ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย : 50430000-3332

สำนักงานเขตคันนายาว : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสุวรรณา มะปรางหวาน

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนา กรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการ ดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมการป้องกัน ความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐาน ทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ด้านสารเคมี และวัตถุอันตราย ที่เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เพื่อลดความเสี่ยง และความสูญเสียจากภัยพิบัติ รวมถึงมุ่งเน้นการป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้าง ความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร สำนักงานเขตคันนายาว เป็นหน่วยงานในระดับพื้นที่ซึ่งเป็นด่านแรกที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่เขตคันนายาว ที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และเห็นความสำคัญในเรื่องการบริหารงานด้านสาธารณสุข ที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์และปฏิบัติการหรือบริการด้านสาธารณสุขต่าง ๆ ในพื้นที่ให้ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบและความรุนแรงของปัญหาด้านสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

50430400/50430400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดัง กลิ่นเหม็น การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล 2.2 เพื่อตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถานประกอบการ แรงงานนอกระบบ หรือแรงงานในชุมชน 2.3 เพื่อตรวจสอบสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร 2.4 เพื่อปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ ตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 2.5 เพื่อปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมป้องกันโรคในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 2.6 เพื่อตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจวัดมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ เช่น การเผาศพ เป็นต้น หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 2.7 เพื่อปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 2.8 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ปฏิบัติงานตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตคันนายาว นอกเวลาราชการ จำนวน 45 ครั้ง 3.2 ปฏิบัติงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 นอกเวลาราชการ จำนวน 35 ครั้ง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-24)

100.00

24/07/2566 : ตรวจแนะนำ และประชาสัมพันธ์การดำเนินกงานตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ในพื้นที่เขตคันนายาว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-24)

95.00

24/06/2566 : ตรวจติดตามการบำบัดน้ำเสียต้นทาง ตลาดสายเนตร จำนวน 1 แห่ง ตรวจสุขลักษณะห้องน้ำในอาคารสาธารณะ 45 แห่ง ดำเนินการตรวจสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย จำนวน 73 แห่ง กลุ่มที่ 1 จำนวน 14 แห่ง กลุ่มที่ 2 จำนวน 26 แห่ง กลุ่มที่ 3 จำนวน 3 แ่หง กลุ่มที่ 4 จำนวน 30 แห่ง และสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ จำนวน 50 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-22)

80.00

22/05/2566 : ตรวจสถานประกอบการ ตรวจสถานประกอบการโรงงาน เชิงรุก จำนวน 12 แห่ง ตรวจประเมินสุขลักษณะห้องน้ำในอาคารสาธารณะ จำนวน 5 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-04-22)

70.00

22/04/2566 : ดำเนินการตรวจสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ จำนวน 4 แห่ง ตรวจสถานประกอบการเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศเชิงรุก ประเภทอู่พ่นสี จำนวน 1 แห่ง ตรวจสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ จำนวน 4 แห่ง ตรวจสถานประกอบการที่มีหม้อต้มไอน้ำ จำนวน 2 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-03-24)

65.00

24/03/2566 : ตรวจสุขลักษณะสถานประกอบการ/โรงงานเชิงรุก จำนวน 12 แห่ง ตรวจสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ จำนวน 7 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-02-22)

60.00

22/02/2566 : ตรวจสถานประกอบการดังนี้ ตรวจโรงงานคุณภาพเชิงรุก ประกอบด้วยสถานประกอบการที่มีหม้อต้มไอนำ จำนวน 4 แห่ง สถานประกอบการเคาะ ปะ ผุ พ่นสี 12 แห่ง ติดตามการดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง ตลาดประเภท 1 ตรวจสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 13 แห่ง วัด จำนวน 3 แห่ง มัสยิด จำนวน 1 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 16 แห่ง ศูนย์การค้า จำนวน 8 แห่ง แหล่งท่องเที่ยว จำนวน 1 แห่ง ตรวจสถานประกอบการตามคำสั่ง คสช. ที่ 22/2558 จำนวน 7 แห่ง ตรวจสุขลักษณะสถานประกอบการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในพื้นที่เขต

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-01-22)

50.00

22/01/2566 : กิจกรรมที่ 1 เป้าหมาย : 1. การตรวจโรงงานเชิงรุก สถานประกอบการที่มีหม้อต้มไอน้ำ (ฺBoiler) จำนวน 4 แห่ง สถานประกอบการประเภทหลอมหรือหล่อโลหะทุกชนิด จำนวน 2 แห่ง สถานประกอบการเคาะ ปะผุ พ่นสี และพ่นสารกันสนิมยานยนต์ จำนวน 20 แห่ง 2.ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียต้นทาง จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ตลาดสายเนตร 3. ห้องน้ำที่ดีในพื้นที่สาธารณะ โดยการตรวจประเมินสุขลักษณะห้องน้ำในอาคารสาธารณะ 9 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 12 แห่ง ศาสนสถาน จำนวน 5 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 16 แห่ง ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า จำนวน 9 แห่ง โรงพยาบาล จำนวน 3 แห่ง แหล่งท่องเที่ยว จำนวน 1 แห่ง สถานที่ราชการ จำนวน 2 แห่ง กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 โดยดำเนินการในสถานที่่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย จำนวน 73 แห่ง (กลุ่มที่ 1 จำนวน 14 แห่ง, กลุ่มที่ 2 จำนวน 26 แห่ง, กลุ่มที่ 3 จำนวน 3 แห่ง, กลุ่มที่ 4 จำนวน 30 แห่ง) สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ จำนวน 50 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่พบอุปสรรค

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่พบอุปสรรค

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2022-12-29)

35.00

1. ตรวจคุณภาพโรงงานเชิงรุก 9 แห่ง 2. ตรวจประเมินสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะ ประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 13 แห่ง ประเภทศาสนสถาน จำนวน 3 แห่ง ประเภท ศูนย์การค้า /ห้างสรรพสินค้า จำนวน 6 แห่ง 3. ตรวจสถานประกอบการที่คล้ายสถานบันเทิง จำนวน 7 แห่ง และเหตุรำคาญ ในช่วงเวลากลางคืน เป็นต้น

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1.จัดทำและขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำแผนปฏิบัติงาน คำสั่งมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3.1 กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น ตรวจสอบเหตุรำคาญ การตอบโต้เหตุฉุกเฉิน หรือ อุบัติภัยจากสารเคมี เป็นต้น - กิจกรรมพัฒนาห้องน้ำสาธารณะในพื้นที่เขตคันนายาว - กิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงรุกในโรงงาน - กิจกรรมติดตั้งระบบบำบัดนำ้
:40.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:3.2 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
:30.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:4. สรุปผลการดำเนินงานนำเรียนผู้บริหารเขตและสำนักอนามัยทราบ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50430000-3332

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50430000-3332

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5043-844

ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย ้ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ้ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(้ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
15.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
60.00

100 / 100
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **