ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายพงศ์ภานุ กรนุ่ม ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 ประกอบกับวิสัยทัศน์ของสำนักพัฒนาสังคม "พัฒนาชุมชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความอยู่ดี กินดี อย่างยั่งยืน" มุ่งเน้นให้ชุมชนสามารุรวมตัวเป็นกลุ่ม มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพและความสามารถในการจัดการปัญหาชุมชน บนหลักการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาตนเอง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่กัน เพื่อพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง การร่วมมือร่วมใจมีจิตสาธารณะ ดังนั้น การดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนในกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้นำชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชุมชน หากชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง เสียสละ มีความรู้ความสามารถจะทำให้พัฒนาชุมชนไปสู่ทิศทางที่ต้องการ รวมถึงกลุ่มหรือชมรมภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นภาคีด้านการพัฒนาชุมชน และมีส่วนช่วยให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้นำชุมชนและกลุ่มหรือชมรมภาคประชาสังคมจึงสมควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การอบรมผู้นำชุมชนและภาคีด้านการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้าใจถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ ตลอดจนให้ความรู้ด้านหลักการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสม รวมถึงการศึกษาดูงานในองค์กรเข้มแข็ง เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจในการนำกลับมาปรับใช้กับชุมชนของตนเอง จึงเป็นสิ่งที่สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะมีความประสงค์จะดำเนินการอย่งต่อเนื่องสม่ำเสมอ เนื่องจากผู้นำชุมชนและภาคีด้านการพัฒนาชุมชนเปรียบเสมือนกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วม การประสานงาน ทั้งนี้คาดหวังให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสามัคคี และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนต่อไป
50241000/50241000
1. เพื่อให้ผู้นำชุมชนและกลุ่มชมรมต่าง ๆ ได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาชุมชน การรวมกลุ่มและบริหารจัดการกลุ่ม 2. เพื่อให้ผู้นำชุมชนและกลุ่มชมรมต่าง ๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่องานด้านการพัฒนาชุมชน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างความสามัคคีในชุมชน 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้และมีประสบการณ์จากการสัมมนาศึกษาดูงานและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
จัดอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน แบบพักค้าง จำนวน 2 วัน 1 คืน ให้กับกรรมการชุมชน กลุ่มชมรมหรือเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย รุ่นที่ 1 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำวน 155 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 5 คน รุ่นที่ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 155 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 5 คน รุ่นที่ 3 ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 155 คน เจ้าหนา้ที่ดำเนินการ จำนวน 5 คน รวม 3 รุ่น มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 480 คน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : งบประมาณที่ใช้ จำนวน 1,324,600 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-20)
20/03/2566 :ดำเนินการจัดการสัมมนาฯ รุ่นที่ 3 เมื่อวันที่ 7-8 มีนาคม 2566 ดำเนินการเบิกจ่ายเงิน ชดใช้เงินยืม และจัดทำรายงานสรุปการจัดการสัมมนา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 89.00 (2023-02-23)
23/02/2566 : ดำเนินการจัดสัมมนา รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 และเตรียมการจัดสัมมนารุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณและชดใช้เงินยืม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-01-24)
24/01/2566 : อยู่ระหว่างขอเงินงวด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-04)
04/01/2566 : ตุลาคม 2565 เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ พฤศจิกายน 2565 ขออนุมัติเงินประจำงวด ธันวาคม 2565 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **