ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
คนพิการ ถือเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และเป็นกลุ่มเปราะบางสังคม และมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงการประกอบอาชีพ ได้ใช้ศักยภาพของตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมาตราที่เกี่ยวข้อง กับการจ้างงานคนพิการ ได้แก่ มาตรา 33 ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานอัตราส่วนลูกจ้างที่มิใช่คนพิการทุกหนึ่งร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน เศษของหนึ่งร้อยคนถ้าเกินห้าสิบคนต้องรับคนพิการเพิ่มอีกหนึ่งคน (อัตราส่วน 100 : 1) มาตรา 35 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 หรือนายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา 33 และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากอง ทุนฯ ตามมาตรา 34 หน่วยงานของรัฐนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นอาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วยงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคน พิการก็ได้ ผู้บริหารกรุงเทพมหานครจึงได้ให้ความสำคัญต่อการจ้างงานคนพิการเพราะมองว่าคนพิการเป็นกลุ่มประชากรที่เปราะบาง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตจึงมีนโยบายให้ส่งเสริมการ จ้างงานคนพิการในหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีข้าราชการ จำนวน 35,237 คน และลูกจ้างประจำ จำนวน 31,655 คน รวมทั้งสิ้น 66,892 คน ซึ่งจะต้องจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน 669 คน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ประกอบกับมติที่ประชุมหารือเรื่องการจ้างงานคนพิการในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(นายสกลธี ภัททิยกุล) เป็นประธานการประชุม มอบสำนักพัฒนาสังคมดำเนินการจัดทำโครงการจ้างงานคนพิการในสำนักงานเขต เขตละ 6 คน สำนักงานเขตคลองสามวา จึงได้จัดทำโครงการจ้างงานคนพิการเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานเขตคลองสามวาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดนอกเหนือจากเรื่องของเงินเดือนหรือรายได้แล้ว คนพิการที่ได้ทำงานจะมีความรู้สึกความภูมิใจที่ได้เป็นที่พึ่งพิงให้กับครอบครัวและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเช่นบุคคลทั่วไปและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
50461000/50461000
2.1 เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 33 และมาตรา 35 2.2 เพื่อให้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้ทัดเทียมคนทั่วไป เกิดความภูมิใจในตนเอง และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เป็นภาระของครอบครัว 2.3 เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานตัวอย่างของภาครัฐในการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ
จ้างคนพิการเพื่อเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงานในสำนักเขตคลองสามวา จำนวน 6 คน ขอบเขตของตำแหน่งให้เป็นไปตามบทบาท ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขต โดยกำหนดตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความสามารถและประเภทของความพิการ อัตราค่าจ้างให้เป็นไปตามคุณวุฒิการศึกษา ได้แก่ วุฒิปริญญาตรี หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายหรือวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้น หรือวุฒิประถมศึกษา หรือไม่มีวุฒิการศึกษา
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : จ้างคนพิการเพื่อเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงานในสำนักเขตคลองสามวา จำนวน 6 คน - ลงทะเบียนหนังสือส่ง - ส่งหนังสือภายในให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ และฝ่ายอื่นๆภายในสำนักงานเขต - เดินแฟ้มหนังสือจากฝ่ายพัฒนาชุมชนฯไปหน้าห้องผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต - ถ่ายเอกสาร - ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : -ปัจจุบันมีอาสาสมัครคนพิการ จำนวน 6 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : -ปัจจุบันมีอาสาสมัครคนพิการ จำนวน 6 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : -ปัจจุบันมีอาสาสมัครคนพิการ จำนวน 5 ราย รับสมัครเพิ่มอีก 1 ราย เรียบร้อยแล้ว เตรียมรายงานตัวเข้าทำงานในวันที่ 1 มิ.ย. 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : -ปัจจุบันมีอาสาสมัครคนพิการ จำนวน 5 ราย อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครเพิ่มอีก จำนวน 1 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-03-22)
22/03/2566 : -ปัจจุบันมีอาสาสมัครคนพิการ จำนวน 5 ราย อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครเพิ่มอีก จำนวน 1 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : 1.อาสาสมัครคนพิการลาออกจำนวน 1 ราย คือ นายกิตติพัฒ เตโพธิ์ พิการประเภท 4,5,6 ทางจิตใจหรือพฤติกรรม, ทางสติปัญญา, ทางการเรียนรู้ 2.รับสมัครอาสาสมัครคนพิการเพิ่ม 1 ราย คือ นางสาวณิชารีย์ ไชยโครต พิการประเภท 2 ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : จ้างอาสาสมัครคนพิการ 5 ราย 1.นายธวัชชัย ติณรัตน์ พิการประเภท 3 ทางการเคลื่อนไหว 2.นางสาวธันยธรณ์ คำทา พิการประเภท 3 ทางการเคลื่อนไหว 3.นายสรายุทธ พรรครัตน์ พิการประเภท 2 ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 4.นายกิตติพัฒ เตโพธิ์ พิการประเภท 4,5,6 ทางจิตใจหรือพฤติกรรม, ทางสติปัญญา, ทางการเรียนรู้ 5.นางสาวเพฑูริย์ จันทร์อุดม พิการประเภท 1 ตาเลือนราง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-01-30)
30/01/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------