ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50440000-3530

สำนักงานเขตสะพานสูง : (2566)

90

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 90

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินงานเรื่องอาหารปลอดภัย ภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ที่มีวิสัยทัศน์ คือ “กรุงเทพจะเป็นเมืองอาหารปลอดภัย อาหารปลอดโรค ปลอดสารพิษ บริโภคได้อย่างมั่นใจ” ใช้การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเน้นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Science based) วางระบบการตรวจสอบและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของอาหาร การสร้างหลักประกันเพื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการเปิดระบบให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ โดยกำหนดให้มีมาตรการป้องกัน เฝ้าระวังด้วยวิธีตรวจหาอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษ พัฒนาคุณภาพระบบงานสุขาภิบาลอาหารให้ได้มาตรฐานสากล พัฒนากฎหมายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครให้เหมาะสม และสร้างระบบบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง พัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องอาหารปลอดภัย เพื่อผลลัพธ์สุดท้ายที่กรุงเทพมหานครต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี บริโภคอาหารปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันสถิติการปนเปื้อนทั้งสารเคมีอันตรายและเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและอัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันต่อแสนประชากรในกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลง แต่กรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความ ไม่ปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหาร เป็นแหล่งกระจายสินค้า แหล่งวัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัด ซึ่งมีอยู่หลากหลายช่องทางการผลิตวัตถุดิบอาหารซึ่งคือต้นน้ำของอาหารเป็นขั้นตอนการผลิตที่อยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้แหล่งจำหน่ายอาหารซึ่งก็คือปลายทางของอาหารก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครยังคงพบความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ ในวัตถุดิบอาหาร ดังนั้น เพื่อให้มีการดำเนินการ ในเรื่องอาหารปลอดภัยในพื้นที่เขตสะพานสูงตามนโยบายของกรุงเทพมหานคร เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยให้มีความต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ ขึ้นภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย

50440400/50440400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๒.๑ เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร ๒.๒ เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร ตรวจสอบคุณภาพอาหารกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและร้องเรียนด้านอาหาร ๒.๓ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย ๒.๔ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

๓.๑ ตรวจประเมินด้านสุขลักษณะสถานที่สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร ณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ - สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน ๙๒ แห่ง - ซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน ๖ แห่ง - มินิมาร์ท จำนวน ๔๕ แห่ง - ตลาด จำนวน ๓ แห่ง ๓.๒ ส่งเสริมสถานประกอบการอาหารให้ปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ ๑๐๐ ๓.๓ จัดกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน จัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ๓.๔ จัดกิจกรรมพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐาน โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-25)

90.00

25/07/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-06-23)

85.00

23/06/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินกิจกรรมตามแผน ระหว่างเดือน เม.ย. - ส.ค. 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 69.00 (2023-06-15)

69.00

15/06/2566 : รายงานประจำเดือน พฤษภาคม 2566 อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-25)

60.00

25/04/2566 : 1. ตรวจประเมิน แนะนำด้านสุขลักษณะสถานที่ และตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษในอาหารและน้ำในสถานประกอการ 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเข้ารับการประเมินผลความรู้ ด้านการสุขาภิบาลตามหลักสูตรการสุขาภิบาลของกรุงเทพมหานคร แก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ผ่านระบบเทคโนโลโยี่ดิจิทัล และวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-03-28)

45.00

28/03/2566 : ดำเนินกิจกรรมตามแผน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-02-27)

35.00

27/02/2566 : 1.ตรวจประเมิน แนะนำด้านสุขลักษณะสถานที่ และตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษในอหาร และน้ำในสถานประกอบการ 2.ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครของกรุงเทพมหานคร มีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อล้อม และมีมาตราการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข 3. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเข้ารับการประเมินผล ความรู้ ด้านการสุขาภิบาลอาหารหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร แก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ผ่านระบบเทคโนโลยยีดิจิทัลและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-25)

20.00

25/01/2566 : 1.ตรวจประเมิน แนะนำด้านสุขลักษณะสถานที่ และตรวจวิเคราะห์การปนเปืือนเชื้อโรคและสารพิษในอาหารและน้ำในสถานประกอบการ 2. ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการป้องกันเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข 3. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเข้ารับการประเมินผลความรู้ ด้านการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร แก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สมัครผู้สัมผัสอาหาร ผ่านระบบเทคโนโลยี่ดิจิทัลและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-Study)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)

10.00

29/12/2565 : ขออนุมัติโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:๑. ขออนุมัติโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:๒. จัดทำแผนปฏิบัติงาน และดำเนินการ
:30.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:๓. ประสานการจัดอบรมผู้สัมผัสอาหาร และการจัดสถานที่ทำแบบประเมินผลความรู้ (Self Study) ตามหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร
:70.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:๔. ส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
:90.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:๕ .ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย
:100.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50440000-3530

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50440000-3530

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5044-2018

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00

0 / 0
2
45.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **