ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายในการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 50240000-7131

สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่า โรคไข้เลือดออกเป็น ๑ ใน ๕ ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี ๒๕๖๓ (๕ มกราคม ๒๕๖๓ – ๒ มกราคม ๒๕๖๔) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน ๖ ,๒๗๗ รายอัตราป่วย ๑๑๐.๗๘ ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง ๕ – ๑๔ ปี รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ ๑๕ – ๓๔ ปี และ ๐ – ๔ ปี ตามลำดับ ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัด วิถีชีวิตและการเคลื่อนย้ายของประชาชาน ทำให้ ไม่สามารถจัดการกับภาชนะและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมายการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรคซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ ได้มีการรับรองมติ “สารพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน ทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการ บูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้นเพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป

50240400/50240400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมายของโครงการ

ดำเนินกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 28 ชุมชน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-21)

100.00

21/09/2566 : กลุ่มงานสุขาภิบาลทั่วไป ดำเนินการตามโครงการ ดังนี้ 1. ดำเนินกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ครบจำนวน 28 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100 2. ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะปลอดลูกน้ำยุงลายและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-21)

90.00

21/08/2566 : การติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรม

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-07-24)

85.00

24/07/2566 : การติดตามและประเมินผล

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-21)

80.00

21/06/2566 : ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียน จำนวน 8 ชุมชน ได้แก่ 1. ชุมชนรุ่งเรือง 2. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 29 3. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 31 4. ชุมชนรัตนจีนะ 5. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 36 6. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 60 7. ชุมชนเบอร์ลี่ 8. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 58

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-05-25)

68.00

25/05/2566 : ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเลียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ 1. ชุมชนแจงร้อน 2. ชุมชนร่วมใจ 3. ชุมชนสถาพร 4. ชุมชนบูรณะสุดเขต 5. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 42

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 61.00 (2023-04-24)

61.00

24/04/2566 : ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ 1. ชุมชนศาลาร่วมใจพัฒนา 2. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 36 3. ชุมชนสมบูรณ์ทรัพย์ 4. ชุมชนรุ่งอรุณ 5. ชุมชนรวมน้ำใจ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 54.00 (2023-03-30)

54.00

30/03/2566 : ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ 1. ชุมชนหมู่ 7 ราษฎร์บูรณะ 2. ชุมชนตึก 60 ปี 3. ชุมชนประคองมิตร 4. ชุมชนหมู่ 3 ราษฎร์บูรณะ 5. ชุมชนสุขสวัสดิ์ 29

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2023-02-24)

47.00

24/02/2566 : ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดสน ชุมชนรวมน้ำใจ ชุมชนร่วมใจ และชุมชนอนามัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 41.00 (2023-01-26)

41.00

26/01/2566 : เดือนมกราคม 2566 ดำเนินกิจกรรมกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนรุ่งเรือง ชุมชนบุญมาก ชุมชนสุขสวัสดิ์ 31 ชุมชนมิ่งประชา และชุมชนรัตนจีนะ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 34.00 (2023-01-18)

34.00

18/01/2566 : 1. เดือนตุลาคม 2565 ขออนุมัติโครงการ 2. เดือนพฤศจิกายน 2565 จัดทำคำสั่งและแผนดำเนินการ และดำเนินกิจกรรมกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนสุขสวัสดิ์ 58 ชุมชนซอยสถาพร ชุมชนเบอร์ลี่ ชุมชนราษฎร์บูรณะ 39 และชุมชนสุขสวัสดิ์ 9 3. เดือนธันวาคม 2565 ดำเนินกิจกรรมกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนแจงร้อน ชุมชนบูรณะสุดเขต ชุมชนซอยหมอผึ้งอุทิศ ชุมชนสุขสวัสดิ์ 42 และชุมชนสุขสวัสดิ์ 60

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำคำสั่งและแผนดำเนินการ
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินกิจกรรมกิจกรรมการจัดพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจดทะเบียนพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ
:80.00%
เริ่มต้น :2022-11-15 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-15 00:00:00
ขั้นตอน 4
:การติดตามผลและประเมินผล
:90.00%
เริ่มต้น :2022-10-20 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-20 00:00:00
ขั้นตอน 5
:การสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
:100.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50240000-7131

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50240000-7131

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5024-971

ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
30.55

0 / 0
2
52.00

0 / 0
3
74.23

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **