ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 85
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
นโยบายปลูกต้นไม้ล้านต้น สร้างพื้นที่สีเขียวและกำแพงกรองฝุ่นทั่วเมือง เป็นการนำร่องนโยบายแรกใน 214 นโยบาย ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้ดูแลเมือง เป็นกำแพงดักกลิ่น ดักฝุ่นละอองขนาดเล็ก ดังนั้น การปลูกต้นไม่จึงไม่ใช่แค่ปลูก แต่จะปลูกให้ได้ประโยชน์สูงสุดและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของเมืองได้ โดยมีแนวคิดการสร้างระบบนิเวศที่ดีของเมืองด้วยแนวคิดที่เป็นรูปธรรม มีพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน การมีพื้นที่สีเขียวใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นให้คนในเมือง รวมไปถึงมิติเศรษฐกิจ อย่างคนขายต้นกล้าก็จะได้มีอาชีพ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนต้นไม้ให้กับ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีพื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่และกรุงเทพมหานครเป็นมหานครร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพอตามมาตรฐานสากล ซึ่งสถานการณ์และแนวโน้มปัจจุบันพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานครเพื่อบริการประชาชนนั้นยังต่ำกว่ามาตรฐานสากลและต่ำกว่ามาตรฐานการเป็นเมืองคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งหากต้องการให้กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งพื้นที่สีเขียวจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
50370600/50370600
1. ปลูกเพื่อลดฝุ่น ลดมลพิษและดูดซับคาร์บอน (CO2 ) เน้นปลูกในพื้นที่ที่มีกิจกรรมของประชาชนหนาแน่น เพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการดักจับมลพิษและฝุ่นก่อนถึงประชาชน 2. ปลูกเพื่อให้เกิดร่มเงาในการใช้ชีวิต ปลูกในพื้นที่ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งของประชาชนหนาแน่น เช่น พื้นที่บริเวณการเชื่อมต่อการขนส่ง เป็นต้น 3. ปลูกเพื่อส่งเสริมความหลากหลายของระบบนิเวศ เลือกใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่น ปลูกหลากชนิดเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งอาหารของสัตว์ อีกทั้งยังลดโอกาสในการเกิดโรคระบาดในพืชชนิดใดชนิดเดียว 4. ปลูกเพื่อให้ชุมชนมีรายได้ สนับสนุนให้ชุมชนเกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครเพาะกล้าไม้ โดยกรุงเทพมหานครหรือเอกชนเป็นผู้รับซื้อ สร้างรายได้แก่ชุมชน 5. ปลูกเพื่อให้คนและต้นไม้โตไปพร้อมๆ กัน แจกกล้าให้กับนักเรียนและประชาชนที่สนใจปลูกเพื่อให้ “คนและต้นไม้เติบโตไปพร้อมกับเมือง” โดยกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันปลูกต้นไม้กรุงเทพมหานคร
การปลูกต้นไม้ล้านต้น เพื่อกักฝุ่นและมลพิษในเมืองกรุง สร้างร่มเงา ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแบ่งยุทธศาสตร์การปลูกเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะของพื้นที่ ซึ่งสำนักงานเขตดินแดงจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก สวนสาธารณะมาก เช่น เขตพระนคร เขตดุสิต เขตดินแดง เป้าหมายปลูกไม้ยืนต้น 30% ไม้พุ่มกลางไม่เกิน 70%
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-09-21)
21/09/2566 : กันยายน 2566 ปลูกต้นไม้ทั้งหมด 45 ต้น (ไม้ยืนต้น 16 ต้น, ไม้พุ่ม 29 ต้น)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-22)
22/08/2566 : สิงหาคม 2566 ปลูกต้นไม้ทั้งหมด 32 ต้น (ไม้ยืนต้น 16 ต้น, ไม้พุ่ม 16 ต้น)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-07-20)
20/07/2566 : กรกฎาคม 2566 ปลูกต้นไม้ทั้งหมด 1,723 ต้น (ไม้ยืนต้น 60 ต้น, ไม้พุ่ม 1,663 ต้น)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-20)
20/06/2566 : มิถุนายน 2566 ดำเนินการปลูกต้นแคนา จำนวน 13 ต้น ต้นคลอเดีย จำนวน 14 ต้น ต้นอินทนิลน้ำ จำนวน 7 ต้น ต้นหูกระจง จำนวน 1 ต้น ต้นตะแบกนา จำนวน 11 ต้น ต้นชะเมยทอง จำนวน 291 ต้น ต้นทองอุไร จำนวน 21 ต้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-22)
22/05/2566 : ปลูกต้นตะแบกนา จำนวน 1 ต้น และเตรียมขุดหลุม สำหรับปลูกต้นตะแบบนา จำนวน 15 ต้น บริเวณถนนรัชดาภิเษก ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-05-12)
12/05/2566 : ตุลาคม - ธันวาคม 2565 สำรวจพืนที่โครงการ เสนอโครงการและขออนุมัติดำเนินโครงการฯ ความก้าวหน้าของโครงการ 10% เป็นไปตามแผน เป้นไปตามเป้าหมาย : มกราคม 2566 ประสานหน่วยงานภายนอกและเชิญชวนเข้าร่วมโครงการฯ ความก้าวหน้าของโครงการ 20% เป็นไปตามแผน เป็นไปตามเป้าหมาย : กุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการปลูกไม้พุุ่ม บริเวณถนนรัชดาภิเษก จำนวน 120 ต้น ความก้าวหน้าของโครงการ 25% เป็นไปตามแผน เป็นไปตามเป้าหมาย : มีนาคม 2566 ดำเนินการปลูกไม้พุุ่ม บริเวณถนนรัชดาภิเษก จำนวน 151 ต้น ความก้าวหน้าของโครงการ 30% เป็นไปตามแผน เป็นไปตามเป้าหมาย : เมษายน 2566 ดำเนินการปลูกไม้พุุ่ม บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต8 จำนวน 20 ต้น ความก้าวหน้าของโครงการ 35% เป็นไปตามแผน เป็นไปตามเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มต้นไม้ล้านต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละระดับความสำเร็จในการดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละระดับความสำเร็จในการดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเ : 70
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **