ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล โทร. 5670
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2563 (5 มกราคม 2563 – 2 มกราคม 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 6,277 ราย อัตราป่วย 110.78 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5 – 14 ปีรองลงมา ได้แก่กลุ่มอายุ 15 - 34 ปี และ 0 - 4 ปี ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัดวิถีชีวิต และการเคลื่อนย้าย ของประชากร ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญ กับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการ ป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ“สานพลังปราบ ยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการ พาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสาน ความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตบางกอกน้อย โดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
50190400/50190400
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ 2 เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายในกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกรุงเทพฯ ปลอดลูกน้ำยุงลาย การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อส่งเสริมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-08-31)
31/08/2565 : 1.ดำเนินการรณรงค์ไข้เลือดออกประจำเดือนสิงหาคม จำนวน 22 ครั้ง และได้เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์เป็นเงิน 46,640 บาท 2.ดำเนินการจัดทำรายงานการรณรงค์ไข้เลือดออก จำนวน 15 ครั้ง และได้เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการเป็นเงิน 6000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2022-07-31)
31/07/2565 : 1.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือน ก.ค.65 จำนวน 16 ชุมชน 2.เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือน ก.ค. 2565 จำนวน 16 ชุมชน เป็นเงิน 33,920 บาท 3.เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการจำนวน 14 ครั้ง เป็นเงิน 5,600 บาท
** ปัญหาของโครงการ :--
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2022-06-30)
30/06/2565 : 1.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนมิถุนายน 2565 จำนวน 21 ชุมชน 2.เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนมิถุนายน 2565 21 ชุมชน เป็นเงิน 44,520 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2022-05-30)
30/05/2565 : 1.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนพฤษภาคม 2565 จำนวน 7 ชุมชน 2.เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 จำนวน 7 ชุมชน เป็นเงิน 14,840 บาท 3.เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาเพื่อสรุปและจัดทํารายงานการดําเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกและควบคุมลูกน้ำยุงลาย เป็นเงิน 6,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2022-04-27)
27/04/2565 : 1.เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนมีนาคม 2565 17 ชุมชน จำนวน 36,040 บาท 2.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 17 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-03-23)
23/03/2565 : 1.เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 15 ชุมชน จำนวน 31,800 บาท 2.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 20 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-02-24)
24/02/2565 : 1.เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนมกราคม 2565 18 ชุมชน จำนวน 38,160 บาท 2.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 15 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-01-31)
31/01/2565 : 1.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนจำนวน 6 ชุมชนและเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 6 ชุมชน จำนวน 12,720.- บาท 2.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนธันวาคม จำนวน 9 ชุมชน และเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำเดือนธันวาคม 2564 9 ชุมชน จำนวน 19,080.- บาท 3.ดำเนินกิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชนประจำเดือนมกราคม 2565 จำนวน 18 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **