ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย : 50330000-3295

สำนักงานเขตคลองเตย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรการ ทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 - 2565 มุ่งเน้นการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยการสร้างความเข้มแข็งระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากร จากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากร จากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือ ของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมีสาเหตุปัจจัยเกี่ยวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาวะโลกร้อน มีการเพิ่มขึ้นของโรคระบาด โรคระบาดอุบัติใหม่ที่แพร่กระจายข้ามพื้นที่อย่างรวดเร็ว เช่น โรคไข้หวัดซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นต้น การเกิดสาธารณภัยที่มีแนวโน้มเกิดถี่และรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนมาก กรุงเทพมหานครมีความพยายามแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพราะเกี่ยวข้องและกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยประชาชน มีหน่วยงานรองรับ คือ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย และฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 141 ประเภท ทั้งหมด 13 กลุ่มกิจการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานราชการต่างๆ ต้องมีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น โดยมีโครงการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม อยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566 - 2570) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพดี (Healthy City) เป้าประสงค์ที่ 1.5.4 ส่งเสริมสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยสถานประกอบการ อาคารสถานที่ให้ถูกสุขลักษณะมีความสะอาดและปลอดภัย ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จึงได้จัดทำโครงการ “กรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย” ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

50330400/50330400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขลักษณะ รวมถึงด้านอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการและอาคารสาธารณะ 2.2 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป 2.3 เพื่อตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560

เป้าหมายของโครงการ

3.1 สถานประกอบกิจการ ได้รับการตรวจสอบแนะนำปรับปรุงด้านอาชีวอนามัย 3.2 มีการดำเนินงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขต 3.3 ลดปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเกิดจากการประกอบการ กิจกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วย 3.3.1 ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือการปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน ฯลฯ ในการตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้ 3.3.1.1 การตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดัง กลิ่นเหม็น การเลี้ยงและปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล 3.3.1.2 การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการ แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน 3.3.1.3 การตรวจสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร 3.3.1.4 การปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ และตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 3.3.1.5 การปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค ในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 3.3.1.6 การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ เช่น การเผาศพ เป็นต้น หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 3.3.1.7 การปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 3.3.2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-25)

100.00

1 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 49,800 บาท เรียบร้อยแล้ว 2 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต เริ่มดำเนินการเดือนเมษายน 2566 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนเมษายน จำนวน 33,280 บาท เรียบร้อยแล้ว เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนพฤษภาคม จำนวน 46,080 บาท เรียบร้อยแล้ว เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนพฤษภาคม จำนวน 35,840 บาท เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-24)

70.00

24/07/2566 : 1 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 49,800 บาท เรียบร้อยแล้ว 2 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต เริ่มดำเนินการเดือนเมษายน 2566 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนเมษายน จำนวน 33,280 บาท เรียบร้อยแล้ว เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนพฤษภาคม จำนวน 46,080 บาท เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-06-23)

60.00

23/06/2566 : 1 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 49,800 บาท เรียบร้อยแล้ว 2 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต เริ่มดำเนินการเดือนเมษายน 2566 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนเมษายน จำนวน 33,280 บาท เรียบร้อยแล้ว เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เดือนพฤษภาคม จำนวน 46,080 บาท เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-25)

50.00

25/05/2566 : 1 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 49,800 บาท เรียบร้อยแล้ว 2 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต เริ่มดำเนินการเดือนเมษายน 2566 เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 33,280 บาท เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-04-24)

40.00

24/04/2566 : 1 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 49,800 บาท 2 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต เริ่มดำเนินการเดือนเมษายน 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-03-24)

30.00

24/03/2566 : 1 อยู่ระหว่างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และอยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 49,800 บาท 2 กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต เริ่มดำเนินการเดือนเมษายน 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-02-24)

25.00

24/02/2566 : 1 อยู่ระหว่างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 2 อยู่ระหว่างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-26)

20.00

26/01/2566 : จัดทำแผนการดำเนินกิจกรรม และอยู่ระหว่างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-25)

20.00

25/01/2566 : จัดทำแผนการดำเนินกิจกรรม และอยู่ระหว่างปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-31)

10.00

31/12/2565 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการเตรียมการดำเนินงาน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำแผนการดำเนินการ/วางแผนงานกิจกรรม
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
:70.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. รายงานผลการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50330000-3295

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50330000-3295

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด :

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **