ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายการศึกษา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ในสังคมโลกปัจจุบัน การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะภาษามิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ต้องการและเพื่อการประกอบอาชีพเท่านั้นยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การเจรจาต่อรองเพื่อการแข่งขัน และความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศยังช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้คนเนื่องจากการมีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติจะทำให้สามารถปฎิบัติตนต่อกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความเข้าใจและภาคภูมิใจในภาษาและวัฒนธรรมไทย สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่สังคมโลกได้ ส่วนภาษาที่สามของชาวเอเซียนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาใดหรือมากกว่าหนึ่งภาษา เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขเมร ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปีโน ภาษาฮินดู และภาษาทมิฬ นอกจากนั้น ยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา (ฮินดี,อูรดู,ทมิฬ,เบงกาลี ฯลฯ) การสอนภาษาต่างประเทศในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้ยึดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรได้กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษในทุกช่วงชั้น ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาในการจัดทำรายวิชาให้นักเรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งกรุงเทพมหานครได้มีนโยบายในการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้เลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นอีก ๑ ภาษา สำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการสอนภาษาญี่ปุ่นขึ้น
50490700/50490700
๒.๑ เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น สามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสารได้ตามระดับชั้นเรียน ๒.๒ นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ด้านปริมาณ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โรงเรียนนาหลวง จำนวน ๑๒๐ คน มีความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ด้านคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่น ในการสื่อสารได้ตามระดับชั้นที่เรียน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-05)
05/09/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-09)
09/08/2566 : โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-17)
17/07/2566 : โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-06-16)
16/06/2566 : โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-11)
11/05/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการวางแผนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-04-20)
20/04/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการวางแผนการสอนในภาคเรียนที่ 1/2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-03-14)
14/03/2566 : อยู่ระหว่างโรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ในภาคเรียนที่ 2/2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-02-16)
16/02/2566 : โรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในภาคเรียนที่ 2/2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : โรงเรียนกำลังดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาษญี่ปุ่นในภาคเรียนที่2/2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 88
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **