กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50240000-7037
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : (2564)
ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวคันธริยา โสชาติ เบอร์โทร. 6819-20
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2
หลักการและเหตุผล click to expand contents
ด้วยกรุงเทพมหานครได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ซึ่งมีการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ในภาพรวมของกรุงเทพมหานครพบว่า สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยด้านอาหารดีขึ้นโดยลำดับ และเพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืน และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมงานด้านอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานครให้มีความต่อเนื่อง ทั้งยังส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ ได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัย ในพื้นที่ ให้ได้รับการคุ้มครองสุขภาพ จากการบริโภคอาหารปลอดภัย
50240400/50240400
วัตถุประสงค์ของโครงการ click to expand contents
3.1.1 เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐาน ด้านสุขลักษณะในสถานประกอบการอาหาร 3.1.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ในสถานประกอบการอาหาร 3.1.3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจ ในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภั
เป้าหมายของโครงการ click to expand contents
3.2.1 ตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค ร้อยละ 95 3.2.2 ตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย ร้อยละ 100 3.2.3 สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ร้อยละ 100
สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ click to expand contents
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
ผลการดำเนินงาน click to expand contents
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-21)
21/09/2564 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป 2. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคปนเปื้อน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากตลาดในพื้นที่ รวมจำนวน 104 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2021-09-01)
01/09/2564 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป 2. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หายาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักสด ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากตลาดสดในพื้นที่ รวมจำนวน 104 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : 1. ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างผักสดจากตลาดในพื้นที่ จำนวน 94 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างจากผักสด 2. ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-06-25)
25/06/2564 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป 2. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคปนเปื้อน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากตลาดและร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่ รวมจำนวน 109 ตัวอย่าง 3. เก็บตัวอย่างอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 16 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์ซ้ำจากตลาด จำนวน 2 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-05-24)
24/05/2564 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ กรุงเทพมหานคร ระดับดี 2. เก็บตัวอย่างอาหารร่วมกับ บริษัท บูโร เวอริทัส เอคิว แล็บ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ จากห้างบิ๊กซี สาขาบางปะกอก รวมจำนวน 21 ตัวอย่าง 3. เก็บตัวอย่างอาหาร (ผัก) เพื่อตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด ณ ตลาดบางปะกอก จำนวน 94 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-04-26)
26/04/2564 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท 2. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคปนเปื้อน ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากสถานประกอบการอาหาร ในพื้นที่ ตลาดบางปะกอก จำนวน 97 ตัวอย่าง 3.ตรวจประเมิน ติดตาม กำกับมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แห่ง
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-03-25)
25/03/2564 : 1. ตรวจสอบแนะนำสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด มินิมาร์ท และซูเปอร์มาร์เก็ต ในการต่ออายุป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประจำเดือน มีนาคม 2564 2. ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจแนะนำด้านการสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบการอาหาร ในสถานประกอบการอาหาร คือ ตลาดสด ร้านอาหาร มินิมาร์ท และซูเปอร์มาร์เก็ต โดยข้าราชการและลูกจ้าง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ออกปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันวันละ 7 คน ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 16.00 น. – 21.00 น. รวมจำนวน 4 ครั้ง 3. ตรวจสอบแนะนำโรงอาหารในโรงเรียนและสถานศึกษา พร้อมทำการเก็บตัวอย่างอาหารซ้ำ กรณีตัวอย่างอาหารพบการปนเปื้อน จำนวน 9 แห่ง 4. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีและเชื่อโรค
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-02-25)
25/02/2564 : 1.ตรวจสอบแนะนำสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด มินิมาร์ท และซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาให้ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 43 ราย 2.ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจแนะนำด้านการสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบการอาหาร ในสถานประกอบการอาหาร คือ ตลาดสด ร้านอาหาร มินิมาร์ท และซูเปอร์มาร์เก็ต โดยข้าราชการและลูกจ้าง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ออกปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันวันละ 5 คน ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 17.00 น. – 21.00 น. รวมจำนวน 10 ครั้ง 3.ตรวจประเมินการสุขาภิบาลอาหารโรงอาหารในโรงเรียนและสถานศึกษาในพื้นที่ ด้านกายภาพของโรงอาหาร สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร/น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้สัมผัสอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรค ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Test kit น้ำยา SI2 และ อ.11 จำนวน 348 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ : -
** อุปสรรคของโครงการ : -
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-27)
27/01/2564 : 1. ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจแนะนำด้านการสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบการอาหาร ในสถานประกอบการอาหาร คือ ตลาดสด ร้านอาหาร มินิมาร์ท และซูเปอร์มาร์เก็ต โดยข้าราชการและลูกจ้าง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ออกปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันวันละ 5 คน ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 17.00 น. – 21.00 น. รวมจำนวน 10 ครั้ง โดยการตรวจแนะนำด้านกายภาพ สุ่มตรวจคุณภาพอาหารและน้ำ ภาชนะอุปกรณ์ มือผู้สัมผัสอาหาร ทั้งทางด้านเคมีและชีวภาพ ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น Test kit 2. ตรวจแนะนำสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ทในพื้นที่ ให้มีการพัฒนาด้านการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้ได้ป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ต่อไป
** ปัญหาของโครงการ : - เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดทำให้ผู้ประกอบการอาหารบางรายยังไม่สามารถอบรมเพื่อขอรับบัตรผู้สัมผัสอาหารได้
** อุปสรรคของโครงการ : -ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-24)
24/12/2563 : 1. ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะทางกายภาพ ของสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ เช่น ร้านจำหน่ายอาหาร ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และมินิมาร์ท 2. เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจสอบหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักสด ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) จากตลาดในพื้นที่ รวมจำนวน 110 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ : - ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ : - ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-24)
24/11/2563 : ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอาหารมีการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self study) เพื่อให้ได้บัตรผู้สัมผัสอาหาร และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-26)
26/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ขออนุมัติโครงการ/จัดทำคำสั่งและแผนการปฏิบัติงาน/ขออนุมัติเงินประจำงวด
** ปัญหาของโครงการ : ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ : ไม่มี
------------------&&&--------------------
แผนการดำเนินงานฯ click to expand contents
สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ click to expand contents
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 90.37
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
(1 - 4)
(ร้อยละ)
(* 2.1 / 2.2 *)

100 / 100

100 / 100

0 / 0

0 / 0
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **