ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
น.ส.ณัฐพิมล สิริภัครัตกุล โทร 6628
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะภาษามิใช้เป็นเพียงเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการและเพื่อประกอบอาชีพเท่านั้น ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในกาติดต่อสื่อสาร การเจรจาต่อรองเพื่อการแข่งขัน ความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้คน เนื่องจากการมีความรู้ ความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติจะทำให้สามารถปฏิบัติตนต่อกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความเข้าใจและภาคภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมไทย สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่สังคมโลกได้ ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือ ภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากกว่าหนึ่งภาษา เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขแมร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปิโน ภาษาฮินดี และภาษาทมิฬ นอกจากนั้นยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา (ฮินดี, อูรดู, ทมิฬ, เบงกาลี ฯลฯ) การสอนภาษาต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรได้กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษในทุกช่วงชั้น ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาในการจัดทำรายวิชาให้นักเรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีนโยบายในการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้เลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นอีก 1 ภาษา โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเขตภาษีเจริญ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการสอนภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 โรงเรียน
50210700/50210700
1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจภาษาญี่ปุ่นและวัฒนธรรมภาษาญี่ปุ่น สามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสารได้ตามระดับชั้นที่เรียน 2. เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ด้านปริมาณ 1. โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสอนภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ) 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 3 ห้องเรียน ประมาณ 120 คน ด้านคุณภาพ 1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชั้นเรียน 2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ทางภาษาที่เรียนในระดับพื้นฐานที่เพียงพอต่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-09-30)
30/09/2565 : ดำเนินการโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2022-08-29)
29/08/2565 : ครูสอนภาษาญี่ปุ่นดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนสิงหาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2022-07-27)
27/07/2565 : ครูสอนภาษาญี่ปุ่นดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนกรกฎาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2022-06-30)
30/06/2565 : ครูสอนภาษาญี่ปุ่นดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนมิถุนายน 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-05-29)
29/05/2565 : ครูสอนภาษาญี่ปุ่นดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนพฤษภาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2022-04-28)
28/04/2565 : อยู่ระหว่างปิดภาคเรียนที่ 2/2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2022-03-25)
25/03/2565 : ครูสอนภาษาญี่่ปุ่นเริ่มดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนมีนาคม 2565 และโรงเรียนเบิกจ่ายค่าตอบแทนในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-02-26)
26/02/2565 : ครูสอนภาษาญี่่ปุ่นเริ่มดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และโรงเรียนเบิกจ่ายค่าตอบแทนในเดือนมกราคม 2565 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2022-01-27)
27/01/2565 : ครูสอนภาษาญี่่ปุ่นเริ่มดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนมกราคม 2565 และโรงเรียนเบิกจ่ายค่าตอบแทนในเดือนธันวาคม 2564 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-12-22)
22/12/2564 : ครูสอนภาษาญี่่ปุ่นเริ่มดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนธันวาคม 2564 และโรงเรียนเบิกจ่ายค่าตอบแทนในเดือนพฤศจิกายน 2564 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-11-25)
25/11/2564 : ดำเนินการจัดหาบุคคลภายนอกเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนเรียบร้อยแล้ว ครูสอนภาษาญี่ปุ่นเริ่มดำเนินการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียนในเดือนพฤศจิกายน 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-10-31)
31/10/2564 : โครงการได้รับการอนุมัติและได้รับเงินประจำงวดเเล้ว ดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนในสังกัดและดำเนินการจัดหาบุคคลภายนอกเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **