ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งระบาดมากในช่วง ฤดูฝนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกมักขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคและความพร้อมในการเตรียมรับสถานการณ์ของโรค ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มการระบาดของโรคจะเกิดขึ้นในปีใด สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยปี พ.ศ. ๒๕๖3 มีผู้ป่วยจำนวน 68,750 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 103.69 เสียชีวิต จำนวน 49 ราย ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5 - ๑๔ ปี (ข้อมูลจากกลุ่มงานควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖3) ในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. ๒๕๖5 มีผู้ป่วยจำนวน 5,151 ราย คิดเป็นอัตราป่วย ต่อประชากรแสนคน 90.91 เสียชีวิต จำนวน 0 ราย มีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 34 ของทั้งประเทศ และเมื่อเทียบกับ 3 จังหวัดปริมณฑล มีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 3 (ข้อมูลจากกลุ่มงานควบคุมสัตว์และ แมลงนำโรค กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖3) ในพื้นที่เขตทุ่งครุ ปี พ.ศ. ๒๕๖5 มีผู้ป่วยจำนวน 39 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 31.39 มีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 41 จากจำนวน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลจากกลุ่มงานควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 22 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖5) แม้ว่าจะมีการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพที่มีการรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการกำจัดภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว แต่มีน้ำขัง ทางชีวภาพโดยการปล่อยปลากินลูกน้ำ ทางเคมีโดยการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายและใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย รวมถึงการให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก็ยังไม่สามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีผู้ป่วยได้ สำนักงานเขตทุ่งครุ จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เขตปลอดยุงลาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖6 ขึ้น เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรค และมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะส่งผลต่อการลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคต่อไป
50490400/50490400
2.1 เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก 2.2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและตระหนักในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.3 เพื่อลดปัญหาเหตุรำคาญจากยุงลาย
ชุมชนจัดตั้งขึ้นตามระเบียบกรุงเทพมหานครรายเขตในพื้นที่เขตทุ่งครุ จำนวน 29 ชุมชน มีกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนี้ 3.1.1 มีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3.1.2 มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน เช่น การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ผ่าน หอกระจายข่าว เอกสาร เวทีชาวบ้าน การประชุมในชุมชน เป็นต้น 3.1.3 มีการปรับสภาพสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรค 3.1.4 ชุมชนที่มีผู้ป่วย ได้รับการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการ แจ้งข่าว โดยใช้มาตรการเร่งด่วนสำหรับควบคุมการระบาด คือ ประกาศแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบว่า มีโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนนั้น พร้อมทั้งให้สุขศึกษาแก่ประชาชนให้รู้จักการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงกัด ขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่อาจหลงเหลืออยู่ในชุมชนให้หมดไป การกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วยและบริเวณรอบบ้านควรดำเนินการ อย่างน้อย ๑๐๐ เมตร ประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เกิดโรคโดยมีดัชนีความชุกชุมลูกน้ำ (ค่า HI < ๑๐) การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยให้ครอบคลุมพื้นที่รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมีอย่างน้อย ๑๐๐ เมตร อย่างน้อย ๒ ครั้ง โดยแต่ละครั้งห่างกัน ๗ วัน หากเกิดมีผู้ป่วยกระจายในชุมชน และมีชุมชนที่อยู่ข้างเคียงก็ควรพ่นสารเคมีเพิ่มเติมให้ชุมชนใกล้เคียงด้วย 3.2 เชิงคุณภาพ ร้อยละ 100 ของชุมชนจัดตั้งที่มีกิจกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกครบ 4 กิจกรรม
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : ดำเนินการครบทั้ง 4 กิจกรรม ใน 2ชุมชน ดำเนินการแล้ว 29 ชุมชนจากทั้งหมด 29 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-20)
20/06/2566 : ดำเนินการครบทั้ง4กิจกรรมใน2ชุมชน ดำเนินการแล้ว27ชุมชนจากทั้งหมด29ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : ดำเนินการแล้วครบทั้ง 4 กิจกรรม ใน 2 ชุมชน ดำเนินการแล้ว 25 ชุมชน จากทั้งหมด 29 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-02)
02/05/2566 : ดำเนินการครบ 4 กิจกรรม แล้วใน 3 ชุมชน ดำเนินการแล้ว 23 ชุมชนจากทั้งหมด 29 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-01)
01/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-20)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : ดำเนินการครบทั้ง 4 กิจกรรม ใน 4 ชุมชน ดำเนินการไปแล้วจำนวน 16 ชุมชน จากทั้งหมด 29 ชุมชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : กำลังดำเนินการกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 88
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **