ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
น.ส. วีร์สุดา เผ่าภูธร
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุง ยกมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหาร ในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารในโรงเรียน และตลาดสด รวมถึงการตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มอบนโยบาย ให้ทุกสำนักงานเขตดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลอาหารให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่เขต ตามโครงการดังกล่าว สำนักงานเขตบางแคได้เข้าไปดำเนินการพัฒนาการสุขาภิบาล สถานที่จำหน่ายอาหารตามกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดให้มีการอบรมผู้ประกอบการ ผู้ปรุงอาหารและผู้สัมผัสอาหารให้มีความรู้ ความเข้าใจด้านการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจำหน่ายอาหาร การประกอบ ปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ และมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี นอกจากนี้ยังดำเนินการตรวจสอบด้านสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร การเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ภาคสนามด้วยชุดทดสอบเบื้องต้นและตรวจวิเคราะห์ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันมิให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหารที่วางจำหน่าย และการจำหน่ายอาหารที่สะอาดปลอดโรค และปลอดภัย และจัดสุขาภิบาลสถานที่ร้านจำหน่ายอาหาร ให้เข้ากับสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน (COVID-19) ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร ในเรื่องอาหารปลอดภัยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ดำเนินไปสู่เป้าหมายเขตอาหารปลอดภัยในปีงบประมาณ 2566 สำนักงานเขตบางแค จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยเพื่อดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงการสุขาภิบาลอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานให้ครอบคลุมพื้นที่ รวมทั้งการรักษาสถานภาพของสถานที่ที่ได้มาตรฐานแล้วให้คงสภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์ ของประชาชน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อก่อประโยชน์ ต่อประชาชนพื้นที่เขตบางแค นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย
50400400/50400400
1 เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร 2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหารอย่างสม่ำเสมอ และกรณีร้องเรียนด้านอาหารหรือกรณีฉุกเฉิน 3 เพื่อโรงเรียนมีสุขาภิบาลอาหารที่ดี ทั้งด้านกายภาพของสถานที่ ผู้สัมผัสอาหาร คุณภาพอาหาร โภชนาการดี น้ำดื่มต้องสะอาดและปลอดภัย 4 เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย
1 ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 30 2 สถานประกอบการอาหารมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด 19) ร้อยละ 100
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-25)
-ดำเนินการตรวจประเมินป้ายรับรองอาหารปลอดภัย -จัดกิจกรรมสุขาภิบาลอาหารโรงเรียน จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน - ดำเนินกิจกรรมพัฒนาตลาดอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลอาหาร ในโรงเรียน จัดกิจกรรมสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-24)
24/06/2566 : ดำเนินกิจกรรมสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ณ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรีในวันที่19 มิ.ย 2566 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมพัฒนาตลาด ตรวจสุขาภิบาลโนงเรียนประจำภาคเรียนที่ 1/2566 ตรวจสุขาภิบาลอาหารเพื่อมอบป้ายรับรองอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : ดำเนินการตามแผนการปฏิบัติตรวจเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร การมอบป้ายรับรองฯ ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามแผน รวบรวมข้อมูลเพื่อเตรียมการดำเนินกิจกรรมพัฒนาตลาด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-25)
25/04/2566 :- ดำเนินการตรวจนอกเวลาราชการในสถานประกอบการด้านอาหารจำนวน 22 ครั้ง - ดำเนินการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของบุคลากรการแพทย์ จำนวน 5 ครั้ง - ตรวจสุขาภิบาลอาหารเพื่อออกป้ายรับรองอาหารปลอดภัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : 1. ดำเนินการตรวจสถานประกอบการก้านอาหารตามแผน 2.ดำเนินการตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว 3.ดำเนินการตรวจสถานประกอบการอาหารนอกเวลาราชการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : ดำเนินการตรวจประเมินสุขาภิบาลสถานที่จำหน่ายและสะสมอาหาร พร้อมตรวจติดตามมาตรฐานอาหารปลอดภัย ตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนในอาหาร และตรวจสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2022-12-31)
31/12/2565 : ตรวจสุขาภิบาลอาหารตามแผนการตรวจเฝ้าระวังและการตรวจมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย และตรวจสถานประกอบการให้เป็นไปมาตรโควิด-19 ระหว่างเดือน ต.ค - ธ.ค. 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 6.2 ร้อยละความสำเร็จของสถานประกอบการอาหารมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **