ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
น.ส.ประภัทตรา พันธ์เดิมวงษ์ โทร. 5520
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี 2564 (5 มกราคม 2564 - 2 ตุลาคม 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 1,226 ราย อัตราป่วย 21.94 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 0 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.00 โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 5 - 14 ปี รองลงมา ได้แก่กลุ่มอายุ 15 - 34 ปี และ 0 - 4 ปี ตามลำดับ โดยอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 80 (ปี 2557 - 2561) มีค่าเท่ากับ 232.84 ต่อแสนประชากร ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวมซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัด วิถีชีวิต และการเคลื่อนย้ายของประชากร ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ตามเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ องค์กรชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตทวีวัฒนา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
50480400/50480400
1. เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับ ให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายในกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่จดทะเบียน จำนวน 17 ชุมชน ให้มีค่า HI อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-21)
21/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ สรุปผลการดำเนินการ 1. ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 2. ใช้งบประมาณ 55,680 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-22)
22/08/2566 : ดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 92.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : ดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง และเบิกจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาและค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุข 55,680 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 78.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : ดำเนินการ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-05-19)
19/05/2566 : ดำเนินการดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคนำโดยยุงลายในชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 52.00 (2023-03-24)
ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 44.00 (2023-02-23)
23/02/2566 : ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 34.00 (2023-01-26)
26/01/2566 : ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กิจกรรมที่ 2 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 3 ปรับสภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค กิจกรรมที่ 4 ควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับแจ้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2022-12-27)
27/12/2565 : ดำเนินการดังนี้ 1.ขออนุมัติโครงการ 2.จัดทำแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและขออนุมัติ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายปี 2566
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **