ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 60
ฝ่ายปกครอง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ความเป็นมาของกิจกรรมการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัว ตาม 1. พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดท าระบบบูรณาการข้อมูลดิจิทัลระหว่างกันและจัดทำข้อมูลเปิด เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถน าไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริหารและนวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้ 2. คำสั่งกรุงเทพมหานคร เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐของกรุงเทพมหานคร ส่วนที่ 1เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีมาตรฐานแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล มีชุดข้อมูลเปิดภาครัฐตามแนวทางตามพระราชบัญญัติ การบริหารงานฯ เผยแพร่สู่สาธารณะให้องค์กรรัฐ เอกชน หรือประชาชนที่สนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนานวัตกรรม 3. นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “เปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม. (Open Bangkok)” กทม.จะจัดระบบการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมให้มีคุณภาพ ไม่ซ้ำซ้อน เป็นปัจจุบัน และครอบคลุมข้อมูลศักยภาพสูง (High Value Dataset ของ DGA [2] เช่น ข้อมูลด้านการศึกษา ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ ข้อมูลสถิติ) หรือตามมาตรฐาน OCDS [3] 4. คำสั่งกรุงเทพมหานคร 1564/2565 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2565ให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตาม ประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูล ภาครัฐของกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตดินแดงจึงต้องดำเนินการจัดทำกิจกรรมการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใส คล่องตัวตาม พระราชบัญญัติฯ , คำสั่งกรุงเทพมหานครฯ และนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
50370100/50370100
1. สนับสนุนนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่กำหนดให้กรุงเทพมหานครต้องมีชุดข้อมูลที่ให้บริการตามมาตรฐานในระดับประเทศ (DGA) และตรงต่อความต้องการของประชาชน 2. มีชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามผลสำรวจความต้องการใช้ข้อมูลจากประชาชนของ DGA 3. มีชุดข้อมูลเปิดที่เป็นไปตามผลส ารวจความต้องการใช้ข้อมูลจากประชาชนของกรุงเทพมหานคร 4. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานรัฐที่ใช้แพลตฟอร์มเดียวกัน (CKAN) ได้โดยอัตโนมัติ
1. สำนักงานเขตดินแดงมีคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและ คณะทำงาน บริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน มีบัญชี รายการข้อมูลทั้งหมด และ มีแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566-2569) ตามผลการ ประชุมหารือร่วมกันของ 50 สำนักงานเขต 2. จัดทำและปรับปรุงชุดข้อมูลจำนวน28 ชุดข้อมูลตามแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูงของ หน่วยงานในระบบบริหารจัดการพื้นที่เขตในกรุงเทพมหานครและ เผยแพร่บนศูนย์ข้อมูลเปิดภาครัฐของกรุงเทพมหานคร 3. นำชุดข้อมูลที่ได้จัดทำไปพัฒนาเป็น Dashboard ที่แสดงผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามภารกิจของหน่วยงานจำนวน 2 เรื่อง
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-21)
21/07/2566 : อยู่ระหว่างการรอสรุปผล แผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูงของหน่วยงาน ระยะ 4 ปี จาก สยป. จากการประชุมร่วมกัน 50 เขต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : อยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูงระยะ 4 ปี 2566 - 2569
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-05-12)
กุมภาพันธ์ 2566 - จัดทำคำสั่งคณะทำงานธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐและคณะทำงานบริกรข้อมูลระดับหน่วยงาน - จัดทำบัญชีรายการข้อมูลทั้งหมดของสำนักงานเขต มีนาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2566 - จัดทำแผนพัฒนาข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2566-2569) ตามผล การประชุมหารือร่วมกันของ 50 สำนักงานเขต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อบริหารราชการที่ยืดหยุ่น โปร่งใสคล่องตัว
ค่าเป้าหมาย ความสำเร็จในการดำเนินการตามศักยภาพของหน่วยงาน : 100
ผลงานที่ทำได้ ความสำเร็จในการดำเนินการตามศักยภาพของหน่วยงาน : 75
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **