ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด และปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงาน ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยง ต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการ บนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปอย่างมีสมดุลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560-2564 มุ่งเน้นการป้องกัน ลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาว เสริมสร้าง ขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิต ที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทาง การรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัย และบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพ อันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกัน ในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพ และนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตทุ่งครุ จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด และปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดีขึ้น
50490400/50490400
2.1 เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ควบคุม กำกับ และตรวจสอบ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เหตุร้องเรียน การควบคุมป้องกันโรค และการประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในบ้านเรือน ชุมชน สถานประกอบการ หน่วยงานในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตทุ่งครุ
3.1 ตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตทุ่งครุ จำนวน 45 ครั้ง โดยมีขอบเขตการดำเนินงาน ดังนี้ 3.1.1 การตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนามัยสิ่งแวดล้อม ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดังรบกวน กลิ่นเหม็น การเลี้ยงและปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนในเวลาเย็นหรือยามวิกาล 3.1.2 การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการที่ประกอบการในช่วงนอกเวลาราชการ 3.1.3 การปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ ตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 3.1.4 การปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค ในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 3.1.5 การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 3.1.6 ดำเนินการตรวจสอบ ตรวจแนะนำ ให้ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และกำกับการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานครและเรื่องที่เกี่ยวข้อง 3.1.7 ปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-22)
22/06/2566 : ดำเนินกิจกรรมที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง เเละดำเนินกิจกรรมที่ 2 จำนวน 5 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : ออกตรวจตามกิจกรรมที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง เเละ ออกตรวจตามกิจกรรมที่ 2 จำนวน 6 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม 5 ครั้ง เเละดำเนินกิจกรรมที่ 2 บังคับใช้กฎหมายตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560 จำนวน 6 ครั้ง พร้อมเบิกจ่ายค่าตอบเเทนทำการนอกเวลาระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-03-20)
20/03/2566 : ดำเนินกิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม จำนวน 6 ครั้ง ดำเนินกิจกรรมที่ 2 ดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จำนวน 6 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : เดือนกุมภาพันธ์ ดำเนินการตรวจกิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งเเวดล้อม จำนวน 6 ครั้ง เเละดำเนินการตรวจกิจกรรมที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตาม พรบ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 จำนวน 6 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ตั้งเเต่เดือนตุลาคม 2565 ระบบ BMA digital ไม่สามารถใช้งานได้ทำให้ไม่ได้รายงานผลโครงการ เเละระบบพึ่งจะรายงานได้เดือนมกราคม จึงอยากจะเเจ้งงบประมาณที่ใช้ไประหว่างเดือน พฤศจิกายน 2565 ถึง เดือนมกราคม 2566 จำนวนเงินทั้งสิ้น 54900 บาท
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : กำลังดำเนินกิจกรรมที่ 1 จำนวน 6 ครั้ง เเละ ดำเนินกิจกรรมที่ ๒ จำนวน 6 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 88
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **