ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร ได้กำหนดทิศทางตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2570) ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย เป้าหมายที่ 1.6.5 ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สอดคล้องกับแผนพัฒนาสำนักอนามัย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรณรงค์สร้างความรู้ ความตระหนักในประเด็นเชิงสุขภาพ ตามสถานการณ์และบริบทมหานครให้กับประชาชนในวงกว้าง พร้อมยกเป็นประเด็นสุขภาพ ระดับมหานคร กรุงเทพมหานครจึงได้มีการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเพื่อควบคุม และกำหนดหลักสูตรอบรมด้านสุขลักษณะพื้นฐาน สำหรับผู้ค้าอาหาร กำหนดมาตรการในการตรวจสอบ แนะนำ การกำหนดหลักสูตรอบรม ด้านการสุขาภิบาลอาหาร ตลอดจนการมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ให้กับผู้ค้าที่ผ่านเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารสามารถพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังพบว่าผู้ประกอบการบางรายยังไม่ทราบกฎหมายและเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาปรับปรุงด้านสุขาภิบาลอาหาร ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในเรื่องอาหารปลอดภัยภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย บรรลุวัตถุประสงค์และดำเนินการไปสู่เป้าหมายเขตอาหารปลอดภัย สำนักงานเขตลาดพร้าว จึงถือเป็นนโยบายที่สำคัญที่จะคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีเป้าประสงค์ให้กับประชาชนกรุงเทพมหานคร มีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของอาหารที่รับประทาน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคโดยดำเนินการตามภารกิจ 4 ประการ ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีในอาหารและน้ำ การจัดอบรมผู้ประกอบปรุง ผู้สัมผัสอาหาร และอาสาสมัครอาหารปลอดภัยการสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานครในเรื่องอาหารปลอดภัยภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย บรรลุวัตถุประสงค์ ดำเนินการไปสู่เป้าหมายเขตอาหารปลอดภัย สำนักงานเขตลาดพร้าวจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยขึ้น
50270400/50270400
2.1 เพื่อให้สถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สามารถรับป้ายมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดจิตสำนึกในการประกอบปรุงและจำหน่ายอาหาร ที่สะอาด ปลอดภัย มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 2.3 เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร และมีความรู้ ความเข้าใจ มีทางเลือก ในการซื้ออาหารที่ปลอดภัยบริโภค 2.4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรทุกภาคส่วน เช่น ภาคเอกชน หน่วยงาน/ สถาบันต่างๆ ในการดำเนินการตามโครงการฯ ในรูปแบบและโอกาสต่างๆ
3.1 ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ร้อยละ 100 3.2 ร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ระดับดีมาก มีการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service) ร้อยละ 20 3.3 ร้อยละของสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ระดับดีเลิศ มีการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Service Plus) ร้อยละ 10
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-08)
08/09/2566 : การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนสิงหาคม 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 197 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 1,412 ตัวอย่าง - เดือนกันยายน 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 11 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 75 ตัวอย่าง การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนกันยายน 2566 ไม่ได้ใช้งบประมาณ เสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-16)
การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนมิถุนายน 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 59 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 642 ตัวอย่าง - เดือนกรกฎาคม 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 162 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 1,118 ตัวอย่าง - เดือนสิงหาคม 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 100 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 811 ตัวอย่าง (ข้อมูล ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2566) การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนมิถุนายน 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 2,455.-บาท ค่าดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 875.-บาท - เดือนกรกฎาคม 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,413.-บาท ค่าดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 8,250.-บาท - เดือนสิงหาคม 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 1,861.-บาท สรุปการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - งบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 92,800.-บาท - งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง จำนวน 92,560.-บาท - ยอดเงินคงเหลือ จำนวน 240.-บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-23)
การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนพฤษภาคม 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 48 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 436 ตัวอย่าง การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนพฤษภาคม 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,032.-บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-04-21)
การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนเมษายน 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 19 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 293 ตัวอย่าง การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนเมษายน 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,585.-บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-22)
การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนมีนาคม 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 61 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 495 ตัวอย่าง การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนมีนาคม 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,670.-บาท
** ปัญหาของโครงการ :จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-17)
การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 40 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 429 ตัวอย่าง การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 2,584.-บาท ค่าดำเนินการกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 10,000.-บาท ค่าอาหารทำการนอกเวลา จำนวน 3,000.- บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-01-18)
การดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร - เดือนตุลาคม 2565 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 23 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 311 ตัวอย่าง - เดือนพฤศจิกายน 2565 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 57 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 667 ตัวอย่าง - เดือนธันวาคม 2565 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 41 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 423 ตัวอย่าง - เดือนมกราคม 2566 ตรวจสถานประกอบการ จำนวน 49 แห่ง ตรวจคุณภาพอาหารทั้งหมด 333 ตัวอย่าง การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย - เดือนตุลาคม 2565 ไม่ได้ใช้งบประมาณ - เดือนพฤศจิกายน 2565 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,005.-บาท ค่าดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จำนวน 875.-บาท ค่าตอบแทนบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 19,560.-บาท ค่าอาหารทำการนอกเวลา จำนวน 2,000.- บาท - เดือนธันวาคม 2565 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,255.-บาท ค่าอาหารทำการนอกเวลา จำนวน 9,000.- บาท - เดือนมกราคม 2566 ค่าตัวอย่างอาหาร จำนวน 3,140.-บาท ค่าอาหารทำการนอกเวลา จำนวน 9,000.- บาท
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี -ไม่มี -ไม่มี -ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี -ไม่มี -ไม่มี -ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **