ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางมาลี บำรุงทรัพย์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัย ต่อความมั่นคงของประเทศ แม้ว่าจะมีการบูรณาการการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในทุกมาตรการ อย่างเข้มแข็งกับหน่วยงานภาคีในทุกระดับ ประกอบกับศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ได้มีคำสั่ง ที่ ๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการบริหาร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย เป้าหมายในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่กรุงเทพมหานครสั่งการ มอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการบูรณาการทั้งแผนงาน งบประมาณและการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้านความปลอดภัย (COMMUNITY) มุ่งให้ประชาชนมีชีวิตปลอดภัย ทรัพย์สินปลอดภัยชุมชนและสังคมปลอดภัย แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.1 ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด ช่วงระยะเวลาการดำเนินการตามระยะ 5 ปี กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามเหตุอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “3 ลด 3 เพิ่ม” กล่าวคือ แนวทาง “3 ลด” ได้แก่ 1) ลดการเกิดคดีอุกฉกรรจ์และอาชญากรรมพื้นฐาน 2) ลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่ออาชญากรรม 3) ลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติดรวมถึงลดจำนวนผู้เสพติด ในส่วนของแนวทาง “3 เพิ่ม” ได้แก่ 1) เพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ 2) เพิ่มความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 3) เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นความปลอดภัยสาธารณะของเมืองโดยแนวทางดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการออกแบบมาตรการเชิงป้องกันเพื่อสร้างความปลอดภัยจากเหตุอาชญากรรม ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อข้อมูลด้านความปลอดภัยต่างๆ กับหน่วยงาน หรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป้าประสงค์ที่ 1.1.2 เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐาน และมีความเหมาะสม กลยุทธ์ที่ 1.1.2.1 เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตบางแค จึงได้จัดทำโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด โดยมุ่งหมายให้อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ที่มีภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดดังกล่าว ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ แก่หน่วยงานภาคี ซึ่งจะช่วยลดระดับความรุนแรงในเชิงพื้นที่ และคงไว้ซึ่งความเข้มแข็งของเครือข่ายในการทำงานร่วมกันกับภาคีต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง เต็มประสิทธิภาพ อันจะนำพาให้พื้นที่กรุงเทพมหานครมีความแข็งแกร่ง พร้อมต่อการเดินหน้าไปสู่การลดผู้เสพหน้าใหม่และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กว้างขวางกว่าเดิม
50400100/50400100
2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.2 เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.3 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด
กิจกรรมที่ 1 อบรมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตบางแค กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1. อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตบางแครายใหม่ จำนวน 47 คน ชุมชนละ 1 คน 2. อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตบางแครายเก่า จำนวน 231 คน 3. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเพื่อรณรงค์ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เขตบางแค กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1. อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตบาง จำนวน 211 คนร้อยละ 30 ของอาสาฯ ที่ปฏิบัติงานทั้งปี 2. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน 3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ภาคประชาชน) จำนวน 50 คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ% |
๑.๑.๑.๑ คุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีคุณภาพดีขึ้น |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-21)
21/09/2566 : เสร็จสิ้นโครงการ ยอด 68,400 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-08-24)
24/08/2566 : เดือนกรกฎาคม ดำเนินการเบิกเงิน 24600+5000 รวมเป็น 29600
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-06-23)
23/06/2566 : ตั้งฏีกาเบิก 38,800 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-05-24)
24/05/2566 : อยู่ระหว่างทำฎีกาเบิกงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-24)
24/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-24)
24/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : จัดทำแผนงาน กำหนดการในการจัดกิจกรรม และมอบหมายผู้รับผิดชอบกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-31)
31/12/2565 : จัดทำโครงการและเสนอขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละของชุมชนที่มีอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (โครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **