ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 68
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งต่อผู้สูบและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารพิษ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย และเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ เป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 10.7 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน 9.4 ล้านคน โดยเฉลี่ยของผู้สูบบุหรี่ประจำที่ เริ่มสูบครั้งแรก คือ 18.1 ปี สำหรับกลุ่มเยาวชน มีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ 16.2 ปี เด็กที่อายุน้อยที่สุดเริ่ม สูบบุหรี่ครั้งแรก อายุเพียง 9 ปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ คือ ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่ ปีละกว่า 50,000 คน และจากการสำรวจเกี่ยวกับการได้รับควันบุหรี่ที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้สูบหรือควันบุหรี่มือสอง พบว่า มีผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง ประมาณ 17.3 ล้านคน จากการประเมิน ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการสูบบุหรี่มีความสูญเสียกว่า 74,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.78 ของ GDP และข้อมูลรายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561 พบว่า ประชาชนพบเห็นการสูบบุหรี่ได้ควันบุหรี่ พบเห็นก้นบุหรี่ในสถานที่สาธารณะในพื้นที่ตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานที่จำหน่ายอาหารเครื่องดื่มมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะยังเป็นปัญหาที่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ประมาณ 1.2 ล้านคน จากข้อมูลการศึกษาแนวทางในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ กรณีศึกษา : พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2560 พบว่า กลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอัตราส่วนการใช้ยาสูบเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ยังมีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบ การจัดสถานที่สาธารณะให้มีสภาพและลักษณะเป็นเขตปลอดบุหรี่หรือเขตสูบบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด ยังไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ยังขาดความต่อเนื่องหรือความชัดเจนในการดำเนินการ กรุงเทพมหานครในความสำคัญกับ การควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการสูบบุหรี่ จึงได้บรรจุโครงการกรุงเทพมหานคร เขตปลอดบุหรี่ไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤติการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.1 ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด เป้าประสงค์ที่ 1.1.2 เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพ ผู้ติด เข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานและมีความเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และแผนปฏิบัติการด้านการควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 - 2570 และแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร ปี 2566 – 2570 ดังนั้น เพื่อให้เกิดทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม จึงได้มีการจัดทำโครงการกรุงเทพเขตปลอดบุหรี่ เพื่อใช้ในการดำเนินงานควบคุมและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ในพื้นที่เขตสะพานสูง
50440400/50440400
1. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงโทษและพิษภัยของบุหรี่ 3. เพื่อป้องกันปัญหานักสูบหน้าใหม่ในสถานศึกษา 4. เพื่อส่งเสริมกลไกการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร
สถานศึกษา/ผู้ประกอบการ/สถานประกอบการ/ประชาชนทั่วไปในพื้นที่เขตสะพานสูง เพื่อประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : กำหนดสถานศึกษาเพื่อดำเนินกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-06-23)
23/06/2566 : จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดนิทรรศการ รณรงค์ถึงพิษภัยและโทษของบุหรี่ และแนวทางการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในสถานศึกษา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-05-24)
24/05/2566 : วางแผนและกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องตามนโยบายฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : เตรียมจัดกิจการแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจให้ถูกต้องตามกฏหมายแก่ผู้จำหน่ายและเข้าถึงโทษและพิภัยของบุหรี่ และแนะนำให้สถานศึกษา ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตามกฏหมายควบคุมยาเสพติด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-03-28)
28/03/2566 : กำหนดกรอบการดำเนินกิจกรรม และวางแผนแนวทางการดำเนินกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : อยู่ระหว่างวางแผนดำเนินงานและปฏิบัติตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : อยู่ระหว่างวางแผนดำเนินงานและปฏิบัติตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีบริหาร
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------