ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัญหาขยะและน้ำเสียในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นับเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สุขภาพอนามัย และจิตใจ สาเหตุหลักของปัญหามูลฝอยและน้ำเสีย เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณ มูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากอัตราการบริโภคอุปโภคของประชากรสูงขึ้น ต้องใช้น้ำในปริมาณมากขึ้นเพื่อการอุปโภคบริโภคและชำระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ แล้วปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี และสารอินทรีย์ลงสู่แม่น้ำลำคลองในปริมาณมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะบำบัดน้ำให้ใสสะอาดดังเดิม และเกินศักยภาพในการบริหารจัดการมลพิษของกรุงเทพมหานครที่ยังมีอยู่จำกัด ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และองค์ความรู้ ระบบการกำจัดขยะและบำบัด น้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ จนอาจจะไม่พร้อมรับภาระที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถิติของสำนักการระบายน้ำ เรื่อง สาเหตุปัญหาน้ำเน่าเสียในคลอง ร้อยละ 70 มีแหล่งกำเนิดมาจากชุมชนและบ้านเรือน ในขณะที่สถานประกอบการและการเดินเรือเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียเพียงร้อยละ 20 และ ร้อยละ 10 ตามลำดับ ทั้งนี้ ครัวเรือนซึ่งเป็นต้นเหตุและผู้รับผลกระทบจากปัญหายังไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการปัญหา ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียกระทบต่อสภาพแวดล้อม น้ำมีสีดำคล้ำส่งกลิ่นเหม็นเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และมีผลต่อสุขภาพที่เป็นสาเหตุอันก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ ได้แก่ ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร โรคติดต่อต่างๆที่เกิดจากสัตว์และแมลงนำโรค เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ และการดำรงชีวิต ดังนั้น การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย และปัญหาขยะอินทรีย์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาคครัวเรือนและชุมชน จากข้อมูลข้างต้น สำนักงานเขตตลิ่งชัน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนเขตตลิ่งชันมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน เพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำ และติดตามผลการดำเนินการในการแก้ปัญหาร่วมกัน โดยการจัดกิจกรรมอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่ การติดตั้งอุปกรณ์ดักไขมันในครัวเรือน การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนในการแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะและน้ำเสียชุมชนที่ยั่งยืน ลดการปล่อยของเสียลงแม่น้ำลำคลอง และร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมริมคลอง ให้สะอาดสวยงาม น่าอยู่ เป็นการพัฒนาแบบองค์รวมสามารถสร้างต้นแบบชุมชนที่มีระบบการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลดีทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม อนามัย และจิตใจ ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
50200400/50200400
2.1 เพื่อให้ความรู้ผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน 2.2 เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาขยะและน้ำเสียของชุมชน และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ 2.3 เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย และการบำบัดน้ำเสีย
กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือน จาก 43 ชุมชนๆ ละ 10 คน จำนวน 430 คน 3.1 ร้อยละ 50 ของผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือนมีความรู้ในการจัดการขยะและน้ำเสียในชุมชน 3.2 ร้อยละ 50 ของผู้นำชุมชน/แกนนำครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะและน้ำเสียของชุมชน 3.3 ร้อยละ 10 ของชุมชนกลุ่มเป้าหมายมีชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย และการจัดการน้ำเสีย
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : โครงการไม่สามารถชี้วัดและประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการได้ เนื่องจากระยะเวลา และกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ จึงขอยกเลิกโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :โครงการไม่สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการได้ เนื่องจากระยะเวลา และกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ จึงขอยกเลิกโครงการ
** อุปสรรคของโครงการ :กลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯต้องปฏิบัติงานโครงการอื่นๆ ที่ต้องปฏิบัติงานในช่วงเวลาเดียวกัน
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-20)
20/06/2566 : 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามแผน 3. จัดทำหนังสือทบทวนโครงการ 4. จัดทำหนังสือทบทวนการใช้งบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-24)
24/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามแผน 3. จัดทำหนังสือทบทวนโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-25)
25/03/2566 : 1. จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-22)
22/02/2566 : ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : การจัดทำแผนการปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : 1. ขออนุมัติโครงการฯ 2. จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 98.41
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **