ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด : 50340000-7117

สำนักงานเขตประเวศ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวจิตตรา เวียนสาว

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ยาเสพติดของกรุงเทพมหานคร พบว่ายังเป็นพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติดที่สำคัญ ตลอดจนเป็นแหล่งพักเก็บยาเสพติดก่อนกระจายไปสู่ผู้เสพอย่างต่อเนื่อง การลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ดังกล่าว จำเป็นต้องสร้างการรับรู้เพื่อการมีส่วนในการป้องกันและการเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัยสามารถป้องกันประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เข้าสู่วงจรการใช้ยาเสพติดได้ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะเวลา 20 ปี กำหนดให้เพื่อระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังป้องกันและดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเหมาะสมและมีความยั่งยืน ซึ่งในปี พ.ศ 2575 มีเป้าหมายไปสู่การเพิ่มจำนวนเครือข่ายของอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ไม่ต่ำกว่า 65,728 คน โดยสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ได้ทำการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำโครงการเพื่อสร้างอาสาสมัครรายใหม่และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครรายเก่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยมีอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ระวังภัยและยาเสพติด จำนวน 10,982 คน (ข้อมูลจากการสำรวจ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564) ขับเคลื่อนงานทั้งในเชิงการเฝ้าระวัง การป้องกัน การสร้างการรับรู้ การค้นหาขั้นสูง เข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและการดูแลผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่ให้หน่วยงานกลับมาเสพซ้ำ เพื่อเป็นกลไกการสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติดได้ด้วยศักยภาพของชุมชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตประเวศ จึงได้จัดทำโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเขตประเวศ ประจำปี 2566 โดยมุ่งหมายให้อาสาสมัครกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดเขตประเวศ ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีการเฝ้าระวัง การป้องกัน เพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งปลอดยาเสพติด พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ แก่หน่วยงานภาคี และเครือข่ายต่างๆ ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

50340100/50340100

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตประเวศ 2. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตประเวศ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เขตประเวศ

เป้าหมายของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดจำนวน 1 วัน ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ โดยมีหัวข้อการจัดกิจกรรมได้แก่ บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครฯ เทคนิคการค้นหาผู้เสพ ผู้ติดและนำเข้าบำบัด รวมทั้งให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและช่วยเปลือผู้ประสบภัยในรูปแบบอื่น ๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่ประชาชน เด็ก เยาวชน และกลุ่มเสี่ยงในชุมชนพื้นที่

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๑ - ปลอดมลพิษ
๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ%
๑.๑.๒.๒ สร้างความภาคภูมิใจในตนเองและความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็ก เยาวชน

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)

100.00

30/09/2566 : ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-31)

95.00

ผลดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเขต ประจำปีงบประมาณ 2566 1. การจัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จัดประชุม 2 เดือน/ครั้ง 1 ครั้งที่ 1/2566 ประชุมในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 2 ครั้งที่ 2/2566 ประชุมในวันที่ 31 มกราคม 2566 3 ครั้งที่ 3/2566 ประชุมในวันที่ 22 มีนาคม 2566 4 ครั้งที่ 4/2566 ประชุมในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 5 ครั้งที่ 5/2566 ประชุมในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 2. คำสั่งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเขตประเวศ 3. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัย และยาเสพติด ในวันที่ 18 มิถุนายน 2566 4. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เขตประเวศ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2566 ณ ชุมชนกระทุ่มเสือปลา

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-24)

90.00

24/07/2566 : lสำนักงานเขตประเวศ ได้จัดกิจกรรม จำนวน 2 ครั้งเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยในเดือนกรกฎคม ได้ดำเนินการจัดทำฏีกา เพื่อขอเบิกจ่ายงบประมาณ และมีกำหนดการประชุม ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 79.00 (2023-06-26)

79.00

26/06/2566 : จัดกิจกรรม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครป้องกันภัยและยาเสพติด เขตประเวศ เมื่อวันที่18 มิถุนายน 2566 โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วม 150 คน ครั้งที่ 2 กิจกรรม รณรงค์ป้องกันและต่อต้านภัยยาเสพติด เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2566 ณ ชุมชนกระทุ่มเสือปลา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 200 คน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-05-25)

55.00

25/05/2566 : สำนักงานเขตประเวศจัดการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดเขตประเวศ (ศป.ปส.เขต) ครั้งที่ 4/2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-25)

50.00

25/04/2566 : นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการเขตประเวศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดเขตประเวศ (ศป.ปส.เขต) ครั้งที่ 3/2566 ในวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยในเดือนเมษายน- พฤษภาคม 2566 เป็นช่วงการดำเนินงานการเลือกตั้ง จึงจะจัดประชุมในเดือนถัด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-31)

40.00

นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการเขตประเวศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดเขตประเวศ (ศป.ปส.เขต) ครั้งที่ 3/2566 ในวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. ผลการดำเนินการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของ สถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ทั้ง 4 แห่ง 2. ผลการดำเนินการบำบัดฟื้นฟูและรักษาผู้ติดยาเสพติด 3. ผลการดำเนินงานกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 4. ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสารสนเทศยาเสพติดจังหวัด 5. ผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมดังนี้ 1. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตประเวศ 2. ผู้แทนผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ 3. ผู้แทนผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 4. ผู้แทนหัวหน้าสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บ้านพิชิตใจ 5. ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้ประสานเครือข่ายโรงเรียนในพื้นที่ 6. ประธานชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ 7. ประธานชุมชนอ่อนนุช 19 ไร่ 8. ประธานชุมชนอ่อนนุช 40 ไร่ 9. ประธานกรรมการศูนย์ประสานงานอปพร.เขตประเวศ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-20)

20.00

20/02/2566 : นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการเขตประเวศ มอบหมายให้ นางประภัสสร จำนงบุตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดเขตประเวศ (ศป.ปส.เขต) ครั้งที่ 1/2566 ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยติดตามการรายงานการดำเนินการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่เขตประเวศจากสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ทั้ง 4 แห่ง คือ 1.1 สถานีตำรวจนครบาลประเวศ 1.2 สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข 1.3 สถานีตำรวจนครบาลบางนา 1.4 สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 2. ด้านการบำบัดฟื้นฟูและรักษาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จาก ศบส. 22 วัดปากบ่อ, ศบส. 57 บุญเรือง ล้ำเลิศ และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บ้านพิชิตใจ 3. ด้านการจัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตประเวศ,โรงเรียนราชดำริ,เครือข่ายโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ 30 และ 31 4. ด้านการดำเนินงานของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 9 5. ผลการดำเนินงานของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 6. ผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักอนามัย 7. ผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร 8. การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสารสนเทศยาเสพติด จังหวัด (Nispa) 9. การรายงานข้อมูลยาเสพติด (สยส.) 10. การจัดฟื้นฟูสภาพทางสังคม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-04)

30.00

04/01/2566 : นายอนุชิต พิพิธกุล ผู้อำนวยการเขตประเวศ มอบหมายให้ นางประภัสสร จำนงบุตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดเขตประเวศ (ศป.ปส.เขต) ครั้งที่ 1/2566 ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานเขตประเวศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ โดยติดตามการรายงานการดำเนินการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่เขตประเวศจากสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ทั้ง 4 แห่ง คือ 1.1 สถานีตำรวจนครบาลประเวศ 1.2 สถานีตำรวจนครบาลอุดมสุข 1.3 สถานีตำรวจนครบาลบางนา 1.4 สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 2. ด้านการบำบัดฟื้นฟูและรักษาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จาก ศบส. 22 วัดปากบ่อ, ศบส. 57 บุญเรือง ล้ำเลิศ และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บ้านพิชิตใจ 3. ด้านการจัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตประเวศ,โรงเรียนราชดำริ,เครือข่ายโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ 30 และ 31 4. ด้านการดำเนินงานของสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 9 5. ผลการดำเนินงานของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 6. ผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักอนามัย 7. ผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร 8. การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระบบสารสนเทศยาเสพติด จังหวัด (Nispa) 9. การรายงานข้อมูลยาเสพติด (สยส.) 10. การจัดฟื้นฟูสภาพทางสังคม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. 10% จัดทำโครงการ และขออนุมัติโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. 20% ประชาสัมพันธ์ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. 30% ขออนุมัติเงินประจำงวด
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. 50% จัดกิจกรรม ที่ 1
:30.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. 80% จัดกิจกรรม ที่ 2
:30.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. 90% ติดตามและประเมินผล
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. 100% รายงานผลการดำเนินการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50340000-7117

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50340000-7117

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5034-997

ตัวชี้วัด : ร้อยละของอาสาสมัครที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 65

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
75.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **