ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 90
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นแนวทางการพัฒนาของกรุงเทพมหานครที่จะช่วยให้ประชาชนมีอาชีพมีงานทำ การส่งเสริมอาชีพจะเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในการพัฒนาอาชีพของตนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งการประกอบอาชีพการเกษตร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ไม้ผล สวนผักและยังมีกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และชุมชนที่มีเวลาว่างและสนใจเทคโนโลยีการเกษตร และเขตดอนเมืองมีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเขตดอนเมือง จำนวน 1 ศูนย์ มีหน้าที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมสาธิตพัฒนาด้านการเกษตรของเขตดอนเมือง โดยมีคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริการฯ ดังนั้น การพัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เขตดอนเมือง เพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตรรณรงค์ให้เกษตรกรและชุมชน มีแนวทางการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ลดการใช้สารเคมีส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตร สำนักงานเขตดอนเมือง จึงจัดโครงการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อนำความรู้มาปรับใช้กับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันได้
50251000/50251000
เพื่อพัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเขตดอนเมืองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบครบวงจร
พัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเขตดอนเมืองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร จำนวน 1 ศูนย์ ได้แก่ 1. จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรเขตดอนเมือง จำนวน 4 ครั้ง จำนวน 15 คน 2. จัดทำแปลงสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษในแปลง ในกระถางและวัสดุเหลือใช้ 3. จัดการเผยแพร่การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 4. กลุ่มเกษตรกร เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ชุมชนสำนักงานเขตดอนเมือง จำนวน 80 คน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-23)
23/08/2566 : วันที่ 17 สิงหาคม 2566 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโลโยยีการเกษตร ครั้งที่ 3
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 72.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : เดือนมิถุนายน ดำเนินการลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำในการปลูกผัก และลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสำมะโนการเกษตร เพื่อรวบรวมข้อมูลแและใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-23)
23/05/2566 : ลงพื้นที่ส่งเสริมการเกษตร ณ ชุมชนปิ่นเจริญ 2 และอยู่ระหว่่างดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารศุนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : ดำเนินการจัดซื้อวัสดุปรับปรุงศูนย์และวัสดุการเกษตร จำนวน 27 รายการ เป็นเงิน 48,880 บาท และจัดซื้อวัสดุสำนักงาน จำนวน 13 รายการ เป็นเงิน 8,000 บาท เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-30)
30/03/2566 : เดือนตุลาคม 2565 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2565 ลงพื้นที่ส่งเสริมการทำการเกษตร สอบถามปัญหาการทำการเกษตร และให้คำแนะนำด้านการทำการเกษตรในชุมชน ซึ่งทางชุมชนได้จัดทำแปลงปลูกผักของชุมชนจากการประยุกต์ใช้วัสดุต่างๆ ร่วมกับการจัดทำปุ๋ยหมักวงบ่อซีเมนต์ และมีการขยายแหนแดง เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด เพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่พืช ส่งเสริมชุมชนทำการเกษตรให้มีแหล่งอาหารของชุมชนที่ยั่งยืน ณ ชุมชนดอนเมืองวิลล่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2565 ลงพื้นที่ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัว และมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวชนิดต่างๆ ให้แก่ชุมชน และโรงเรียน ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง คะน้า กระเจี๊ยบเขียว มะเขือ มะละกอ ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก โหระพา และกะเพรา เพื่อจัดทำแปลงปลูกผักสวนครัว และสวนเกษตรของโรงเรียน ณ ชุมชนเปรมประชา และโรงเรียนเปรมประชา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2565 ลงพื้นที่เกษตรสอบถามปัญหาการทำการเกษตร ให้คำแนะนำด้านการทำการเกษตรในชุมชน และมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวชนิดต่างๆ ซึ่งทางชุมชนได้มีการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่หลากหลายชนิด และมีการเลี้ยงเป็ด ไก่พื้นเมือง เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนต่อไป ณ ชุมชนร่วมใจพัฒนา กรป.กลาง เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตดอนเมือง ซึ่งทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัว เพาะเห็ดชนิดต่างๆ และแนะนำให้เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจ ณ ชุมชนร่วมมิตรแรงศรัทธา สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 93.50 เดือนพฤศจิกายน 2565 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 ลงพื้นที่ทำการเกษตรชุมชนในพื้นที่เขตดอนเมือง ร่วมกับคณะอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศึกษาดูงานการทำการเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษ การทำสวนผักคนเมือง สอบถามขั้นตอนการปลูก การดูแลรักษาผลผลิต เก็บเกี่ยวผลผลิต รวมถึงตลาดที่จำหน่ายผลผลิต เพื่อบริหารจัดการกลไกการสร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ณ ชุมชนปิ่นเจริญ 1 ชุมชนดอนเมืองวิลล่า และชุมชนบูรพา 7 สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 91.00 เดือนธันวาคม 2565 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2565 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ครั้งที่ 1 เพื่อพูดคุยแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ปี 2566 พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านการเกษตรต่างๆ สอบถามปัญหาการผลิตพืช และให้คำแนะนำด้านการทำการเกษตรในชุมชน ณ ชุมชนปิ่นเจริญ 1 สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 93.17 เดือนมกราคม 2566 เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 ลงพื้นที่เกษตรในพื้นที่เขตดอนเมือง เพื่อส่งเสริมและให้คำแนะนำด้านการทำการเกษตรในชุมชน สอบถามปัญหาการทำการเกษตร และให้คำแนะนำการปรับปรุงพื้นที่ทำการเกษตร รวมทั้งขยายผลการผลิตเมล็ดพันธุ์ จากเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ชุมชนบูรพา 7 สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 88.33 เดือนกุมภาพันธ์ 2566 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 ลงพื้นที่เกษตรในพื้นที่เขตดอนเมือง สอบถามปัญหาการทำการเกษตร และให้คำแนะนำด้านการทำการเกษตรในชุมชน พร้อมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนในการทำการเกษตร ณ ชุมชนพิพรพงษ์ 1 สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 89.00 เดือนมีนาคม 2566 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2566 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการปลูกพืชผักเกษตรปลอดสารพิษ 200 แปลง 50 เขต (เฉลี่ยเขตละ 4 แปลง) ร่วมกับหัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมเกษตรกรรม สำนักพัฒนาสังคม และเจ้าหน้าที่ ซึ่งโครงการเป็นนโยบายของ นายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการให้ประชาชนปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานในครัวเรือน แบ่งปันในชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ปลูกหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปลูกและดูแลผลผลิต ณ ชุมชนแหลมทองนิเวศน์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2566 ลงพื้นที่แปลงปลูกผักปลอดสารพิษตามโครงการปลูกพืชผักเกษตรปลอดสารพิษ 200 แปลง และการดำเนินงาน CITY SAND BOX 3 เกษตรในเมือง เพื่อบูรณาการพื้นที่สุขภาวะ ความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย ลดระยะทางในการกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภค ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สอบถามปัญหาการทำการเกษตร และให้คำแนะนำด้านการเกษตร พร้อมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวชนิดต่างๆ และสารชีวภัณฑ์ให้แก่ชุมชน ณ ชุมชนปิ่นเจริญ 1 สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการคิดเป็นร้อยละ 90.33 การดำเนินงาน จัดซื้อวัสดุปรับปรุงศูนย์และวัสดุการเกษตร จำนวน 27 รายการ เป็นเงิน 48,880 บาท จัดซื้อวัสดุสำนักงาน จำนวน 13 รายการ เป็นเงิน 8,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **