ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายโยธา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
คลองในอดีตนั้นมีบทบาทสำคัญมาก ตลอดคลองทั้งสองฝั่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของประชาชน ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร เป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งกำเนิดศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทางน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่จากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนไทย มีการใช้น้ำจากระบบประปา ปลูกสร้างบ้านเรือนรุกล้ำคู คลอง รวมถึงการถมพื้นที่ริมน้ำ ทำให้แหล่งน้ำต่างๆ กลายเป็นเพียงที่รองรับและระบายน้ำฝน ไม่ได้รับการดูแลประสบกับปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ปัญหาขยะ น้ำตื้นเขิน เนื่องจากคลองเป็นที่รองรับน้ำเสีย ของเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น บ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ตลาด และสถานประกอบการ ที่ทิ้งลงมาโดยไม่ได้รับการบำบัด ทำให้ไม่สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ อีกทั้งยังทำให้สูญเสียความสวยงามของทัศนียภาพ ริมฝั่งคลอง ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนเดิมที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ หรือเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชน กรอบและทิศทางการพัฒนากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2566 สอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลและผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การระบายน้ำ การฟื้นฟูคุณภาพน้ำในคูคลอง การอนุรักษ์คูคลอง และการปรับปรุงภูมิทัศน์คูคลอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของสำนักงานเขตบางซื่อ ในการพัฒนาคลองเปรมประชากร ที่มีระยะความยาวคลองประมาณ 2,650 เมตร และคลองบางซื่อ ที่มีความยาวประมาณ 2,000 เมตร สำนักงานเขตบางซื่อ ได้มีการประชุมร่วมกับภาคประชาสังคมในพื้นที่พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะร่วมปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ เพื่อจัดการปัญหาขยะในลำคลอง ปัญหาน้ำเน่าเสียและเพิ่มความสวยงามของทัศนียภาพริมคลองซึ่งสำนักงานเขตบางซื่อก็มีความประสงค์ที่จะให้ประชาชนตระหนักหรือเห็นความสำคัญของการพัฒนาและเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิด ความรู้ ความต้องการที่มาจากประชาชน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำไปสู่การพัฒนาที่มาจากการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง จากสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ สำนักงานเขตบางซื่อจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนาคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อ โดยส่งเสริมให้หน่วยงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อมและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการรักษาแม่น้ำลำคลองให้กับประชาชนทุกช่วงทุกวัยโดยเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงผู้สูงอายุ โดยการทำกิจกรรมจะเป็นการบูรณาการร่วมกัน ในทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อ ให้สะอาด ประชาชนมีสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี มีการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม และมีการสร้างจุด Check in รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน ซึ่งจะเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของพื้นที่เขตบางซื่อต่อไป
50310300/50310300
๒.1 เพื่อปรับภูมิทัศน์คลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาดและปลอดภัย 2.2 ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ, ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ ไฟฟ้าส่องสว่าง ราวกันตกริมคลอง สะพานข้ามคลอง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 ภูมิทัศน์บริเวณคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ มีความสวยงามร่มรื่นเป็นระเบียบเรียบร้อยมีไฟฟ้าส่องสว่าง และมีจุด Check-in ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในเขตบางซื่อ 2.4 มีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” เป็นต้น 2.5 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง อย่างน้อยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียม การเก็บขนมูลฝอย 2.6 จัดทำตะแกรงดักขยะบริเวณคลองสาขา ที่เชื่อมโยงกับคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ เพื่อลดปริมาณขยะในคลอง
3.1 พื้นที่ตลอดแนวคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อได้รับการปรับภูมิทัศน์ 3.2 ภูมิทัศน์บริเวณคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ มีความสวยงามร่มรื่นเป็นระเบียบเรียบร้อยมีไฟฟ้าส่องสว่าง และมีจุด Check-in ของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในเขตบางซื่อ 3.3 บริหารจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตลอดแนวคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ เพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง 3.4 ประชาชนและสถานประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย การเพิ่มมูลค่าและการจัดการขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสียและการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย 3.5 จัดทำตะแกรงดักขยะบริเวณคลองสาขาที่เชื่อมโยงกับคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ 3.6 ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบคลองมีความภูมิใจเพราะรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วม ในการเป็นจิตอาสาดูแลรักษาคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-22)
22/09/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. จัดเก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ริมคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อในพื้นที่เขตบางซื่อ 2. ติดตั้งแพลูกบวกกับคลองแยกคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อในพื้นที่เขตบางซื่อ 3. ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคู คลอง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-19)
19/09/2566 : - ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองและรวมเหล็กกันตกที่อยู่ในความรับผิดชอบให้อยู่สภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ - จัดกิจกรรมพัฒนาคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในการพัฒนาภูมิทัศน์ริมคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อให้มีภูมิทัศน์สวยงาม - ติดตั้งและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณทางเดินริมคลองตลอดแนว เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรไป-มา และช่วยป้องกันการเกิดอาชญากรรม พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจดูแลตรวจตราและจัดระเบียบความเรียบร้อยบริเวณริมคลอง - ดำเนินการรื้อย้ายสิ่งกีดขวางทางเดินริมคลองเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและสวยงาม - ดำเนินการติดตั้งแพลูกบวบ/ตะแกรงดักขยะบริเวณคลอง - ดำเนินการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ตามแนวคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ เป็นต้น - รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-25)
25/08/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. จัดเก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ริมคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อในพื้นที่เขตบางซื่อ 2. ติดตั้งแพลูกบวกกับคลองแยกคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อในพื้นที่เขตบางซื่อ 3. ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคู คลอง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. สำนักงานเขตบางซื่อ ได้จัดประชุมเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 2. จัดเก็บขยะ ตัดแต่งกิ่งไม้ริมคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อในพื้นที่เขตบางซื่อ 3. ติดตั้งแพลูกบวกกับคลองแยกคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อในพื้นที่เขตบางซื่อ 4. ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะในคู คลอง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-06-16)
16/06/2566 : 1. สำนักงานเขตบางซื่อ ได้เข้าร่วมประชุมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับปรุงภูมิทัศน์พัฒนาคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อ ในพื้นที่เขตบางซื่อ ส่งสำนักการระบายน้ำ 3. ประชุมเจ้าหน้าที่ เพื่อปรึกษาหารือการปรับปรุงพัฒนาคลองและจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ 4. อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาคลองเปรมประชากร และคลองบางซื่อ ในพื้นที่เขตบางซื่อ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) ระดับความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **