ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ โทร.7125
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทำให้มีประชากรเข้ามาประกอบอาชีพและพักอาศัยอย่างหนาแน่น ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการจัดการมูลฝอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามูลฝอยจากชุมชนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งในยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้น้อมนำศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยึดหลัก 3 ประการคือ “มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” ประกอบกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 มีเป้าหมายในการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ มีสัดส่วนของขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องและนำไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 จากการศึกษาองค์ประกอบมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร พบว่ามูลฝอยอินทรีย์มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งหากประชาชนสามารถลดและคัดแยกมูลฝอยอินทรีย์ที่แหล่งกำเนิด และนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปเลี้ยงสัตว์ การหมักทำปุ๋ย การผลิตน้ำหมักชีวภาพหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปสบู่กากกาแฟ ช่วยลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ ส่งผลให้กรุงเทพมหานครเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการมูลฝอยน้อยลง เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดตามหลัก 3Rs รวมถึงส่งเสริมการลดและคัดแยกมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดให้มากขึ้น สำนักงานเขตสะพานสูง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการแปรรูปขยะเศษอาหารเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยในการรณรงค์ ส่งเสริม ให้ประชาชนมีการนำมูลฝอยอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมศักยภาพการนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ ประหยัดงบประมาณการจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการจัดการมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร
50440600/50440600
2.1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ เช่น มูลฝอย เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ โดยนำมาใช้ประโยชน์ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ 2.2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด 2.3 เพื่อลดปริมาณมูลฝอยอินทรีย์ที่กรุงเทพมหานครต้องจัดเก็บและกำจัด
สำนักงานเขตสะพานสูง รณรงค์ ส่งเสริม และจัดกิจกรรมให้มีการนำมูลฝอยอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ ด้วยการทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้และวัชพืช การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและเศษพืชผัก ในชุมชนพื้นที่เขตและโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตสะพานสูง
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และสาธิตวิธีการแปรรูปมูลฝอยอินทรีย์ที่ชุมชนวัดลาดบัวขาว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : ดำเนินการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : ดำเนินการสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพที่ชุมชนซาอาด๊ะห์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : ดำเนินการรณรงค์คัดแยกขยะและะแจกน้ำหมักชีวภาพให้กับนักเรียนรร.สุเหร่าซีรอและสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพให้กับนักเรียนที่รร.วัดลาดบัวขาว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-03-29)
29/03/2566 : ดำเนินจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์โครงการเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำน้ำหมัก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : อยู่ระหว่างจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการส่งเสริมการแปรรูปมูลฝอยฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-21)
21/01/2566 : รออนุมัติเงินประจำงวด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2560 (2,419.97 ตันต่อวัน)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **