ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายโยธา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครกำหนดให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองสายหลักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความเป็นอัตลักษณ์ รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยกำหนดเป้าหมายดำเนินการคลองชักพระ มีความยาว 5,180 เมตร (ฝั่งพื้นที่เขตบางกอกน้อย)จากคลองบางกอกน้อยเชื่อมกับคลองมอญตัดกับคลองบางกอกใหญ่ ทั้งนี้คลองชักพระเป็นคลองสายหลัก ที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้ได้รับผลกระทบจากอิทธิพล การขึ้นลงของระดับน้ำทะเล น้ำเหนือ น้ำทะเลหนุน ทั้งยังเป็นคลองสัญจรหลักของประชาชนในพื้นที่ ทำให้มีบ้านเรือนประชาชนดั่งเดิมที่อาศัยอยู่ริมคลองจำนวนมาก ซึ่งจากการสำรวจสภาพคลองชักพระในพื้นที่เขตบางกอกน้อย พบว่าพื้นที่ริมคลองชักพระ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีทางเดินริมคลอง ทำให้ไม่มีไฟส่องสว่างริมทาง และมีคลองสาขาหลายสาย ทำให้ประสบปัญหาในเรื่องของการจัดการขยะ และทัศนียภาพริมคลอง ไม่สวยงาม ดังนั้นเพื่อให้คลองชักพระ (ฝั่งพื้นที่เขตบางกอกน้อย) มีภูมิทัศน์ที่สะอาด เรียบร้อย สวยงาม ปลอดภัย และมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาคลองชักพระ ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย” ขึ้น
50190300/50190300
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-28)
28/09/2566 : ดำเนินการดังนี้ 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้กับชุมชน โรงเรียน และประชาชนบริเวณริมคลองชักพระและคลองสาขา อย่างต่อเนื่อง ตามกิจกรรมที่กำหนด ได้แก่ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” ให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ การจัดการน้ำเสียชุมชน และการกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ ณ ชุมชนซอยประชาร่วมใจ บริเวณริมคลองชักพระ และประชาสัมพันธ์การติดตั้งบ่อดักไขมันภายในครัวเรือนก่อนทิ้งลงคลอง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 5) รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย และจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ณ จุดให้บริการของสำนักงานเขต 7. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมรวมใจคนริมน้ำพัฒนาคลองชักพระ เขตบางกอกน้อย และจัดตั้งกลุ่มไลน์ “ชมรมรวมใจคนริมน้ำพัฒนาคลองชักพระ เขตบางกอกน้อย”
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 79.00 (2023-08-28)
28/08/2566 : ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. จัดตั้งจุดคัดแยกขยะ บริเวณจุดเช็คอิน โดยตั้งจุดบริจาคขวดตามโครงการช่วยหมอ 2. จัดกิจกรรมจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ในชุมชน 3. จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะมูลฝอย การนำเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การจัดการน้ำเสียในชุมชน 4. จัดตั้งเครือข่ายชมรมรวมใจคนริมน้ำพัฒนาคลองชักพระ 5. ตั้งจุดจับ-ปรับ และรณรงค์ห้ามทิ้งขยะลงคลอง ให้กับประชาชนบริเวณริมคลองชักพระ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-06-29)
29/06/2566 : สำนักงานเขตบางกอกน้อยดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมราวกันตก และปรับปรุงจุดเช็คอินให้มีสภาพสวยงาม ให้ประชาชนได้เข้าไปใช้งานได้ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการบริหารจัดการขยะ และเข้าเก็บขยะชิ้นใหญ่ในชุมชนบริเวณริมคลองชักพระ ทั้งนี้อยู่ระหว่างจัดตั้งเครือข่ายคนรักษ์คลองชักพระออนไลน์
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 29.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : สำนักงานเขตบางกอกน้อย ได้เข้าร่วมประชุม เพื่อรับฟังการดำเนินงานตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด โดยได้ดำเนินการ ดังนี้ 1. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) จัดส่งสำนักการระบายน้ำเรียบร้อยแล้วตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด ซึ่งสำนักการระบายน้ำกำหนดให้สำนักงานเขตบางกอกน้อย ดำเนินการปรับภูมิทัศน์คลองชักพระตามภารกิจของสำนักงานเขต 2. ดำเนินการตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ และสถานที่บริเวณคลองชักพระ ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยการทาสีราวสะพาน พัฒนาคลองตาสูบ คลองเชิงเลน คลองช่างเหล็ก และคลองขุมทรัพย์ 2 ทั้งนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่อง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับภูมิทัศน์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **