ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายมรุต ศิริสวัสดิ์ เบอร์โทร 7118
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2564 (5 มกราคม 2564 – 25 กรกฎาคม 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 1,115 ราย อัตราป่วย 110.78 ต่อประชากรแสนคน โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10 – 14 ปี รองลงมา ได้แก่กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี และ 15 - 24 ปี ตามลำดับ โรคไข้เลือดออกมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม โรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัดวิถีชีวิต และการเคลื่อนย้ายของประชากร ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออก อย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่าย องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตสะพานสูง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เขตสะพานสูงให้ดีขึ้นปลอดภัยต่อสุขภาพ ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
50440400/50440400
1. เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับ ให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เขตสะพานสูงเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
1 เชิงคุณภาพ 1.1 ประชาชนในชุมชนพื้นที่เขตสะพานสูงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สามารถนำแนวคิด หลักการ องค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย โดยการประยุกต์ปรับปรุงพัฒนางานในพื้นที่รับผิดชอบ การสร้างนวัตกรรม ส่งเสริมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนของพื้นที่เขตสะพานสูง การสื่อสารความเสี่ยง ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่เขตสะพานสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 สถานที่เป้าหมายชุมชนในพื้นที่เขตสะพานสูงมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 2 เชิงปริมาณ 2.1 ดำเนินกิจกรรมชุมชนการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน ในพื้นที่เขตสะพานสูง จำนวน 29 ชุมชน 2.2 ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน ศูนย์บริการสาธารณสุข และเขตสะพานสูง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1. รณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกเพื่อกิจกรรมส่งเสริมชุมชนดำเนินการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน 2. การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงการระบาดของโรคไข้เลือดออกใน จำนวน 29 ชุมชน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-08-26)
26/08/2565 : ได้มีการเผ้าระวังและประเมินความเสี่ยงการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน ทั้ง 29 ชุมชน และทำการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2022-07-25)
25/07/2565 : ดำเนินการครบทั้ง 29 ชุมชน จำนวน 58 ครั้ง ตั้งแต่ ม.ค.- มิ.ย.2565 พร้อมทั้งเบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ ทั้งสิ้น เป็นเงิน 169,360.- บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2022-06-27)
27/06/2565 : ดำเนินการรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกในดำเนินกิจกรรมส่งเสริมในชุมชนให้ดำเนินการจัดการพาหนะนำโรคแบบผสมผสานพร้อมทั้งเบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการและค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำเดือน พ.ค.65 - มิ.ย.65จำนวน 16 ชุมชน (ครั้งที่ 44-58) รวมในการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 43,800.- บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2022-05-30)
30/05/2565 : ดำเนินการรณรงค์เรื่องไข้เลือดออกตามชุมชนเดือน มีนาคม 2565 ถึง เมษายน 2565 จำนวน 16 ชุมชน (ครั้งที่ 28-43) และเบิกค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550 และค่าตอบแทนอาหารทำการนอกเวลาราชการ เป็นเงิน 46,720.-บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-04-27)
27/04/2565 : ดำเนินการออกเยี่ยมชุมชนในพื้นที่เขตสะพานสูง และอยู่ระหว่างเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนบุคคลากรทางด้านสาธารณสุข และค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ ประจำเดือน เมษายน 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-03-29)
29/03/2565 : ดำเนินการในชุนชนดังนี้ 1. เดือนมกราคม 2565 จำนวน 16 ชุมชน เบิกค่าตอบแทนบุคลลากรทางด้านสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550 และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวมจำนวนเงิน 46,720.-บาท 2.เดือนกุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 9 ชุชน เบิกค่าตอบแทนบุคคลากรทางด้านสาธารณสุขในสังกัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550 และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น 32,120.-บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-02-22)
22/02/2565 : ดำเนินการตามแผนลงชุมชนตามกิจกรรม "การจัดการพาหะนำโรคไข้เลือดออกแบบผสมผสานในชุมชน" จำนวน 8 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-01-25)
25/01/2565 : เตรียมจัดดำเนินกิจกรรมชุมชนด้านการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน ในพื้นที่เขตสะพานสูง
** ปัญหาของโครงการ :ปัจจุบันยังพบมีการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงต้องชลอการรณรงค์หรือจัดกิจกรรมในชุมชน
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-12-27)
27/12/2564 : อยู่ระหว่างการรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกเพื่อกิจกรรมส่งเสริมขุมชนดำเนินการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-11-29)
29/11/2564 : อยุ่ระหว่างขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **