ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 90
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล (พิมพ์จิกานต์)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต และทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติในการรักษาพยาบาล ทั้งนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2565 (3 มกราคม 2565 – 29 ตุลาคม 2565) พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 4,573 ราย อัตราป่วย 82.72 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 0 - 4 ปี อัตราป่วย 87.87 รองลงมา ได้แก่กลุ่มอายุ 5 - 14 ปี อัตราป่วย 190.85 อายุ 15 - 34 ปี อัตราป่วย 135.20 อายุ 35-59 ปี อัตราป่วย 52.87 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป อัตราป่วย 20.05 ตามลำดับ ซึ่งโรคไข้เลือดออก มีปัจจัยสนับสนุนจากวิถีชีวิตของประชาชนที่อยู่กันอย่างแออัด การเคลื่อนย้ายของประชากร และการจัดการที่อยู่อาศัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ส่งผลทำให้การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก คือการให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค แต่อย่างไรก็ตามมาตรการในการแก้ไขโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนและความร่วมมือจาก องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและประชาชนทั่วไป โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการ การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตราชเทวีได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น
50320400/50320400
1 เพื่อให้ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราชเทวีทั้งหมด ได้รับการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย และเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 2 เพื่อให้ชุมชนจดทะเบียนในพื้นที่เขตราชเทวีทั้งหมด เป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
1 ชุมชนจดทะเบียนทั้งหมดในพื้นที่เขตราชเทวีได้รับการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย และเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จำนวน 2 ครั้ง / ชุมชน 2 จัดทำรายงานผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย และเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายของชุมชนที่จดทะเบียนทั้งหมดในพื้นที่เขตราชเทวี จำนวน 2 ครั้ง / ชุมชน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-26)
26/08/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-24)
24/05/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-03-21)
21/03/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-02-21)
21/02/2566 : รอข้อมูลจากผู้เกี่ยงข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : จัดทำแผนปฏิบัติงานและดำเนินการตามกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน “ปิดให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย” สำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายและเฝ้าระวังแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก
ค่าเป้าหมาย ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นไทล์ ของข้อมูล 5 ปี : 80
ผลงานที่ทำได้ ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นไทล์ ของข้อมูล 5 ปี :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **