ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากการดำเนินการโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ในภาพรวมพบว่า แนวโน้มสถานการณ์อาหารในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา ในภาพรวมพบว่า สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยด้าน อาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลง โดยสถิติการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย ในปี พ.ศ.2557 – 2562 พบปนเปื้อนร้อยละ 0.3 ลดลงในปี 2561 พบปนเปื้อนร้อยละ 0.11 สำหรับในปีพ.ศ. 2562 พบปนเปื้อนเพิ่มขึ้น เล็กน้อย คือ ร้อยละ 0.14 สำหรับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2561 - 2562 พบการปนเปื้อนร้อยละ 20 และร้อยละ 3 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในกรุงเทพมหานครจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นก็ตาม แต่เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานครสูงสุด ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ทั้งนี้ เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย
50360400/50360400
1. เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร 2. เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการ 3. เพื่อตรวจสอบคุณภาพอาหารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและร้องเรียนด้านอาหาร 4. เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย 5. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
ร้อยละ 90 ของอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจคุณภาพอาหารไม่พบการปนเปื้อน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๕ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีอาหารปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรค และสารปนเปื้อน% |
๑.๖.๕.๑ ควบคุม กำกับ ดูแล ให้สถานประกอบการอาหาร เตรียม ประกอบปรุง และจำหน่ายอาหารถูกสุขลักษณะ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-08)
08/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 97.00 (2023-08-25)
25/08/2566 : 1. เบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาราชเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2566 เป็นเงิน 12,000 บาท 2. เบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหารเดือนกรกฎาคม 2566 เป็นเงิน 2,490 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : 1.ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการประจำเดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 2 วัน 2. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 2,490 บาท 3. จัดนิทรรศการในตลาดและโรงเรียน จำนวน 10,000 บาท 4. อยู่ระหว่างดำเนินการกิจกรรมพัฒนาตลาด
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : 1.ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการประจำเดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 3 วัน 2. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2566 จำนวน 4,980 บาท 3. อยู่ระหว่างจัดนิทรรศการในตลาดและโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-24)
24/05/2566 : 1.ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการประจำเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 2 วัน 2. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 2,490 บาท 3. จัดทำแผนตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : 1. ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเดือนมีนาคม 2566 จำนวน 83 ตัวอย่าง 2. ดำเนินการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการด้านการสุขาภิบาลอาหารเดือนเมษายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 69.00 (2023-03-23)
23/03/2566 : 1.ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการเฝ้าระวังรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านการสุขาภิบาลอาหาร 2. ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมเบิกจ่ายค่าตัวอย่างอาหารเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ยอด 2,490 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-02-24)
24/02/2566 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการเฝ้าระวังรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้านการสุขาภิบาลอาหาร และเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-05)
05/01/2566 : 1. ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารและตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นเงิน 2,490 บาท 2. ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการแนะนำด้านการสุขาภิบาล(ค่าอาหารทำการนอกเวลา) จำนวน 2 ครั้ง และปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 1 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **