประสบภัย 3) สำรวจความเสียหายของพื้นที่ที่เกิดภัย เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด 8. การประสานงาน 8.1 แผนนี้มีผลบังคับใช้ในการวางแผนรองรับ และเริ่มปฏิบัติในขั้นตอนการปฏิบัติก่อนเกิดภัย ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย ขั้นตอนปฏิบัติหลังการเกิดภัย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 ตั้งแต่บัดนี้จนเสร็จสิ้นภารกิจ 8.2 หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายในการตรวจสอบสถานภาพกำลังเจ้าหน้าที่ ยานพาหนะ อุปกรณ์เครื่องมือ ตลอดจนซักซ้อมการปฏิบัติ เพื่อให้พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง 8.3 เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย เป็นหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานของสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ และหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบในพื้นที่เขต รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และดำเนินการแก้ไขปัญหาตามขั้นตอนและขีดความสามารถของหน่วยงาน และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบทุกระยะ 9. การติดต่อสื่อสาร 9.1 ฝ่ายเทศกิจจัดทำทำเนียบหน่วยงาน บุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 9.2 การติดต่อประสานงานใช้โทรศัพท์ โทรสาร และวิทยุสื่อสารเป็นหลัก 9.3 ฝ่ายเทศกิจจัดระบบการสื่อสารสำรองให้พร้อมและสามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 9.4 การรายงานเหตุฉุกเฉินให้รายงานผ่านศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางกอกใหญ่ (ศปถ.เขตบางกอกใหญ่) ซึ่งตั้งอยู่ ณ ห้องฝ่ายเทศกิจ ชั้น 5 สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2457 0069 โทรสาร 0 2686 2834 10. การบังคับบัญชา 10.1 การบังคับบัญชา ให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามแผนนี้ขึ้นกับสายการบังคับบัญชาปกติ 10.2 ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตั้งอยู่ ณ ห้องฝ่ายเทศกิจ ชั้น 5 สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์และรายงานผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 46.00 (2023-04-16)
มี.ค.66 1.จัดกิจกรรมรณรงค์สนับสนุนและส่งเสริมความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางท้องถนน (สวมหมวกกันน็อก 100%) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจถึงประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนน กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ (1) โรงเรียนวัดราชสิทธาราม (2) โรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์ (3) โรงเรียนวัดนาคกลาง (4) โรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี (5) โรงเรียนวัดดีดวด (6) โรงเรียนวัดท่าพระ 2.จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจหมั่นตรวจตราจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ 3.ประสานฝ่ายโยธาดำเนินการปรับปรุงแบริเออร์ที่ชำรุดบกพร่อง 4.ประสาน สจส. ดำเนินการแก้ไขปัญหาการจราจร 5.รายงานผล 1.ประสานฝ่ายโยธาดำเนินการปรับปรุงแบริเออร์ที่ชำรุดบกพร่อง 2.ประสาน สจส. ดำเนินการแก้ไขปัญหาการจราจร 3.ผลการปฏิบัติหน้าที่ อุบัติเหตุ - (ครั้ง) , บาดเจ็บ - (คน) , เสียชีวิต - (ราย)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 38.00 (2023-04-15)
15/04/2566 : ก.พ.66 1.จัดทำโครงการบูรณาการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ และขออนุมัติโครงการฯประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 2.สำรวจ รวบรวมรายละเอียด ข้อมูลจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 3.เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานหลัก (สำนักการจราจรและขนส่ง) เพื่อกำหนดภารกิจ มอบหมายจุดเสี่ยงที่หน่วยงานรับผิดชอบและตกลงค่าเป้าหมาย เพื่อแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ จำนวน 7 แห่ง ดังนี้ 3.1 แยกโพธิ์สามต้น ถนนอิสรภาพ 3.2 แยกพาณิชยการธนบุรี 3.3 อุโมงค์ทางลอดแยกท่าพระ 3.4 เชิงสะพานคลองมอญหน้าวัดเครือวัลย์ 3.5 ปากซอยอิสรภาพ 42 3.6 ปากซอยเพชรเกษม 4 ทะลุออกปากซอยอิสรภาพ 21 3.7 ถนนวังเดิมหน้า สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่ 3.8 แยกท่าพระ (จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดจากสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.)) 4.มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ 5.จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจหมั่นตรวจตราจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ 6.รายงายผล 1.พบแบริเออร์ที่ชำรุดบกพร่อง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข 2.ผลการปฏิบัติหน้าที่ อุบัติเหตุ - (ครั้ง) , บาดเจ็บ - (คน) , เสียชีวิต - (ราย)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
ค่าเป้าหมาย : 0
ผลงานที่ทำได้ : 66
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **