ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล (ลักขณา คำภาค : 6065-7)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะดีขึ้นก็ตาม ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหารเป็นแหล่งการกระจายสินค้า แหล่งวัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัด ซึ่งมีอยู่หลากหลายช่องทาง การผลิตวัตถุดิบอาหารซึ่งคือต้นน้ำของอาหารเป็นขั้นตอนการผลิตที่อยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้แหล่งจำหน่ายอาหารซึ่งก็คือปลายทางของอาหารก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ยังคงพบความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีต่างๆในวัตถุดิบอาหาร จากรายงานสถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารในสถานประกอบการพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2563 โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร ตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นด้านเคมีและจุลินทรีย์ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 7,083 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน จำนวน 5,989 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 84.55 ตกมาตรฐาน จำนวน 1,094 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15.45 (ตรวจวิเคราะห์ทางเคมี จำนวน 5,895 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 5,163 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 87.54 พบตกมาตรฐานจำนวน 735 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 12.46 ตรวจวิเคราะห์ ทางจุลินทรีย์ จำนวน 1,185 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อน จำนวน 826 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 69.70 ) พบการปนเปื้อน จำนวน 359 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 30.30 การตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารประจำปี 2561 ของกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งสรุปผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร ด้านจุลินทรีย์ โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น พบว่าสุ่มตรวจตัวอย่างอาหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด ๗๗,๙๔๔ ตัวอย่าง พบตัวอย่างอาหารอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 75,586 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 96.97 และตัวอย่างอาหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2,358 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.03 ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารด้านเคมี โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นได้แก่ บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) ฯลฯ ทั้งหมด 131,466 ตัวอย่าง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 131,321 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 99.89 ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 145 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.11 ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตบางนา เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการตรวจสอบ ตรวจแนะนำด้านสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข รวมทั้งดูแลสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย เพื่อทำให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครปลอดภัย”ทำให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนมีความสุข ความปลอดภัยจากการรับประทานอาหารและได้รับบริการที่ดี สำนักงานเขตบางนา ได้เห็นความสำคัญด้านการสุขาภิบาลอาหาร จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยขึ้น เพื่อพัฒนา ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร ให้ได้มาตรฐาน อาหารไม่มีการปนเปื้อน รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยวรวมทั้ง ผู้เข้ามาพักอาศัย เป็นการคุ้มครองความปลอดภัยในด้านอาหารให้กับผู้บริโภค
50470400/50470400
2.1 เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหารพื้นที่เขตบางนา 2.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร พื้นที่เขตบางนา 2.3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
3.1 ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านสุขลักษณะของกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 100 3.2 สุ่มตรวจและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ณ สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา โดยร้อยละ 98 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ 3.2 สุ่มตรวจและเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร ณ สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา โดยร้อยละ 96 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)
25/09/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว(โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา(กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-08-25)
25/08/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา(กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอบจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี - จัดประชุมผู้จำหน่ายอาหารริมบาทวิถีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว(โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา(ซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-06-22)
22/06/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 49.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-23)
23/03/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-24)
24/02/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : 1. สำรวจข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่เขตบางนา 2. จัดทำโครงการและขออนุมัติ 3. จัดทำแผนปฏิบัติงาน และขออนุมัติ 4. สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตบางนา ตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อนอันตรายได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลีน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) สีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต แผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 98
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **