ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและการขยายตัวของประชากรทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมากมายอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับกรมควบคุมมลพิษและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้บูรณาการทำงานร่วมกันในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียอันตราย ตามแนวทาง Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาการจัดการของเสียอันตรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและเกิดการพัฒนาศักยภาพ การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน ซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร จึงได้มอบหมายนโยบายในการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเสริมสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อาทิ ชุมชน สถานศึกษา สถานประกอบการ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยจากของเสียอันตราย ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดภาระของกรุงเทพมหานครที่ต้องนำไปกำจัด สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้นทำให้เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนนับเป็นพื้นฐานของการพัฒนา สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ โดยฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรม “เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บมูลฝอยอันตราย” เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทิ้งขยะ โดยเฉพาะขยะอันตรายซึ่งอาจนำไปรีไซเคิล (Recycle) และการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปบำบัด กำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะที่จัดเก็บลดลงได้รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะและการดูและรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน
50240600/50240600
2.1 เพื่อเสริมสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยจากของเสียอันตราย ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนแยกทิ้งขยะอันตราย ซากผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะทั่วไป 2.3 เพื่อให้การบริการจัดเก็บขยะตรงตามเวลาและเป็นไปตามประเภทของขยะที่นัดไว้และประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการ 2.4 เพื่อดำเนินการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน
3.1 ชุมชน 29 ชุมชน โรงงานและสถานประกอบการ 492 แห่ง ตลาด 3 แห่ง สถานที่ราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10 แห่ง องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ 3.2 ร้อยละของปริมาณมูลฝอยอันตรายที่สามารถคัดแยกได้จากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2565 ร้อยละ 15
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-21)
21/08/2566 : จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 420 กิโลกรัม หรือ 0.42 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี -
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 84.00 (2023-07-23)
23/07/2566 : จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 6,360 กิโลกรัม หรือ 6.36 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี -
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 77.00 (2023-06-20)
จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 420 กิโลกรัม หรือ 0.42 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี -
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 69.00 (2023-05-27)
27/05/2566 : จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 550 กิโลกรัม หรือ 0.55 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี -
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 62.00 (2023-04-29)
29/04/2566 : จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 740 กิโลกรัม หรือ 0.74 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี -
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 56.00 (2023-03-29)
29/03/2566 : จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 700 กิโลกรัม หรือ 0.70 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 950 กิโลกรัม หรือ 0.95 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-22)
22/01/2566 : ตุลาคม 2565 อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 760 กิโลกรัม หรือ 0.76 ตัน พฤศจิกายน 2565 อยู่ระหว่าง จัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 890 กิโลกรัม หรือ 0.89 ตัน ธันวาคม 2565 อยู่ระหว่างจัดเก็บมูลฝอยอันตรายจากกลุ่มเป้าหมายคัดแยกและนำส่งสำนักสิ่งแวดล้อม เพื่อกำจัดตามหลักวิชาการ ได้ปริมาณ 900 กิโลกรัม หรือ 0.90 ตัน
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการดำเนินการส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะตามประเภทแหล่งกำเนิด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **